วันอังคาร ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2561
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • การเมือง
    • กีฬา
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชาทัศน์
ปรีชาทัศน์

ปรีชาทัศน์

วันศุกร์ ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2561, 02.00 น.

(ตอนที่ 4) ผลของการปฏิวัติที่รุ่งโรจน์ในอังกฤษ (ค.ศ. 1688)

ดูทั้งหมด

  • Tweet

การปฏิวัติ ค.ศ.1688-1689 ได้ชื่อว่าเป็นการปฏิวัติที่รุ่งโรจน์ และในทัศนะของนักประวัติศาสตร์ การปฏิวัติครั้งนี้ น่าจะเป็นการตอกย้ำและขยายความแนวทางการปกครองของอังกฤษจากอดีตมาจนถึงขณะนั้น คือ มีลักษณะของความเป็นวิวัฒนาการมากกว่าการปฏิวัติ

สภาคอนเวนชั่นที่พระเจ้าวิลเลียมเชิญมาประชุมได้ออกประกาศเรื่องสิทธิของชาวอังกฤษ ค.ศ.1689 ซึ่งนอกจากตอกย้ำสิทธิเสรีภาพและการรักษากฎหมายของอังกฤษแล้ว ได้กำหนดว่า ในอนาคต กษัตริย์อังกฤษต้องมีศรัทธาเชื่อถือลัทธินิกายโปรเตสแตนท์แบบอังกฤษที่เรียกว่า “แองกลิคัน” เงื่อนไขดังกล่าวเป็นเงื่อนไขใหม่ เพราะในอดีตความเชื่อถือทางศาสนาเป็นเรื่องส่วนพระองค์ แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ชาวอังกฤษประสบปัญหาการขัดแย้งทางศาสนารุนแรง จึงต้องกำหนดเงื่อนไขใหม่ และในการกราบทูลเชิญเจ้าชายวิลเลียมขึ้นครองราชย์ ก็มีเงื่อนไขที่ต้องจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ดังกล่าว การปฏิวัติครั้งนี้ จึงเป็นการตอกย้ำอำนาจของรัฐสภาในบทบาทการแต่งตั้งกษัตริย์และเป็นการปฏิวัติหลักการดั้งเดิมของการสืบสันตติวงศ์ทางสายพระโลหิต ที่พรรคทอรีเชื่อถือมาตลอด

ขณะเดียวกัน ก็มีการออกพระราชบัญญัติขันติธรรม(Toleration Bill)ตามข้อเสนอฝ่ายทอรี ยินยอมให้ผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนท์อื่นๆ นอกแนวจากลัทธิแองกลิคันของอังกฤษ สามารถกระทำได้ (ยกเว้นพวกแคทอลิคและยูนิตาเรียน) ขณะเดียวกันลัทธิแองกลิคันยังคงมีบทบาทควบคุมการศึกษาและการบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนผู้นับถือนิกายอื่น ไม่มีสิทธิเข้ารับราชการหรือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย

นอกจากนั้น รัฐสภายังกำหนดวาระสมัยรัฐสภาไว้สามปี เพื่อให้มีการประชุมบ่อยๆ (หรือการเลือกตั้งทุกๆ สามปี) รวมทั้งออกพระราชบัญญัติ “Mutiny Act” บังคับให้รัฐสภามีบทบาทสำคัญในการควบคุมงบประมาณค่าใช้จ่ายของกองทัพทุกปี (ป้องกันมิให้มีกองทัพ “ถาวร” เพราะกลัวการยึดอำนาจ)

และประการสุดท้าย ซึ่งสำคัญมาก ได้แก่ การออกพระราชบัญญัติว่าด้วยพระราชอำนาจ (Act of Settlement, 1701) เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้พิพากษา โดยกำหนดให้ชัดเจนว่า ผู้พิพากษาเป็นอิสระ ไม่อยู่ใต้พระราชอำนาจของกษัตริย์ และจะพ้นจากตำแหน่งได้โดยผ่านการพิจารณาของรัฐสภาเท่านั้น

โดยสรุป บทบัญญัติเหล่านี้ส่วนใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาที่ชาวอังกฤษได้ประสบมาจากภาคปฏิบัติ ผสมกับหลักการทั่วไปที่ยึดโยงกับหลักการการเมือง/การปกครอง/และหลักการทางศาสนาที่สังคมเชื่อถือ และที่น่าสังเกต คือ ออกเป็นพระราชบัญญัติปกติในแต่ละฉบับ ไม่ได้รวมไว้เป็นบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการแก้ไข นอกจากนั้น ยังมีอีกหลายประเด็นที่อาจไม่มีกฎหมายรองรับ แต่เกิดขึ้นเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ และยอมรับกันในสังคมการเมืองเสมือนหนึ่งเป็นมาตรการทางกฎหมาย และเรียกกันว่า “Convention” (ธรรมเนียมปฏิบัติ) ซึ่งจะวิวัฒนาการตามจังหวะเวลาและโอกาส เช่น ตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” ซึ่งไม่เคยมีกฎหมายรองรับ แต่จะมาจากธรรมเนียมปฏิบัติจาก เซอร์ โรเบิร์ต วอลโปล (Walpole) ซึ่งพระเจ้ายอร์จที่ 1 ทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เป็น “First Lord of the Treasury” (รัฐมนตรีคลัง) เมื่อ ค.ศ.1721 เป็นรัฐมนตรีที่บุคลิกสามารถเป็นที่ยอมรับของรัฐมนตรีท่านอื่นๆ รวมทั้งสามารถควบคุมเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาได้ดี ประกอบกับพระเจ้ายอร์จที่ 1 ทรงมีเชื้อสายเยอรมันที่ขุนนางทั้งฝ่ายวิกส์และทอรีอัญเชิญจากแฮนโนเวอร์ ให้มาดำรงตำแหน่งเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ ค.ศ.1714 พระองค์ไม่สันทัดในการประชุมคณะรัฐมนตรีโดยใช้ภาษาอังกฤษ จึงมักมอบหมายให้วอลโปลดำเนินการในนามพระองค์ วอลโปลอยู่ในตำแหน่งนานถึง 21 ปี จาก ค.ศ.1721-1742 จึงได้รับขนานนาม “Prime Minister” นายกรัฐมนตรี ซึ่งกลายเป็นชื่อที่เรียกหัวหน้าคณะรัฐมนตรีมาทุกยุคทุกสมัยจนปัจจุบัน โดยไม่เคยมีกฎหมายกำหนดชื่อดังกล่าว

นอกจากนั้น ควรจะกล่าวไว้ด้วยว่า ระบบรัฐสภาที่ขุนนางและชนชั้นผู้ดีชนบทและในเมืองคุมเสียงส่วนใหญ่ ก็ยังมิใช่ระบบประชาธิปไตยที่แท้จริง ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีสิทธิในการเลือกตั้ง
สมาชิกรัฐสภา ต้องทอดเวลาไปอีกศตวรรษกว่าจึงจะเกิดการขยายสิทธิเลือกตั้งไปสู่ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบทและให้แก่ชนชั้นกลางในเขตเมือง ตลอดจนการแบ่งเขตเลือกตั้งให้เมืองอุตสาหกรรมใหม่ๆ ในภาคกลางได้มีผู้แทนราษฎร (พระราชบัญญัติปฏิรูปฉบับ ค.ศ. 1832) และต่อมาใน ค.ศ. 1868 ก็ขยายสิทธิให้แก่กรรมกรในเขตเมือง ส่วนกรรมกรในเขตชนบทได้รับสิทธิดังกล่าวใน ค.ศ. 1885 และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในรัฐสภา ในต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อสภาขุนนางได้กลายเป็นช้างเท้าหลัง มีอำนาจเพียงยับยั้งพระราชบัญญัติต่างๆ เท่านั้น ส่วนพระราชบัญญัติงบประมาณ/การเงินต่างๆ สภาขุนนางไม่มีอำนาจจะพิจารณาแต่อย่างใด นับว่าเส้นทางวิวัฒนาการ (และการปฏิวัติ) ทางการเมืองของอังกฤษได้ดำเนินมาถึงจุดหมายปลายทาง และจะไปต่ออย่างไรก็ยังยากที่จะคาดคะเน

ประเด็นที่ใคร่หยิบยกขึ้นพิจารณาก่อนจบบทความก็คือ มีปัจจัยใดที่ส่งเสริมให้อังกฤษบรรลุเป้าหมายก่อนประเทศอื่นๆในยุโรปเช่น ฝรั่งเศส ทำไมอังกฤษจึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองแม่แห่งระบบรัฐสภา

ฟูกูยามา ได้ตั้งข้อสังเกตในหนังสือของท่าน ใจความว่า ฝรั่งเศสและอีกหลายประเทศในยุโรปตะวันตกของแม่น้ำเอลเบก็จะมีสภาฐานันดร (Estate-Generale) เช่นเดียวกับอังกฤษแต่ทำไมสภาฐานันดรอังกฤษจึงวิวัฒนาการกลายเป็นระบบรัฐสภาที่เข้มแข็ง สามารถต่อกรกับอำนาจของกษัตริย์ได้

คำตอบหนึ่งก็คือ ในอังกฤษมีความสมดุลระหว่างพลังอำนาจของฝ่ายขุนนางกับพลังอำนาจของฝ่ายกษัตริย์ ขณะที่ในฝรั่งเศสหรืออาณาจักร เช่น ฮังการี และโปแลนด์ ขาดความสมดุลแห่งอำนาจ สำหรับฝรั่งเศส มีการประชุมสภาฐานันดรครั้งสุดท้ายเมื่อปี ค.ศ.1614 และหลังจากนั้น ไม่เคยมีอีกเลยจนกระทั่ง ค.ศ. 1789 ซึ่งเมื่อมีการประชุมครั้งนี้ ก็นำไปสู่การปฏิวัติ

เหตุผลหนึ่งที่ฟูกูยามาอ้างถึง ก็คือ กษัตริย์ฝรั่งเศสก่อนพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 และโดยเฉพาะพระองค์มีวัตถุประสงค์จะรวมอำนาจไว้ส่วนกลางให้มากที่สุด พระองค์จึงทรงอ้างว่า “รัฐคือตัวข้าพเจ้า” และด้วยเป้าหมายนี้ เป้าหมายที่จะเป็นใหญ่ในยุโรป จึงก่อสงครามหลายครั้ง ฉะนั้น ค่าใช้จ่ายจึงมหาศาล และวิธีจัดหารายได้ของพระองค์วิธีหนึ่งก็คือ การขายตำแหน่งและฐานันดรให้แก่ชนชั้นกลางผู้มีทรัพย์ ทำให้เกิดขุนนางรุ่นใหม่ จึงเกิดความแตกแยกในชนชั้นขุนนาง นำไปสู่ความอ่อนแอของชนชั้นนี้โดยปริยาย นำไปสู่การว่างเว้นการประชุมสภาฐานันดรดังกล่าว นั่นคือคำอธิบายในประการแรกและคงมีเหตุผลอื่นๆ อีกแน่นอน

สำหรับวิวัฒนาการของการเมืองอังกฤษ ชนชั้นขุนนางน่าจะรวมตัวกันได้ดีกว่าฝรั่งเศส โดยเฉพาะในยุคเริ่มต้น ในศตวรรษที่ 11-12 ขุนนางเข้มแข็งมาก ก่อกบฏก็หลายครั้ง

อย่างไรก็ตาม กษัตริย์นอร์มันจากพระเจ้าวิลเลียม ถึงพระเจ้าเฮนรีที่ 1 ก็ทรงมีนโยบายพึ่งพิงศาสนาให้เป็นปัจจัยถ่วงดุลกับขุนนาง ตลอดจนทรงพยายามเข้าถึงชนชั้นอัศวิน (Gentry) ในชนบท และราษฎรทั่วไป โดยการจัดตั้งศาลของพระราชาในมณฑลต่างๆ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ราษฎรทั่วไป ไม่ต้องไปพึ่งศาลขุนนาง ซึ่งมีอิทธิพลต่อการปกครองในระดับท้องถิ่นอยู่แล้ว

และที่สำคัญ กษัตริย์นอร์มันยังส่งเสริมให้เกิดเมืองต่างๆ ให้กฎบัตรเพื่อปกป้องเสรีภาพของชาวเมือง ทำให้เกิดชนชั้นกลางในอนาคตเพื่อรักษาความสมดุลแห่งอำนาจในชนบท

นอกจากนั้น ปัจจัยที่สำคัญซึ่งในสังคมไทยอาจจะไม่ค่อยปรากฏให้เห็น ก็คือ ตั้งแต่ยุคแซกซอน และสืบต่อมาถึงยุคนอร์มัน มีระบบที่เรียกว่า “Shire-moot” (County Court), และ “Hundred-moot” (District Court) เป็นที่ประชุมของชาวชนบทในระดับมณฑล และระดับตำบล ซึ่งจัดให้มี 2 ครั้งต่อปี โดยมีขุนนางผู้ใหญ่เป็นองค์ประธาน และต่อมาสมัยราชวงศ์นอร์มัน ก็ทรงแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ที่เรียกว่า “Shire-Reeve” (ต่อมาคือ Sheriff) มาเป็นผู้ประสานงาน องค์กรดังกล่าวทำหน้าที่เป็นศาล และต่อมาก็เป็นที่ประชุมเพื่อเลือกตั้งผู้แทนมณฑลไปประชุมรัฐสภาในส่วนกลาง จะเห็นได้ว่า ชาวชนบทระดับชนชั้นผู้ดี/และทั่วไป มีความคุ้นเคยกับกิจการสาธารณะมาหลายศตวรรษแล้ว ฉะนั้น ระบบรัฐสภาจึงอยู่ในสายเลือดของชนชาตินี้ และนี่คือประสบการณ์ที่สังคมไทยขาดแคลน ประชาธิปไตยจึงอ่อนแอ

  • Tweet
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:56 น. บัวแก้วร่อนแถลงการณ์ ตอกหน้ามะกันพูดฝ่ายเดียวไทยละเมิดสิทธิ์
22:49 น. 'เจ้าหญิงเคท'ทรงมีพระประสูติกาล เป็นพระโอรสทายาทองค์ที่3 (ประมวลภาพ)
22:31 น. 'หมอธี'ลงพื้นที่ติดตามปัญหา MOENet จ.บุรีรัมย์
22:21 น. โดนแล้ว!ตร.จ่อหมายเรียก56ดารา-เน็ตไอดอลเอี่ยวคดีเมจิกสกิน
22:04 น. ย้อนตำรา'วิชามาร' 'ทักษิณ ชินวัตร'ต้นตำรับดูด-ดูด-ดูด
ดูทั้งหมด
กำนันห่วง 'ตั้ว-ศรัญญู' ยอมทิ้งงาน-ทิ้งรายได้มาสู้ทรราช สุดท้ายต้องถูกอายัดทรัพย์
ศาลขออยู่ก่อน10ปี! ท้าพิสูจน์ฟื้นฟู 'บ้านป่าแหว่ง' ขอร้องให้เห็นใจต้องมาทำงานไกล
รับสภาพพ่ายพลังดูด! ปชป.เปิดทางสส.ย้ายพรรค เพื่อไทยด่ายับ'คสช.'อีแร้ง
กรรมฐานอยู่ห้ามรบกวน! บุกกุฏิหลวงพี่วัดดัง เจอจังๆทั้งยาบ้า-หนังโป๊
‘ดร.อาทิตย์’โพสต์เศร้าใจ!จีนวิจารณ์การศึกษาไทย‘ห่วยแตก’
ดูทั้งหมด
ผิดที่ผิวดำ
อิทธิฤทธิ์ ‘น้ำเมา’
สถานการณ์รวมชาติ
ระวังเรื่องเคราะห์ซ้ำกรรมซัดวิบัติเยือน
การเมืองไม่พ้นวังวนน้ำเน่าแบบเดิมๆ?
ดูทั้งหมด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

โกงศธ.เจอโรคเลื่อน! 'อรรถพล'อ้างข้อมูลเยอะ-สอบเพิ่มอีก19ปาก

กำนันซูฮกนักสู้ลูกอีสาน'เทิดภูมิ ใจดี' แกนนำพธม.คนสุดท้ายที่ถูกอายัดบัญชี

'ม็อบผ้าเหลือง'มาแล้ว! องค์กรพุทธประกาศบุกทำเนียบ-ปปช. ยื่นถอดถอน 'พงศ์พร'

รวบหนุ่มออสเตรเลียฉกกระเป๋าสาวในผับวอล์กกิ้งสตรีท

ปิด'อ่าวมาหยา-หมู่เกาะพีพี'ฟื้นธรรมชาติ เริ่ม 1 มิ.ย.-30 ก.ย.นี้

ทนายวิ่งขาขวิดยื่นประกันสองผัวเมียเมจิกสกิน หลังตร.ยื่นคำร้องฝากขังเพิ่ม

  • Breaking News
22:56 น. บัวแก้วร่อนแถลงการณ์ ตอกหน้ามะกันพูดฝ่ายเดียวไทยละเมิดสิทธิ์
22:49 น. 'เจ้าหญิงเคท'ทรงมีพระประสูติกาล เป็นพระโอรสทายาทองค์ที่3 (ประมวลภาพ)
22:31 น. 'หมอธี'ลงพื้นที่ติดตามปัญหา MOENet จ.บุรีรัมย์
22:21 น. โดนแล้ว!ตร.จ่อหมายเรียก56ดารา-เน็ตไอดอลเอี่ยวคดีเมจิกสกิน
22:04 น. ย้อนตำรา'วิชามาร' 'ทักษิณ ชินวัตร'ต้นตำรับดูด-ดูด-ดูด
ดูทั้งหมด
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
กำนันห่วง 'ตั้ว-ศรัญญู' ยอมทิ้งงาน-ทิ้งรายได้มาสู้ทรราช สุดท้ายต้องถูกอายัดทรัพย์
ศาลขออยู่ก่อน10ปี! ท้าพิสูจน์ฟื้นฟู 'บ้านป่าแหว่ง' ขอร้องให้เห็นใจต้องมาทำงานไกล
รับสภาพพ่ายพลังดูด! ปชป.เปิดทางสส.ย้ายพรรค เพื่อไทยด่ายับ'คสช.'อีแร้ง
กรรมฐานอยู่ห้ามรบกวน! บุกกุฏิหลวงพี่วัดดัง เจอจังๆทั้งยาบ้า-หนังโป๊
‘ดร.อาทิตย์’โพสต์เศร้าใจ!จีนวิจารณ์การศึกษาไทย‘ห่วยแตก’
ดูทั้งหมด
ผิดที่ผิวดำ
พิพากษาลูกหนังโลก ตัดสินโดย บี แหลมสิงห์ : 24 เมษายน 2561
อิทธิฤทธิ์ ‘น้ำเมา’
สถานการณ์รวมชาติ
ระวังเรื่องเคราะห์ซ้ำกรรมซัดวิบัติเยือน
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

บิทคอยน์ : ฟองสบู่หรือเงินตราอนาคต(ตอนที่ 1)

บิทคอยน์ : ฟองสบู่หรือเงินตราอนาคต(ตอนที่ 1)

20 เม.ย. 2561

จะสร้างผู้นำที่มีคุณธรรมความรู้ในสังคมไทยได้อย่างไร?

จะสร้างผู้นำที่มีคุณธรรมความรู้ในสังคมไทยได้อย่างไร?

13 เม.ย. 2561

ฝรั่งเศสมอบเครื่องอิสริยาภรณ์แก่คุณสุดาและคุณดุษฎี พนมยงค์

ฝรั่งเศสมอบเครื่องอิสริยาภรณ์แก่คุณสุดาและคุณดุษฎี พนมยงค์

6 เม.ย. 2561

การแก้ไขปัญหาทุจริตในวงราชการอย่างเป็นระบบ

การแก้ไขปัญหาทุจริตในวงราชการอย่างเป็นระบบ

30 มี.ค. 2561

อาจาริยบูชา...๘๐ ปี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต

อาจาริยบูชา...๘๐ ปี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต

23 มี.ค. 2561

ย้อนวิเคราะห์พิจารณาแผนการศึกษาของสยามประเทศ‘ฉบับแรก’

ย้อนวิเคราะห์พิจารณาแผนการศึกษาของสยามประเทศ‘ฉบับแรก’

16 มี.ค. 2561

เส้นทางใดที่สังคมไทยควรเลือกในการปฏิรูป (II)

เส้นทางใดที่สังคมไทยควรเลือกในการปฏิรูป (II)

9 มี.ค. 2561

ข้อสังเกตบางประการจากแนวคิดในการตั้งหน่วยงานอิสระ  ในการจัดเก็บรายได้แทนกรมภาษีในกระทรวงการคลัง

ข้อสังเกตบางประการจากแนวคิดในการตั้งหน่วยงานอิสระ ในการจัดเก็บรายได้แทนกรมภาษีในกระทรวงการคลัง

23 ก.พ. 2561

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายอธิพงค์ ลอยชื่น ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิน

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved