วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / การเมือง
ศาลยุติธรรมประกาศจุดยืน  ค้านรธน.!  ชี้7ปมแทรกแซง-ริบอำนาจ

ศาลยุติธรรมประกาศจุดยืน ค้านรธน.! ชี้7ปมแทรกแซง-ริบอำนาจ

วันอังคาร ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558, 06.00 น.
Tag :
  •  

ศาลยุติธรรมประกาศจุดยืน

ค้านรธน.!

ชี้7ปมแทรกแซง-ริบอำนาจ

จี้ต้องทบทวนหวั่นส่งกระทบ

สปช.ชำแหละวันแรกไร้เดือด

กมธ.ยันเป้าล้างเผด็จการสภา

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 20 เมษายน ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ซึ่งมีวาระพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.ยกร่างฯ) เป็นวันแรก โดยมี นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช.เป็นประธานการประชุมโดย นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯรายงานต่อที่ประชุมยืนยันว่า การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่มีปกปิด ไม่มีพิมพ์เขียวพิมพ์ชมพูตามที่มีการกล่าวอ้าง เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของกมธ.ยกร่างฯและร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มี 4เจตนารมณ์ คือ 1.สร้างพลเมืองให้เป็นใหญ่ 2.การเมืองใสสะอาดและสมดุล 3.หนุนสังคมให้เป็นธรรมและ4.นำชาติสู่สันติสุข มาตรการไม่ให้รัฐบาลเป็นเผด็จการอำนาจนิยมนั้น เพื่อไม่ให้รัฐบาลได้เสียงข้างมากเกินความจริงดั่งที่เป็นมา กมธ.ยกร่างฯจึงตัดสินใจใช้ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมที่ประเทศเยอรมันเคยใช้หลังสงครามโลกครั้งที่2 เพื่อไม่ให้เกิดเผด็จการแบบฮิตเลอร์ พรรคการเมืองจะได้ สส.ตามเปอร์เซ็นต์เท่ากับความนิยมจริงทางการเมือง เมื่อใช้ระบบนี้จะได้พรรคขนาดกลางและพรรคเล็กมากขึ้นมาร่วมเป็นรัฐบาลผสม

กมธ.ย้ำแก้อดีต-มุ่งสู่อนาคต


นายบวรศักดิ์ กล่าวสรุปเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญว่า เราต้องเหลียวหลังแก้ปัญหาอดีต แล้วแลหน้าสร้างอนาคต เหลียวหลังคือนำชาติไปสู่สันติสุขและการเมืองใสสะอาดและสมดุล แลหน้าคือสร้างพลเมืองให้เป็นใหญ่และหนุนสังคมที่เป็นธรรม การเหลียวหลังความขัดแย้งต้องมุ่งสร้างความปรองดองอย่างมีระบบ ไม่ใช่มุ่งแต่จะนิรโทษกรรม แต่ต้องหาสาเหตุข้อเท็จจริง เจรจา หาผู้ผิดมาดำเนินคดี ผู้สำนึกผิดได้รับการอภัยโทษ เยียวยาผู้เสียหาย ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เมื่อเกิดความเป็นธรรม ความขัดแย้งก็จะยุติลง การทำให้การเมืองที่เสียสมดุลเกิดเผด็จการเสียงข้างมากมา 17ปี ต้องแก้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 2550 มีส่วนที่ดี70% ยังคงอยู่ ถือหลักว่า มาตรฐานรัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องไม่ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญปี2540และ 2550 แลไปข้างหน้าสู่การปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรม ร่างรัฐธรรมนูญนี้ยังไม่สมบูรณ์100% จึงขอให้ สปช.ช่วยรังสรรค์ปั้นแต่งให้รัฐธรรมนูญนี้เป็นฉบับที่ดีที่สุด

ต้องได้รบ.ผสมเพื่อปรองดอง

ต่อมา นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ กมธ.ยกร่างฯได้ชี้แจงในภาค4 การปฏิรูปและการสร้างความปรองดองว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นแก่ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อแดง เสื้อเหลือง หรือฝ่ายที่สาม ผ่านแนวทางที่รัฐธรรมนูญออกแบบไว้หลายประการ ตั้งแต่กำหนดเจตนารมณ์ต้องการให้มีรัฐบาลผสม เพราะรัฐบาลที่ผ่านมาตั้งแต่ปี51 ก่อให้เกิดความขัดแย้งจนก่อให้เกิดการนองเลือด ทำให้เราถอยกลับไปเดินแบบเดิมไม่ได้ เจตนารมณ์นี้จะทำให้เกิดการปรองดองระหว่างพรรค ส่วนการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม จะทำให้การเลือกตั้งแต่ละภาคไม่เกิดการผูกขาด สส.ภาคใต้และกทม.จะไม่เป็นของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งหมด ส.ส.ภาคเหนือและอีสานจะไม่เป็นของพรรคเพื่อไทยหมดอีกต่อไป

สปช.ชำแหละวันแรกราบเรียบ

จากนั้น เวลา 11.26 น. เริ่มอภิปรายของสมาชิก สปช.ที่แสดงความจำนง 165 คน ดังนั้น สปช.จะได้รับเวลาอภิปรายเฉลี่ยคนละ 20 นาที ซึ่งบรรยากาศในภาพรวมตลอดทั้งวันเป็นไปอย่างราบรื่น เนื่องจากเป็นการอภิปรายในบททั่วไป หมวดพระมหากษัตริย์ และหมวดว่าด้วยสิทธิของประชาชน

“จ้อน”อวยรธน.น้ำพริกปลาทู

นายอลงกรณ์ พลบุตร สปช. อภิปรายโดยชื่มชนการทำงานของกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญที่ได้วางบทบัญญัติเพื่อแก้ปัญหาในอดีตเพื่ออนาคตของประเทศ พร้อมกับให้ฉายาร่างรัฐธรรมนูญว่า เป็นฉบับ “น้ำพริกปลาทู” คือ มีความเหมาะสมกับสังคมไทย แต่มีอีกหลายประเด็นที่ประชาชนสงสัยในร่างโดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างทางการเมือง ที่มา สว.และนายกฯคนนอก ดังนั้นต้องชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจและที่สำคัญต้องกล้าทำประชามติ เพราะเป็นหัวใจสำคัญเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจ

หนุนเข้มตรวจสอบการทุจริต

ขณะที่ นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ สมาชิก สปช. ระบุเห็นด้วยกับการเพิ่มความเข้มข้นในการตรวจสอบป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ แต่ก็เสนอให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการตรวจสอบต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นให้มากขึ้นและควรมีกองทุนต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ขณะเดียวกัน ยังเห็นด้วยกับการให้สิทธิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนที่จะต้องครบถ้วน รวดเร็วและครอบคลุมด้วย

วิษณุชี้สิงหาคมรู้แก้หรือไม่แก้

ด้าน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ด้านกฎหมาย กล่าวว่า การประชุมสปช.ครั้งนี้ยังไม่นำไปสู่การลงมติว่า ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ แต่หลังจากวันที่ 26 เมษายน กมธ.ยกร่างฯจะขอความเห็นจากคสช. ครม.และสปช.ซึ่งรัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดให้องค์กรเหล่านี้สามารถขอแก้ไขได้ โดยครม.เองเตรียมเอาไว้แล้วหลายเรื่อง ส่วน คสช.จะแยกออกไปต่างหาก แต่คำข้อแก้ไขเหล่านี้ กมธ.ยกร่างฯอาจจะแก้ตามหรือไม่ก็ได้ จากนั้นเดือนสิงหาคม จะนำกลับมาให้สปช.ลงมติว่า จะให้ผ่านหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในการขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ หากคสช.และครม.มีความเห็นทักท้วงตรงกันน้ำหนักจะดีมาก

ตุลาการประชุมถกรธน.ใหม่

วันเดียวกัน ที่ห้องประชุมใหญ่ศาลฎีกา ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถ.แจ้งวัฒนะ นายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.)และคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) จำนวน 25คน เพื่อพิจารณาความเห็นของผู้พิพากษาจาก 3 ชั้นศาล ประมาณ 427คน ในประเด็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่ง สปช.กำลังอภิปรายช่วงวันที่ 20-26 เมษายนนี้ ก่อนลงมติว่า จะรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่

ค้าน7ประเด็นริดรอนอำนาจศาล

ภายหลังการประชุมนานกว่า 5ชั่วโมง นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ได้แถลงความเห็นของที่ประชุมว่า ที่ประชุมก.ต.และก.บ.ศ.มีความเห็นแตกต่างกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในประเด็นหลัก 7 ประการ 1.มาตรา 225 ที่บัญญัติเกี่ยวกับองค์กรบริหารงานบุคคลของผู้พิพากษา หรือตุลาการ ซึ่งตามวรรคหนึ่ง กำหนดให้ต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิจากบุคคลภายนอกที่ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษา หรือตุลาการและไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการ ซึ่งเป็นผู้พิพากษา หรือตุลาการของศาล ซึ่งแต่เดิมกำหนดสัดส่วนให้มีผู้ทรงคุณวุฒิไว้เพียง 2 คน ดังนั้นหากร่างใหม่บัญญัติไว้ดังกล่าว แล้วมีการออกพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญในอนาคตอาจเป็นไปได้ว่า จะมีการเพิ่มจำนวนในส่วนนี้ ซึ่งจะกระทบทำให้เกิดการแทรกแซงของ ก.ต. ซึ่งทำหน้าที่บริหารงานบุคคลและกระทบต่อความอิสระของผู้พิพากษา หรือตุลาการได้ เนื่องจากอัตราส่วนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 เป็นอัตราส่วนที่ทำให้เปลี่ยนแปลงมติของคณะกรรมการได้ อันอาจมีผลทำให้ฝ่ายการเมืองสามารถแทรกแซง รวมตลอดถึงให้คุณให้โทษแก่ผู้พิพากษาหรือตุลาการจนสามารถใช้อิทธิพลเปลี่ยนแปลงผลคดีให้สนองตอบต่อผลประโยชน์ส่วนตน

ก.ต.นั่งวาระเดียวไม่เหมาะสม

นอกจากนั้น การกำหนดให้ก.ต.ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว ก็เป็นการไม่เหมาะสม เนื่องจาก ก.ต.เป็นผู้ได้รับเลือกจากผู้พิพากษาหรือตุลาการ ซึ่งก.ต.ที่ทำหน้าที่บริหารงานบุคคลก็จะต้องอาศัยผู้ที่สั่งสมประสบการณ์และมีความต่อเนื่องในการทำงานย่อมจะเป็นประโยชน์แก่ราชการมากกว่า โดยที่ผ่านมาก็ไม่ปรากฏว่าการดำรงตำแหน่งของก.ต.ได้ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องแต่อย่างใด ดังนั้น ที่ประชุมเสียงข้างมากจึงไม่เห็นด้วยกับบทบัญญัติในมาตรานี้

ค้านผู้ทรงคุณวุฒิชี้ขาดอำนาจศาล

ประเด็นที่ 2 การวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ตามมาตรา222 ซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ประกอบด้วย ประธานศาลที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิอื่นทางนิติศาสตร์อย่างน้อย 3คน แต่ไม่เกิน 5คน เป็นกรรมการ โดยให้หน่วยธุรการของศาลยุติธรรมและศาลปกครอง สลับกันทำหน้าที่คราวละ 1ปีนั้น ที่ประชุมเห็นว่า เดิมประธานศาลฎีกาจะเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง ซึ่งประธานศาลฎีกาถือว่าไม่ใช่คู่ขัดแย้งทางคดี แต่เข้ามาช่วยวินิจฉัยทางวิชาการที่เป็นการตีความข้อกฎหมายเพื่อชี้ขาดเรื่องเขตอำนาจศาลและมีผู้พิพากษาหรือตุลาการของศาลที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการเท่านั้น เพราะการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเป็นส่วนหนึ่งของการใช้อำนาจตุลาการ โดยหลักควรเป็นเรื่องที่ศาลที่เกี่ยวข้องพิจารณาวินิจฉัยปัญหากันเอง ดังนั้นการที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่กำหนดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมเป็นกรรมการจะทำให้มีคนนอกเข้ามารับทราบและล่วงรู้เกี่ยวกับสำนวนคดี จึงควรกำหนดให้องค์ประกอบคณะกรรมการมาจากผู้พิพากษาและตุลาการที่เกี่ยวข้องเป็นหลักตามโครงสร้างที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญปี2550 ซึ่งที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ในส่วนนี้

คดีการเมืองต้องอุทธรณ์-ฎีกาได้

นายภัทรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ประเด็นที่3 ร่างมาตรา240 เกี่ยวกับอำนาจพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกาและการยื่นอุทธรณ์ ซึ่งที่ประชุมไม่ขัดข้องที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้การพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอยู่ในศาลฎีกา แต่ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง ของสหประชาชาติ ได้กำหนดให้ผู้ต้องคดี มีสิทธิอุทธรณ์ได้อย่างน้อย 1ชั้นศาล ดังนั้น ศาลยุติธรรมจึงตั้งข้อสังเกตการณ์ยื่นอุทธรณ์ว่า เดิมรัฐธรรมนูญปี50 กำหนดให้ผู้ต้องคดีสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ในประเด็นข้อเท็จจริงที่ต้องปรากฏว่า เป็นหลักฐานใหม่และมีสาระสำคัญในการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาภายใน 30วัน น่าจะเป็นข้อจำกัดเกินไป จึงเห็นควรว่าการยื่นอุทธรณ์น่าจะใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการอุทธรณ์ในคดีทั่วไป คือ ยื่นอุทธรณ์ได้ทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายโดยไม่ต้องถึงขนาดมีหลักฐานใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศ

ต้องชัดศาลไหนสั่งเลือกตั้งใหม่

ส่วนประเด็นที่4 มาตรา241 ที่บัญญัติเกี่ยวกับอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและคดีเกี่ยวกับการจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ซึ่งตาม (1) กำหนดให้ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิ แต่ถ้อยคำในบทบัญญัติไม่มีความชัดเจนเรื่องอำนาจสั่งให้เลือกตั้งใหม่ว่า จะให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจดังกล่าว จึงอยากให้เพิ่มถ้อยคำให้ชัดเจนว่า ให้ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติ

โทษวินัยมีคนทำหน้าที่อยู่แล้ว

ประเด็นที่5 เรื่องหลักประกันความอิสระของผู้พิพากษาและตุลาการ ตามมาตรา219วรรคหก ที่กำหนดให้การลงโทษทางวินัยผู้พิพากษา ซึ่งเดิม ก.ต.ที่ได้รับการเลือกจากผู้พิพากษาทุกระดับชั้น จะเป็นผู้พิจารณาให้ความเป็นธรรมแก่ผู้พิพากษาที่ถูกลงโทษทางวินัยได้อยู่แล้ว แต่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่จะมีการกำหนดให้อุทธรณ์การลงโทษวินัยไปยังศาลฎีกาได้โดยตรงอีก ซึ่งเดิมศาลฎีกาทำหน้าที่พิพากษาคดี ดังนั้น จะทำให้ระบบการบริหารงานบุคคลของศาลยุติธรรมเสียไป ตุลาการโดยองค์กรบริหารงานบุคคลของศาลต้องมีหลักประกันในการใช้สิทธิอุทธรณ์โดยตรงไปยังศาลสูงสุดที่ผู้พิพากษาและตุลาการนั้นสังกัดอยู่ แต่ในระบบของศาลยุติธรรม เพราะเป็นการทำงานคนละหน้าที่ ถือเป็นการทำงานที่ผิดฝั่งผิดฝา ที่ให้ศาลซึ่งพิจารณาคดีทั่วไปมาพิจารณาโทษทางวินัย ซี่งมีก.ต.ที่ทำหน้าที่บริหารงานยุติธรรมเป็นผู้พิจารณาอยู่แล้ว

เป็นผู้พิพากษาอาวุโสหลัง65ปีได้

ส่วนประเด็นที่6 เรื่องกำหนดระยะเวลากระบวนพิจารณา ตามมาตรา218 วรรคสอง จะกำหนดให้ศาลกำหนดระยะเวลาขั้นตอนต่างๆในกระบวนพิจารณาของศาลเอาไว้ ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยตามแนวคิดดังกล่าว แต่ขอให้กำหนดระยะเวลาทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด ซึ่งไม่ใช่เฉพาะขั้นตอนของศาลเท่านั้น จึงอยากให้ตัดคำว่า ศาลออกไป โดยใช้คำว่า กระบวนการยุติธรรมทั้งหมดแทน ประเด็นสุดท้าย เรื่องอายุของผู้พิพากษาหรือตุลาการ ตามมาตรา226 วรรคสอง กำหนดให้ผู้พิพากษาหรือตุลาการสิ้นสุดอายุราชการเมื่ออายุครบ 65ปีบริบูรณ์ แต่อาจรับราชการเป็นผู้พิพากษา หรือตุลาการอาวุโสต่อไปได้จนมีอายุครบ 70ปีบริบูรณ์นั้น ที่ประชุมเห็นพ้องด้วย แต่ต้องการให้เขียนถ้อยคำชัดเจนลงไปว่า การสิ้นสุดอายุราชการเมื่ออายุครบ 65ปี จากตำแหน่งที่ดำรงอยู่ แล้วสามารถไปเป็นผู้พิพากษาอาวุโสจนอายุ 70ปีบริบูรณ์และควรกำหนดให้ผู้พิพากษาที่มีอายุครบ 60ปี สามารถสมัครใจไปเป็นผู้พิพากษาอาวุโสได้

ยินดีแจงผลกระทบถ้ายังไม่แก้ไข

ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางสำนักงานศาลฯคาดหวังรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างไรบ้าง นายภัทรศักดิ์ กล่าวว่า ทางสำนักงานศาลยุติธรรมคาดหวังว่า สปช.จะรับฟังข้อเสนอและความเห็นที่แตกต่างของสำนักงานศาลฯที่เห็นควรแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวในบางประเด็น ซึ่งเรื่องดังกล่าวไม่ใช่ประเด็นความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน แต่เป็นการแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการและข้อกฎหมาย โดยพร้อมไปชี้แจงปัญหาที่จะเกิดขึ้นหากรัฐธรรมนูญมีการบังคับใช้จะส่งผลกระทบต่อศาลและการพิจารณาคดีของศาลอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ หากจะให้ตนเข้าชี้แจงต่อ สปช.ตนก็พร้อมที่จะเข้าชี้แจงในทุกประเด็น

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'โรม\'เดือด! ยก 3 ข้อ \'ทักษิณ\' พักชั้น 14 ชี้ชัด\'ดีลปีศาจ\'ทำลายกระบวนการยุติธรรม 'โรม'เดือด! ยก 3 ข้อ 'ทักษิณ' พักชั้น 14 ชี้ชัด'ดีลปีศาจ'ทำลายกระบวนการยุติธรรม
  • ประธาน กกต.ยัน เรียก สว.รับทราบข้อกล่าวหา เป็นไปตามกฎหมาย ประธาน กกต.ยัน เรียก สว.รับทราบข้อกล่าวหา เป็นไปตามกฎหมาย
  • ประธาน กกต.ลงพื้นที่ประจวบ-เพชรบุรี ดูความพร้อมก่อนเลือกตั้งเทศบาล ประธาน กกต.ลงพื้นที่ประจวบ-เพชรบุรี ดูความพร้อมก่อนเลือกตั้งเทศบาล
  • รัฐบาลเอาจริง! ลุยจับ\'ทัวร์เถื่อน-ไกด์เถื่อน\'ทั่วประเทศ ปรับ 5 แสน คุก 2 ปี รัฐบาลเอาจริง! ลุยจับ'ทัวร์เถื่อน-ไกด์เถื่อน'ทั่วประเทศ ปรับ 5 แสน คุก 2 ปี
  • \'ธนกร\' จี้ กกต.เอาจริงเร่งสอบสนามเลือกตั้งเทศบาลมีซื้อเสียงหนัก ห่วง การเมืองถดถอย 'ธนกร' จี้ กกต.เอาจริงเร่งสอบสนามเลือกตั้งเทศบาลมีซื้อเสียงหนัก ห่วง การเมืองถดถอย
  • กกต.พร้อมเลือกตั้งเทศบาล 11 พ.ค.นี้ จับตาเข้มพื้นที่การเมืองดุ เผยร้องเรียนแล้ว 338 เรื่อง กกต.พร้อมเลือกตั้งเทศบาล 11 พ.ค.นี้ จับตาเข้มพื้นที่การเมืองดุ เผยร้องเรียนแล้ว 338 เรื่อง
  •  

Breaking News

'เนท My Mate Nate'แจ้งข่าวร้าย ป่วยเป็นมะเร็ง บอกพฤติกรรมไว้เตือนภัย

หน่วยเลือกตั้ง'แม่กองคา'แม่สะเรียงคุมเข้ม! หลังฆาตกรต่อเนื่องยังลอยนวล

'โรม'เดือด! ยก 3 ข้อ 'ทักษิณ' พักชั้น 14 ชี้ชัด'ดีลปีศาจ'ทำลายกระบวนการยุติธรรม

สื่อนอกตีข่าว! วอนช่วยนทท.อังกฤษกลับประเทศ หลังพลัดตกน้ำตกที่ไทยค่ารักษาพุ่ง4ล้าน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved