วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / สกู๊ปพิเศษ
ยกระดับเบี้ยยังชีพสู่‘บำนาญแห่งชาติ’ ‘สวัสดิการยามชรา’ที่ทั่วถึง-เท่าเทียม

ยกระดับเบี้ยยังชีพสู่‘บำนาญแห่งชาติ’ ‘สวัสดิการยามชรา’ที่ทั่วถึง-เท่าเทียม

วันพุธ ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558, 02.00 น.
Tag :
  •  

องค์การสหประชาชาติให้นิยามว่าประเทศใดที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ10 หรืออายุ 65 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่ “สังคมสูงอายุ” แล้ว ซึ่งประเทศไทยเป็นสังคมสูงอายุมาตั้งแต่ปี 2548 และมีการประมาณการว่าอีก 30 ปีจากนี้ไป จำนวนผู้สูงอายุในไทยจะเพิ่มจากร้อยละ 14 เป็นร้อยละ 30 ของจำนวนประชากรทั้งหมด

แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุในไทยเป็นสิ่งที่รัฐต้องให้ความสำคัญในการวางระบบ และมีแนวทางสนับสนุน “หลักประกันรายได้” ให้เป็นสวัสดิการในการดูแลผู้สูงอายุอย่างจริงจัง เพราะข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อปี 2554 บ่งชี้ว่ามีผู้สูงอายุถึง 1 ใน 3 ที่มีรายได้ต่ำกว่า “เส้นความยากจน” ส่วนหนึ่งมาจาก “ความเหลื่อมล้ำ” ทางรายได้ ทำให้กลุ่มคนที่อยู่ในภาวะยากจนเข้าไม่ถึงโอกาสต่างๆ ทางสังคม กลายเป็น “จนดักดาน” รายได้มีใช้ “เดือนชนเดือน” ไม่มีศักยภาพในการออม เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุจึงใช้ชีวิตอย่างด้อยคุณภาพ


แล้วรัฐจัดสวัสดิการด้านรายได้ หรือ “บำนาญ” ให้กับผู้สูงอายุอย่างไรบ้าง…???

ที่ผ่านมา พบว่าการรับรู้เรื่องบำนาญของคนไทยมี 2 ส่วน คือ ส่วนแรกได้รับบำนาญต่างๆ อีกส่วนได้รับในรูปแบบ “เบี้ยยังชีพ” ซึ่งเมื่อปี 2554 รัฐบาลปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์มาจ่ายเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุทุกคนเป็นขั้นบันไดตามช่วงอายุตั้งแต่ 600-1,000 บาทต่อเดือน

ทว่า.....เบี้ยยังชีพที่เพิ่มขึ้นไม่มีหลักคำนวณ แต่สัมพันธ์กับ “นโยบายหาเสียง” ของพรรคการเมือง เป็น “ประชานิยม” ไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักการสิทธิขั้นพื้นฐาน ยังไม่เป็น “รัฐสวัสดิการ” และจำนวนเงินไม่เพียงพอกับการยังชีพได้จริง

แล้วรัฐควรจะทำอย่างไร…???

“ชุลีพร ด้วงฉิม” ตัวแทนเครือข่ายกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวในเวทีรณรงค์สาธารณะเรื่อง “สังคมไทยสูงวัยไปด้วยกันด้วยระบบบำนาญแห่งชาติ” เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า หลายภาคส่วนได้ร่วมกันจัดตั้ง “เครือข่ายประชาชนเพื่อขับเคลื่อนระบบบำนาญแห่งชาติ” เพื่อผลักดันเสนอ “พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ” โดยเครือข่ายฯเห็นว่ารัฐควรปรับ “เบี้ยยังชีพ” ให้เป็นบำนาญพื้นฐาน รวมถึงสร้างระบบ “บำนาญแห่งชาติ” ให้เป็นหลักประกันว่า “ประชาชนจะได้รับการดูแลให้อยู่ในภาวะที่พออยู่ได้ทันที” บนหลักการ “ทั่วถึง เท่าเทียม และถ้วนหน้า”

“พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ มีสาระสำคัญ 2 ประการ คือ 1.ให้รัฐจัดสวัสดิการบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าให้ผู้สูงวัย เพื่อเป็นหลักประกันทางรายได้แบบรายเดือนในอัตราที่อ้างอิงเส้นความยากจน ในปี 2558 อยู่ที่ 2,400 บาทต่อเดือน และ 2.ให้มีคณะกรรมการกลางที่มีส่วนร่วมของประชาชน ในการเป็นกลไกที่มีบทบาทจัดทำนโยบายและแผนพัฒนาระบบบำนาญแห่งชาติให้เป็นระบบเดียวกัน” ชุลีพร กล่าว

ขณะที่ “วรเวศน์ สุวรรณรดา” คณะกรรมการปฏิรูประบบรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) กล่าวว่า คณะกรรมการฯได้ผลักดันให้เบี้ยยังชีพพัฒนาไปสู่การเป็นบำนาญพื้นฐาน เพื่อสร้างหลักประกันทางรายได้ที่ยั่งยืนให้กับผู้สูงอายุ รวมถึงผลักดันให้มี “กลไกกลาง” ในการดูภาพรวม ทั้งนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางทิศทางบำนาญของประเทศให้ชัดเจน ซึ่ง สปช.ยอมรับหลักการแล้ว

“ข้อเสนอ” อีกประเด็นหนึ่ง คือ รัฐควรให้ความสำคัญกับการมีสวัสดิการสนับสนุนคนอีก 2 วัย คือ “เด็ก” ที่ต้องเติบโตขึ้นไปอย่างมีคุณภาพ เพื่อจะได้มีศักยภาพในการเลี้ยงดูผู้สูงอายุ และ “คนทำงาน” ที่อาจต้องออกจากงาน หรือทำงานหนักมากขึ้นเพื่อมาดูแลพ่อแม่ หรือลูก ทำให้เกิดความลำบากในการใช้ชีวิตเมื่อเข้าสู่ช่วงสูงวัย จึงเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องเข้ามาดูแลคุณภาพชีวิตของประชากรทุกวัยอย่างเท่าเทียมกัน

ด้าน “สมชัย จิตสุชน” ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า บำนาญแห่งชาติจะเกิดขึ้นได้นั้นรัฐต้องปรับ “โครงสร้างการจัดเก็บภาษี” เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ โดยเฉพาะภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคล การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเก็บใน “อัตราก้าวหน้า” ซึ่งจะทำให้ประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณแสนล้านบาท

อีกทั้งรัฐต้อง “ปฏิรูปภาษีมูลค่าเพิ่ม” ที่แม้หลายฝ่ายมองว่าอาจสร้างความเดือดร้อนให้กับคนจน แต่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นรายได้ให้กับรัฐส่วนใหญ่ยังมาจากคนรวย เช่น คนจนดื่มน้ำขวดละ 10 บาท ขณะที่คนรวยดื่มไวน์ขวดละเป็นพัน แม้จะเก็บภาษีในอัตรา 7% เท่ากัน แต่จำนวนเงินที่เสียภาษีแตกต่างกัน ซึ่งการที่รัฐยังไม่ยอมขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มถือเป็นการ “ช่วยคนรวย” ประหยัดเงินไปได้มาก ดังนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นภาษีที่สร้างความเท่าเทียมกันในสังคม และเป็นภาษีที่คนรวย “หนีไม่ออก” แต่รัฐต้องชี้แจงให้ชัดเจนว่าการจัดเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นจะนำไปใช้ในเรื่องบำนาญพื้นฐาน

อย่างไรก็ดี เรื่องบำนาญแห่งชาติต้องทำคู่กับ “การออมภาคบังคับ” ประชาชนจะได้ไม่ใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย ส่วนคนที่มีอายุ 40-50 ปี ซึ่งมีเวลาออมไม่มากอาจต้องมีมาตรการบังคับให้ลูกหลานจ่ายเงินออมเข้ากองทุนแทนพ่อแม่

นอกจากนี้ รัฐควร “ยกเลิก” ระเบียบการจ่ายเงินสมทบเข้า “กองทุนประกันสังคม” ที่ผู้ประกันตนมีรายได้สูงแค่ไหนก็มีเพดานในการจ่ายเงินสมทบไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน บนฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท เพื่อให้คนที่มีเงินเดือนสูงกว่า 15,000 บาท ส่งเงินเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้มากขึ้นซึ่งจะส่งผลให้กองทุนประกันสังคมเกิดความมั่นคง

“ที่สำคัญที่สุดคือรัฐอย่ารวบอำนาจไว้ข้างบน ต้องกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ส่งเสริมประชาธิปไตยในระดับรากหญ้า และเมื่ออำนาจไปอยู่ข้างล่างไม่ว่าจะเป็นเบี้ยยังชีพ การดูแลเด็กเล็ก หรือเรื่องรัฐสวัสดิการอื่นๆ ก็ให้ท้องถิ่นได้ตัดสินกันเอง ส่วนรัฐมีบทบาทในการหารายได้ช่วยท้องถิ่น ดังนั้น รัฐกลางต้องกระจายทั้งอำนาจและการเงินซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาของประชาชนในทุกๆ ด้านได้อย่างแท้จริง” สมชัย กล่าวทิ้งท้าย

การยกระดับเบี้ยยังชีพด้วยระบบ “บำนาญแห่งชาติ” เป็นการทำงานบนหลักการเรื่องสิทธิมนุษยชน จะช่วยให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงสวัสดิการที่เป็นหลักประกันทางรายได้จากรัฐได้อย่างเท่าเทียม ที่สำคัญยังช่วยให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หากรัฐบาล “เอาด้วย” กับเรื่องนี้ อย่างน้อยที่สุดก็น่าจะทำให้ผู้คนในสังคมไทย.....

“สูงวัยไปด้วยกัน” อย่างมีความสุข!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

โอละพ่อ! คนสนิท 'สว.โชคชัย' บอกพิกัดบ้านผิด ทำ 'กกต.-DSI' หลงทาง

สอยคิวลุ้น! บรรจุแข่งโอลิมปิกเกมส์

ครั้งประวัติศาสตร์!อังกฤษลุยถ้วยใหญ่ยุโรป6ทีม

จอดรถถ่ายรูป'ว่าที่ สท.คนดัง' โดนล้อมรถทุบกระจกร้าว อึ้งตำรวจไม่รับแจ้งความ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved