วันอังคาร ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ / ลงมือสู้โกง โดย...เจริญ สู้ทุกทิศ
ลงมือสู้โกง โดย...เจริญ สู้ทุกทิศ

ลงมือสู้โกง โดย...เจริญ สู้ทุกทิศ

เจริญ สู้ทุกทิศ
วันอังคาร ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2565, 19.14 น.
ธรรมาภิบาลกับภาวะโลกร้อน

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมาเราน่าจะเห็นการประท้วงของนักวิทยาศาสตร์จากองค์การนาซ่าเกี่ยวกับความเร่งด่วนของปัญหาภาวะโลกร้อน ว่าอีกไม่นานเราจะไม่สามารถอาศัยอยู่ในโลกที่สวยงามของเราได้อีกต่อไป

ตามมาด้วยนักเคลื่อนไหวเกี่ยวกับประเด็นภาวะโลกร้อนอย่างคุณ Greta Thunberg ชาวสวีเดนซึ่งออกมาสร้างแรงกระเพื่อมไปทั่วโลกเกี่ยวกับผลกระทบของสภาวะโลกร้อนและเรียกร้องให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างนักการเมืองให้ดำเนินนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นมากขึ้น เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและเริ่มดำเนินนโยบายที่มีประสิทธิภาพได้จริงสักที เนื่องจากปัญหาภาวะโลกร้อนได้มาถึงจุดเดดไลน์จริงๆ แล้ว


ทั้งหมดนี้ฟังดูรุนแรง น่ากลัว แต่ไม่เกินจริงเลย เราจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันสภาพอากาศในหลายๆ ประเทศฝั่งยุโรปมีอากาศที่ร้อนมากที่สุดในรอบหลายปี หรือ ในประเทศเกาหลีใต้ มีปริมาณฝนที่ตกเยอะมากที่สุดในรอบ 80 ปี ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหนัก ในประเทศไทยเองก็ประสบความแปรปรวนของสภาพอากาศ แน่นอนว่าในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน

นี่จึงนำมาซึ่งมาตรการในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นกรอบความร่วมมือในระดับนานาชาติ หรือมาตรการภายในประเทศ และเชื่อหรือไม่ว่า การแก้ไขปัญหาโลกร้อนนี่ ก็เกี่ยวกับเรื่องธรรมาภิบาลด้วย โดยองค์กรระดับนานาชาติได้ชี้ว่าหลักธรรมาภิบาล เป็นหนึ่งในกุญแจดอกสำคัญที่ช่วยให้การป้องกันภาวะโลกร้อนมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น

ในปี พ.ศ. 2558 การประชุมในระดับนานาชาติที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส หัวข้อ UN Climate Change Conference ถือเป็นก้าวที่สำคัญในการสร้างกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกขององค์กรสหประชาชาติ เกิดข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) โดยร่วมกันตั้งเป้าว่าจะควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสในขณะเดียวกัน เป้าหมายเรื่องการป้องกันภาวะโลกร้อน ก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ข้อที่ 13 Climate Action ที่กำหนดให้รัฐจะต้องมีนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติเพื่อป้องกันภาวะโลกร้อน การเสริมสร้างสังคมที่มีความตระหนักรู้และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดภาวะโลกร้อน และความสามารถในการปรับตัวและรับมือกับภาวะโลกร้อน

อย่างไรก็ตาม จากการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามเป้าหมายข้อที่ 13 ในปี พ.ศ. 2565 พบว่าสถานการณ์การขับเคลื่อนมาตรการทางด้านภาวะโลกร้อนมีความน่าเป็นห่วง เนื่องจากเมื่อปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้อุณหภูมิโลกก็มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก ส่งผลให้เกิดสภาพอากาศที่รุนแรง ในขณะเดียวกัน ในหลายประเทศก็มีการลดงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการรับมือปัญหาภาวะโลก ทั้งนี้ คุณ Grete Faremo อดีตเลขาธิการและกรรมการบริหารของสำนักงานสหประชาชาติสำหรับการให้บริการโครงการ (UNOPS) ชี้ว่าปัญหาส่วนหนึ่งของความล้มเหลวในการจัดการปัญหาภาวะโลกร้อนคือ หนึ่ง ความไม่มีประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบายของหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบ เนื่องจากการขาดกลไกการตรวจสอบและติดตามนโยบายต่างๆ สอง นโยบายเหล่านี้ขาดการคำนึงถึงความต้องการและความเปราะบางของประชากรทุกกลุ่มอย่างครอบคลุม และสาม ซึ่งสำคัญมากคือ การคอร์รัปชัน ดังนั้นคุณ Grete Faremo จึงระบุว่าการมีธรรมาภิบาลในการจัดการกับมาตรการทางด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืนทางด้านนโยบายอย่างแท้จริง

จริงๆ แล้วธรรมาภิบาลเป็นกรอบที่ใช้ในการบริหารจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมมานาน และองค์กรระดับนานาชาติก็ยกให้เป็นกรอบในการสร้างความมีประสิทธิภาพเชิงนโยบายของรัฐทั่วโลก องค์กร UNICEF ชี้ว่า ธรรมาภิบาลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเชื่อมโยงกับการพัฒนาของประเทศต่างๆ และความเป็นอยู่ที่ดีของธรรมชาติและผู้คน เป็นกรอบที่ช่วยแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นปัญหาระดับโลกที่ซับซ้อน สร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกระดับสังคม และเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน หลักธรรมาภิบาลได้หนุนเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมการตัดสินใจและนโยบายด้านสภาพอากาศจากภาครัฐ ประชาสังคม และเอกชน ในขับเคลื่อนประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมและส่งผลให้เกิดการดำเนินการด้านสภาพอากาศที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลบนฐานของสิทธิของประชาชน และส่งเสริมกฎระเบียบที่คุ้มครองประชาชนทุกกลุ่มด้วย

จากการใช้กรอบธรรมาภิบาลมาขับเคลื่อนประเด็นภาวะโลกร้อนนั้น ส่งผลให้หลายประเทศได้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนและภาคประชาสังคมในการออกมาตรการระดับชาติ เช่น ประเทศอาร์เจนตินา ได้เกิดการรวมตัวของภาคประชาสังคม และองค์กรในประเทศเกือบ 50 องค์กร ร่วมผลักดันคำประกาศว่าด้วยภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Emergency Declaration) ฉบับแรกของประเทศและภูมิภาค ซึ่งมีผลทำให้รัฐบาลจะต้องขับเคลื่อนมาตรการฯ อย่างเอาจริงเอาจังมากขึ้น และคำประกาศนี้ก็เป็นฐานที่สำคัญในการนับสู่การออกกฎหมายทางด้านภาวะโลกร้อนฉบับแรกของประเทศ

ในประเทศโบลิเวีย องค์กร UNICEF ร่วมมือกับองค์กรภาคประชาสังคมภายในประเทศ ได้สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและเยาวชนในการร่วมกันวิเคราะห์ช่องโหว่แผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ทำให้พบว่าแผนปฏิบัติการฯ ขาดตัวชี้วัดเกี่ยวกับการสร้างการมีส่วนร่วม รวมไปถึงยุทธศาสตร์ที่ไม่ได้คำนึงถึงความเปราะบางจากผลกระทบของภาวะโลกร้อนของประชากรกลุ่มต่างๆ ภายในประเทศ ซึ่งนำไปสู่ข้อเสนอเพื่อแก้ไขแผนต่อไป นี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่าเมื่อนำเอาหลักธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนมันมีประโยชน์ในการสร้างมาตรการที่มีความยั่งยืน สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่ม และสะท้อนให้เห็นว่าหลักธรรมาภิบาลนั้นช่วยหนุนเสริมกำลังของภาคประชาสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาระดับโลกได้

กลับมาที่ประเทศไทยของเรา ก็มีการขับเคลื่อนมาตรการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และป้องกันภาวะโลกร้อนบนฐานธรรมาภิบาล ผ่านยุทธศาสตร์การดำเนินงานในแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564-2573 และแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558-2593 คำถามคือ เราได้นำหลักธรรมาภิบาลมาเป็นกรอบในมาตรการเหล่านี้ด้วยมากแค่ไหน

เรื่องนี้องค์การสหประชาชาติเคยได้ประเมินและให้ข้อเสนอแนะไว้ว่า หนึ่ง หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องส่งเสริมการมีส่วนของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียตั้งแต่การออกแบบมาตรการที่เหมาะสม ซึ่งจะเป็นรากฐานที่สำคัญที่จะช่วยให้มาตรการนั้นสะท้อนความเปราะบางของคนทุกกลุ่มจริง และสร้างความรู้สึกอยากมีส่วนร่วมของประชาชนจริงๆ และ สอง ประเทศไทยจะต้องมีมาตรการที่เข้มแข็งในการตรวจสอบและติดตาม และตามโปร่งใสในการดำเนินงานตามแผนฯ และยุทธศาสตร์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และที่สำคัญเกิดความคุ้มค่าสูงสุด เห็นแบบนี้แล้ว ผู้รับผิดชอบก็ควรจะได้รับไปพิจารณาเพิ่มเติมบ้าง

สุดท้ายนี้ผู้เขียนมองว่า หลักธรรมาภิบาลเป็นกรอบที่จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินนโยบายได้จริง หากรัฐบาลได้ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วม ความโปร่งใส และการมีการตรวจสอบและติดตามนโยบายที่จริงจัง ผู้เขียนเองก็หวังว่า ปัญหาสภาวะโลกร้อนจะไม่รุนแรงไปมากกว่านี้ และเราจะยังสามารถรักษาทรัพยากรที่มีอยู่ไปยังคนรุ่นต่อไปได้

เจริญ สู้ทุกทิศ HAND Social Enterprise

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:46 น. 'ทรัมป์'ฟาดอิสราเอล-อิหร่าน ซัดทั้งสองฝ่ายละเมิดดีลหยุดยิง สั่งนักบินกลับบ้านไปเดี๋ยวนี้
22:41 น. (คลิป) จัดหนัก! 'กัมพูชา' ศูนย์รวมโจรโลก! สั่งสอน! 'ฮุนเซน-ฮุนมาเนต' ปิดด่านทั้งหมด
22:36 น. เครือข่ายศิลปินปกป้องแผ่นดินไทยลุกฮือ! 'น้าหงา'นำทัพ จี้'นายกฯ'ลาออก หมดศรัทธารัฐบาล
22:25 น. เป็นสิทธิ์ ‘ฝ่ายค้าน’ ล็อกเป้าทันทียื่นซักฟอก ‘นายกฯ-รัฐบาล’
22:13 น. 'เพื่อนมหิดลเพื่อสังคม' แถลงการณ์จี้'แพทองธาร' ลาออกนายกฯ หวั่นชาติเสียหายหลายมิติ
ดูทั้งหมด
'ญี่ปุ่น'อัปเกรดพันธมิตร! เตรียมส่ง'ยุทโธปกรณ์'เสริมเขี้ยวเล็บไทย-7ชาติ
(คลิป) เอาแล้ว! 'พล.ท.ภราดร' ฟันโช๊ะ ได้เห็นอวสาน 2 ตระกูล ปม 'ไทย-กัมพูชา' แน่ๆ
'กัมพูชา'สั่งลงดาบ! เพิกถอนใบอนุญาต2สำนักข่าวดัง ฐานละเมิดจริยธรรม-กฎหมายสื่อ
วินาทีตัดสินใจของ'พีระพันธุ์' คือจุดเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย
กัมพูชาราคาน้ำมันพุ่ง เริ่มขาดแคลน 'พนักงานบ่อนปอยเปต'โอดบ่อนเตรียมปิดสิ้นเดือนนี้
ดูทั้งหมด
ดูหนังกันไหม..มายเดียร์
‘แพทองธาร’ออกไป-ออกไป!
อิสราเอลถล่มสถานีทีวีบ่งชี้ว่ายิวกลัวสื่อกว่าปรมาณูแต่นี้ไปโลกไม่มีที่ปลอดภัย
รัฐประหารไม่ใช่ว่าจะเลวร้ายทั้งหมด
กำพืด
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

(คลิป) จัดหนัก! 'กัมพูชา' ศูนย์รวมโจรโลก! สั่งสอน! 'ฮุนเซน-ฮุนมาเนต' ปิดด่านทั้งหมด

เป็นสิทธิ์ ‘ฝ่ายค้าน’ ล็อกเป้าทันทียื่นซักฟอก ‘นายกฯ-รัฐบาล’

ระทึก! แผ่นดินไหวขนาด4.8เขย่าหมู่เกาะนิโคบาร์ ห่างจากพังงาเพียง454กิโลเมตร

(คลิป) วิเคราะห์! 'รวมไทยสร้างชาติ' เข้า ไอ.ซี.ยู. จาก 1 แตกเป็น 2 จาก 2 แตกเป็น 3

เชื้อเพลิงฟอสซิล vs พลังงานสะอาด อะไรคือความสมดุลด้านพลังงาน

ผบ.ฉก.นย.ตราดส่งผู้ป่วยฉุกเฉินชาวกัมพูชา เข้าทำการรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อมนุษยธรรม

  • Breaking News
  • \'ทรัมป์\'ฟาดอิสราเอล-อิหร่าน ซัดทั้งสองฝ่ายละเมิดดีลหยุดยิง สั่งนักบินกลับบ้านไปเดี๋ยวนี้ 'ทรัมป์'ฟาดอิสราเอล-อิหร่าน ซัดทั้งสองฝ่ายละเมิดดีลหยุดยิง สั่งนักบินกลับบ้านไปเดี๋ยวนี้
  • (คลิป) จัดหนัก! \'กัมพูชา\' ศูนย์รวมโจรโลก! สั่งสอน! \'ฮุนเซน-ฮุนมาเนต\' ปิดด่านทั้งหมด (คลิป) จัดหนัก! 'กัมพูชา' ศูนย์รวมโจรโลก! สั่งสอน! 'ฮุนเซน-ฮุนมาเนต' ปิดด่านทั้งหมด
  • เครือข่ายศิลปินปกป้องแผ่นดินไทยลุกฮือ! \'น้าหงา\'นำทัพ จี้\'นายกฯ\'ลาออก หมดศรัทธารัฐบาล เครือข่ายศิลปินปกป้องแผ่นดินไทยลุกฮือ! 'น้าหงา'นำทัพ จี้'นายกฯ'ลาออก หมดศรัทธารัฐบาล
  • เป็นสิทธิ์ ‘ฝ่ายค้าน’ ล็อกเป้าทันทียื่นซักฟอก ‘นายกฯ-รัฐบาล’ เป็นสิทธิ์ ‘ฝ่ายค้าน’ ล็อกเป้าทันทียื่นซักฟอก ‘นายกฯ-รัฐบาล’
  • \'เพื่อนมหิดลเพื่อสังคม\' แถลงการณ์จี้\'แพทองธาร\' ลาออกนายกฯ หวั่นชาติเสียหายหลายมิติ 'เพื่อนมหิดลเพื่อสังคม' แถลงการณ์จี้'แพทองธาร' ลาออกนายกฯ หวั่นชาติเสียหายหลายมิติ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

อาจถึงตาย! ถ้าองค์กรไม่มีธรรมาภิบาล

อาจถึงตาย! ถ้าองค์กรไม่มีธรรมาภิบาล

15 ก.พ. 2566

ธรรมาภิบาลกับภาวะโลกร้อน

ธรรมาภิบาลกับภาวะโลกร้อน

16 ส.ค. 2565

รากฐานธรรมาภิบาลเริ่มจากความเสมอภาคทางเพศ

รากฐานธรรมาภิบาลเริ่มจากความเสมอภาคทางเพศ

30 มี.ค. 2565

ปราบโกง ลดช่องว่างกระบวนการยุติธรรมของคนกลุ่มเปราะบาง

ปราบโกง ลดช่องว่างกระบวนการยุติธรรมของคนกลุ่มเปราะบาง

6 ต.ค. 2564

ต้านคอร์รัปชัน สร้าง ‘Pride’

ต้านคอร์รัปชัน สร้าง ‘Pride’

26 พ.ค. 2564

ธรรมาภิบาลทางออกพื้นที่ปลอดภัยในโรงเรียน

ธรรมาภิบาลทางออกพื้นที่ปลอดภัยในโรงเรียน

21 ต.ค. 2563

‘คอร์รัปชัน’ ภัยแฝงความเหลื่อมล้ำทางเพศ

‘คอร์รัปชัน’ ภัยแฝงความเหลื่อมล้ำทางเพศ

12 ส.ค. 2563

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved