วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
'กกร.'ประเมินพิษโควิดทุบศก.พินาศล้านล้านบาท คาดตกงานกว่า 7 ล้านคน

'กกร.'ประเมินพิษโควิดทุบศก.พินาศล้านล้านบาท คาดตกงานกว่า 7 ล้านคน

วันพฤหัสบดี ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : ศก. โควิด-19
  •  

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ว่าที่ประชุมยังไม่ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) ปี 2563 เพื่อรอประเมินผลการดำเนินมาตรการต่างๆที่รัฐบาลประกาศออกมาใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนก่อนพิจารณาปรับลดเป้าหมายในการประชุมเดือนพฤษภาคมอีกครั้ง ปัจจุบันยังคงคาดการณ์จีดีพีปีนี้ที่ 1.5-2%การส่งออกติดลบ 5-10% จากเดิมคาดการณ์เลวร้ายสุดติดลบ 2% เงินเฟ้อติดลบ 1.5% จากเดิม0-0.5% แม้การระบาดของเชื้อโควิด-19 จะยุติลงได้ภายในช่วงครึ่งปีแรก แต่การฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ก็คงต้องใช้เวลากว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ

“ยอมรับจีดีพีปีนี้คงติดลบแน่นอนถึงแม้ภาครัฐจะมีมาตรการดูแลแต่โดยรวมก็อาจไม่สามารถทดแทนผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อภาคธุรกิจและประชาชนจากการขาดรายได้และการหยุดหรือปิดกิจการ โดย กกร.ประเมินความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทยจะมีมูลค่าสูงถึงหลักล้านล้านบาท และจนถึงเดือนมิถุนายน คาดจะมีคนตกงาน 7 ล้านคน ในจำนวนนี้ มีประมาณ6 ล้านคน ที่มีรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือน จากแรงงานทั้งระบบของประเทศมี 38 ล้านคน”นายสุพันธุ์กล่าว


โดยเฉพาะศูนย์การค้าและค้าปลีกคาดจะตกงาน 4.2 ล้านคน ธุรกิจก่อสร้างคาดตกงาน 1 ล้านคน กิจการโรงแรมคาดตกงาน 9.78 แสนคน ร้านอาหารคาดตกงาน 2.5 แสนคน สปา/ร้านนวดนอกระบบคาดตกงาน 2 แสนคน ธุรกิจสิ่งทอคาดตกงาน 2 แสนคน เป็นต้น แต่หากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ลากยาวจนถึงปลายปีนี้จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ค้าปลีกค้าส่งรายใหญ่แย่ลงในระยะข้างหน้า

นายสุพันธุ์กล่าวว่า กกร.ขอติดตามประเมินผลมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระยะที่ 3 จากการออกพระราชกำหนด(พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 1 ล้านล้านบาท และให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ปล่อยสินเชื่อ/พักชำระหนี้ วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาทเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนและผู้ประกอบการ รวมถึงดูแลเศรษฐกิจและสังคมก่อนว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร เบื้องต้นมองว่าน่าจะทำให้เศรษฐกิจปีนี้ติดลบน้อยลง

กกร.ขอเสนอมาตรการช่วยเหลือแรงงานสำหรับพนักงานที่สมัครใจหยุดงานโดยไม่รับเงินเดือนซึ่งไม่มีสิทธิ์ขอรับเงินเยียวยา 5,000 บาท จากภาครัฐนั้นโดยต้องการให้สำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินช่วยเหลือ 50% ของเงินเดือนรวมทั้งขอเสนอให้รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือแรงงานที่มีเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท ยังควรได้รับเงินเดือน 75% แบ่งเป็นสำนักงานประกันสังคมจ่าย 50% และนายจ้างจ่าย 25% โดยให้บริษัทที่ได้รับผลกระทบปฏิบัติตามมาตรการเหล่านี้สามารถนำค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือน/ค่าจ้างแรงานมาหักภาษีได้ 3 เท่า

นอกจากนี้ขออนุญาตให้มีการจ้างงานเป็นรายชั่วโมง เพื่อป้องกันปัญหาการเลิกจ้างแรงงาน โดยให้คิดค่าแรงเป็นรายชั่วโมง ชั่วโมงละ 40-41 บาทต่อการจ้างงานไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง และไม่เกิน 8 ชั่วโมง จากค่าแรงขั้นต่ำปัจจุบันอยู่ที่ 325 บาทต่อวัน

ในส่วนของมาตรการดูแลผู้ประกอบการขอให้ภาครัฐออกคำสั่งปิดกิจการโรงแรม หรืองานบริการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เพื่อให้พนักงานเข้าข่ายกิจการที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งปิดกิจการจากรัฐบาล และขอให้ปรับลดค่าไฟฟ้าช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการเพิ่มเป็น 5% จาก 3% รวมทั้งให้รัฐจัดสรรงบประมาณการจ้างงาน ซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในประเทศในราคาที่เหมาะสมโดยเฉพาะสินค้าที่ต้องใช้ในสถานการณ์โควิด-19 และต่อเนื่องในระยะยาวหลังเข้าสู่ภาวะปกติ พร้อมให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) ค้ำประกันวงเงินกู้เพิ่มเป็น 80% จาก 40%

นายกลินท์ สารสิน ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการโรงแรมไทยต้องการให้รัฐบาลประกาศปิดการให้บริการโรงแรมทั้งประเทศ ยกเว้นโรงแรมที่ต้องการจะเปิดเพื่อรองรับบุคคลากรทางการแพทย์ หรือกักกันตัวผู้ที่มีความสุ่มเสี่ยงจะติดเชื้อโควิด -19 เพราะหากต้องปิดกิจการด้วยตนเอง พนักงานก็จะไม่ได้รับความช่วยเหลือจากประกันสังคม ซึ่งเจ้าของกิจการเองก็ไม่มีความสามารถแบกรับต้นทุนในการดูแลพนักงานได้

“ปัจจุบันมีประมาณ 10 จังหวัด ที่รัฐบาลประกาศให้ปิดกิจการไปแล้ว แต่ยังมีโรงแรมอีกจำนวนมากที่ยังต้องเปิดกิจการอยู่โดยที่ไม่มีผู้เข้าไปใช้บริการ หากโรงแรมในจังหวัดใดที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ประกาศปิดก็ควรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากประกันสังคมด้วย”นายกลินท์ กล่าว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

กระตุก‘รมว.วัฒนธรรม’ ปมคืนโบราณวัตถุให้เขมร อย่าโยงประเด็นการเมือง

โรงเรียนปิยมาส สืบสานพระราชปณิธาน'ในหลวงรัชกาลที่ ๙' ชวนนักเรียนลงแขกดำนา

‘ชูศักดิ์’รับหารืออำนาจ‘รักษาการนายกฯ’จริง โยนถามเลขากฤษฎีกาปมยุบสภา-ตั้งรมต.ใหม่

'อิ๊งค์'ยิ้มแย้ม เข้าทำเนียบ ร่วมประชุมคกก.จัดงานเฉลิมพระเกียรติ ในฐานะ รมว.วธ.

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved