6 พ.ค.58 เฟสบุ๊ค Extra Sunday ได้โพสต์ภาพด้านหน้าของธนาคารแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองเสียมราฐ (หรือเสียมเรียบ) ของประเทศกัมพูชา โดยสีและสัญลักษณ์ คล้ายกับ ธนาคารพาณิชย์ของไทย แต่มีตัวหนังสือเป็นภาษากัมพูชา และภาษาอังกฤษ ระบุว่า "Cambodian Commercial Bank"
ต่อมา แอดมิน เปิดเผยว่า แท้จริงแล้ว ภาพที่ปรากฎนั้นคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ "Siam Commercial Bank" (SCB) นั่นเอง
ทั้งนี้ แอดมิน ระบุว่า ภาพที่ปรากฎเห็นนั้น คือการแบรนดิ้งของ SCB ในประเทศกัมพูชา ที่ต้องการให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย SCB จึงใช้วิธีลดความเป็น "ต่างชาติ" ลงด้วยการเปลี่ยนชื่อแบรนด์จาก "สยาม" เป็น "กัมพูชา" ซึ่งแอดมินมองว่า ไม่ใช่เรื่องเล็ก สำหรับแบรนด์ใหญ่ๆ อย่าง SCB ที่ยอมเปลี่ยนจาก "สยาม" เป็น "กัมพูชา" เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจ จะคุ้มค่ากันกับชื่อเสียงที่สะสมมาอย่างยาวนาน
จำได้มั้ยคะว่านี่คือธนาคารอะไร?
ใช่ค่ะ ทั้งสัญลักษณ์ สี ฟ้อนท์ และทุกสิ่งอย่าง
บ่งบอกเราว่านี่คือธนาคารไทยพานิชย์ของไทยเรานี่เอง
แต่ที่น่าสนใจคือชื่อค่ะ ที่เปลี่ยนจาก
"Siam Commercial Bank"
ไปเป็น "Cambodian Commercial Bank"
แอดมินเพิ่งมีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวเมืองเสียมราฐ (หรือเสียมเรียบ)
เมืองแห่งนครวัดของประเทศกัมพูชามาค่ะ
เสียมราฐเติบโตไปมากค่ะ มีนักท่องเที่ยวเยอะขึ้น
และมีนักลงทุนต่างชาติหลากหลายสัญชาติ
ทั้งรายย่อยรายใหญ่ไปลงทุนมากขึ้น
แน่นอนว่าหนึ่งในธุรกิจสำคัญที่มีโอกาสเติบโตสูง
ไปพร้อมกับการเติบโตของการท่องเที่ยว
ที่มาคู่กับเม็ดเงิน คือธุรกิจด้านการเงิน เช่น ธุรกิจธนาคาร
แต่สิ่งที่แอ๊ดมินจะนำมาเล่าให้ฟังคือเรื่อง
การทำแบรนดิ้งของ SCB ในประเทศกัมพูชาค่ะ
สยาม หรือประเทศไทย มีประวัติศาสตร์ร่วม
กับประเทศกัมพูชามาอย่างยาวนาน
เราเป็นเพื่อนบ้านกัน เราช่วยเหลือกัน
แต่เราก็ทะเลาะกันเป็นประจำด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การจะทำให้คนไว้ใจแบรนด์ธนาคาร
จนยอมทำธุรกรรมทางการเงินได้นั้น
ย่อมมีหลายปัจจัย
หลายครั้งปัจจัยหลักที่ทำให้ "คน" ตัดสินใจ
เลือกใช้หรือไม่ใช้บริการแบรนด์ธนาคาร
ก็เป็นเรื่องของอารมณ์ล้วนๆ
ดังนั้น เพื่อสร้างความสบายใจ
และเพื่อลดทอนอคติที่ลูกค้าอาจมี
และเพิ่มความรู้สึกร่วมและความเป็นกลุ่มก้อนเดียวกับลูกค้า
SCB จึงใช้วิธีลดความเป็น "ต่างชาติ" ลง
ด้วยการเปลี่ยนชื่อแบรนด์จาก "สยาม"
เป็น "กัมพูชา"
นี่ไม่ใช่เรื่องเล็กนะคะ
โดยเฉพาะกับแบรนด์ใหญ่ๆ อย่างนี้
เพราะชื่อเสียงที่สะสมมา
ไม่ใช่สิ่งที่สร้างขึ้นใหม่ได้ง่ายๆ
(ถ้าเราลองสเกตุธนาคารต่างประเทศในบ้านเรา
ก็ไม่มีใครเปลี่ยนชื่อกัน
อย่างมากก็ใช้ตัวย่อแทนชื่อเต็ม)
แต่ก็คงเพราะเหตุนี้ SCB จึงเปลี่ยนแต่ชื่อ
โดยที่ยังคงใช้สี สัญลักษณ์ และเอกลักษณ์อื่นๆ
ที่บ่งบอกความเป็น SCB อย่างเต็มที่
นี่เป็นหลักฐานว่าการทำแบรนดิ้งมีความสำคัญมาก
เพราะมันคือเครื่องมือสำหรับการสื่อสาร
มันคือการสร้างจุดเชื่อโยง
ระหว่างแบรนด์และกลุ่มเป้าหมาย
ผ่านการบ่งบอกตัวตนของแบรนด์
-------------------
แอ๊ดมินเอิน
กัลยกร นาคสมภพ
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ The Siam Commercial Bank Public Company Limited (SCB) เป็นธนาคารไทยแห่งแรกในประเทศ ก่อตั้งโดยพระบรมราชานุญาต ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ.2449 ปัจจุบันมีสาขากว่า 1,270 สาขา
กิจการของธนาคารเริ่มต้นขึ้นในนาม “บุคคลัภย์” (Book Club) ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2447 ก่อตั้งโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เนื่องจากขณะนั้นทรงเชื่อว่า สยามประเทศมีความจำเป็น ต้องมีระบบการเงินธนาคาร เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ หลังจากบุคคลัภย์ขยายตัวทางธุรกิจขึ้นเป็นลำดับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานอำนาจพิเศษ ให้จัดตั้ง "บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด" เพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์อย่างเป็นทางการ นับแต่วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
ขอบคุณข้อมูล : วิกิพีเดีย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี