วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ขยายอายุเกษียณ 65 ปี ช่วยรัฐลดภาระค่าใช้จ่าย ในการดูแลผู้สูงอายุ

ขยายอายุเกษียณ 65 ปี ช่วยรัฐลดภาระค่าใช้จ่าย ในการดูแลผู้สูงอายุ

วันพฤหัสบดี ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559, 19.38 น.
Tag : ลดภาระค่าใช้จ่าย ขยายอายุเกษียณ65ปี
  •  

เมื่อเดือนพฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา มีประเด็นที่ได้รับความสนใจจากสังคมอยู่มากเรื่องหนึ่ง นั่นคือกรณีของ กระทรวงการคลัง ที่เสนอแนวคิดให้ “ปรับเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” จากเดิมที่จ่ายให้กับผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทุกคน จะเปลี่ยนเป็นการจ่ายให้เฉพาะผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปซึ่งมีรายได้ไม่เกิน 9,000 บาทต่อเดือน หรือมีทรัพย์สินไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยให้เหตุผลว่าจะประหยัดงบประมาณภาครัฐไปได้ถึง 1 หมื่นล้านบาทต่อปี ทว่าก็มีเสียงวิพากษ์อยู่ไม่น้อยที่ไม่เห็นด้วย ทั้งที่มองเรื่องความเท่าเทียมเสมอภาคบ้าง รวมถึงกลัวจะเกิดการเลือกปฏิบัติบ้าง

ประเด็นนี้ กมลชนก ขำสุวรรณ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ให้มุมมองว่า ข้อมูลจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยปี พ.ศ. 2557 จาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานแหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุในการดำรงชีวิตส่วนใหญ่ได้รับจากบุตร (ร้อยละ 36.7) รองลงมาคือรายได้จากการทำงาน (ร้อยละ 33.9) เบี้ยยังชีพ (ร้อยละ 14.8) บำเหน็จบำนาญ (ร้อยละ 4.9) คู่สมรส (ร้อยละ 4.3) ดอกเบี้ยเงินออม (ร้อยละ 3.9)


ชี้ให้เห็นว่า..คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย “ไม่มั่นคง” เพราะรายได้หลัก 3 อันดับแรกมาจากการต้องพึ่งพาบุตรหลาน การต้องทำงานต่อไปแม้อายุถึงวัยเกษียณ รวมถึงการต้องรอคอยเงินอุดหนุนจากภาครัฐในรูปเบี้ยยังชีพ ส่วนผู้ได้รับบำนาญน้อยมาก เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่ปัจจุบันประกอบอาชีพอิสระ-รับจ้าง ไม่มีเงินออมเป็นกิจจะลักษณะ

สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และคณะ เมื่อปี 2551 ที่พบว่า ระบบบำนาญในประเทศไทย ครอบคลุมบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น เช่น สมาชิกกองทุนประกันสังคม ลูกจ้างเอกชน ครูเอกชน พนักงานรัฐวิสาหกิจ และข้าราชการ

ขณะที่คนไทยอีกราว “30 ล้านคน” เป็น “แรงงานนอกระบบ” ไม่มีสวัสดิการใดๆ!!!

ดร.วรวรรณ เสนอแนะหลังการศึกษาครั้งนี้ว่า “ควรยกระดับเบี้ยยังชีพให้เป็นระบบบำนาญแห่งชาติ” เพื่อให้ประชาชน ไม่ว่าจะรวยหรือจนก็สามารถเข้าถึงสวัสดิการที่เป็นหลักประกันทางรายได้จากรัฐได้อย่างเท่าเทียมกัน ที่สำคัญยังช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ต้องมีตราบาปหรือทัศนคติเชิงลบในเรื่องการรอรับการสงเคราะห์อีกต่อไป นอกจากนี้ระบบบำนาญแห่งชาติยังมีหลายระบบย่อยครอบคลุมคนหลากหลายกลุ่ม และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงได้หลายระบบพร้อมกัน

ทำให้มีโอกาสได้มี “หลักประกันทางการเงินยามชราภาพ” เพิ่มขึ้นจากหลายระบบ!!!

ขณะเดียวกัน นโยบายระยะยาวของภาครัฐ กมลชนก เสนอว่า ทางออกที่ดีที่สุดคือ “ขยายอายุเกษียณเป็น 65 ปี” เพื่อให้ผู้สูงอายุอยู่ในระบบแรงงานนานที่สุดจะได้มีรายได้จากการทำงานประจำออกไปให้ช้าลง รัฐก็จะได้ประหยัดงบประมาณในการจ่ายค่าเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุช้าลง

ซึ่งจากข้อมูลของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) พบว่าระหว่างปี พ.ศ. 2550-2557 สัดส่วนผู้สูงอายุที่รับเงินบำนาญและเบี้ยยังชีพเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากร้อยละ 29.8 (2550) เป็น ร้อยละ 88.9 (2554) และร้อยละ 91.2 (2557) ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของภาระทางการเงินการคลังของรัฐบาล อีกทั้งมีผลต่อความยั่งยืนทางการคลังของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณจำนวนมาก และเป็นงบประมาณที่ผูกพันระยะยาว

ข้อมูลจากสภาพัฒน์ ระบุว่า ในปี  2558 รัฐบาลได้จ่ายเงินค่าเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไป รวมทั้งหมดเป็นเงิน 6 หมื่นล้านบาท และคาดว่าในปี  2573 รัฐจะต้องจ่ายเงินค่าเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไป รวมทั้งหมดถึง 101,905 ล้านบาท แต่หากขยายอายุเกษียณเป็น 65 ปี ในปี 2558 รัฐจะจ่ายเงินค่าเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุเพียง 40,063 บาท ขณะที่ในปี 2573 คาดว่ารัฐจะต้องจ่ายเพียง 73,343 บาทเท่านั้น

การเพิ่มขึ้นของอายุเฉลี่ยของประชากรไทย ส่งผลให้ระยะเวลาของการใช้จ่ายยามชราภาพยาวมากขึ้น ค่าใช้จ่ายอาจเพิ่มขึ้นและมีโอกาสส่งผลต่อเนื่อง ทำให้รายได้และ/หรือเงินออมที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ที่ผ่านมาการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุยังมีปัญหาทั้งเรื่องของความพอเพียงของจำนวนเงินสำหรับผู้สูงอายุที่ยากจน และเรื่องนโยบายประชานิยม

ดังนั้น การจ่ายเงินอุดหนุนผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสังคมไทย น่าจะเป็นจำนวนเงินที่ “มากกว่าเส้นความยากจน” ส่วนแหล่งเงินก็น่าจะเป็นภาครัฐ และถ้าจะไม่ให้กระทบกับงบประมาณ ก็ต้องขยายอายุเกษียณ จาก 60 ปี เป็น 65 ปี  อย่างไรก็ตามการออกแบบเงินอุดหนุนให้ผู้สูงอายุ ยังคงเป็นเรื่องสำคัญ

เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณจำนวนมาก และมีภาระที่ผูกพันระยะยาว !!!

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
มหาวิทยาลัยมหิดล

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ละเมิดสิทธิเด็ก! ‘ยูเอ็น’ประณาม‘อิสราเอล’สั่งปิดโรงเรียนในเยรูซาเล็มตะวันออก อ้าง‘ฮามาส’แฝงตัว

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายทหารราชองครักษ์ในพระองค์ จำนวน 18 นาย

'แรปเปอร์มะกัน'ไม่จบ! เหยียดแรงยันห้องน้ำไทย ลั่นประเทศนี้ไร้ระบบบำบัดน้ำเสีย

'ไพศาล'ชี้แพทย์ 3 รายโดนฟันจริยธรรม! เสี่ยงคดี 157 ละเมิดอำนาจศาล

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved