วันพฤหัสบดี ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
‘ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์’ แหล่งศึกษาธรรมชาติ-ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

‘ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์’ แหล่งศึกษาธรรมชาติ-ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

วันศุกร์ ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag :
  •  

“ปตท.” สนับสนุนการ “ปลูกป่า” เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ผืนแผ่นดินไทยมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9” ในปี 2537 โดยอาสาปลูกป่า 1 ล้านไร่ทั่วประเทศ จากนั้นยังต่อยอดด้วยการจัดตั้ง “สถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท.” ดำเนินภารกิจในการฟื้นฟูป่าและระบบนิเวศ ส่งเสริมพัฒนาเครือข่ายเพื่อดูแลป่าอย่างยั่งยืน

และเพื่อเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ รวมถึงแสดงผลสำเร็จเผยแพร่สู่สาธารณชน ปตท. จึงได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ทั้งหมด 3 แห่ง โดยได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ จัดตั้งโครงการ “ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี” จ.ประจวบคีรีขันธ์ และจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ขึ้นบนที่ดินของ ปตท. อีก 2 แห่ง ได้แก่  “ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง” กรุงเทพฯ และ “ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์” จ.ระยอง 


“วังจันทร์วัลเลย์” ต.ป่ายุบใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง พื้นที่แห่งนี้นอกจาก ปตท. จะมุ่งพัฒนาให้เป็น “ศูนย์กลางนวัตกรรม” ส่งเสริมอุตสาหกรรมแห่งอนาคตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยแล้ว ยังได้จัดตั้ง “ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์” ศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการป่าครบวงจร เป็นพื้นที่สาธิตการปลูกป่าและวิจัยการฟื้นฟูป่าหลากหลายรูปแบบ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นภาคตะวันออกและพันธุ์ไม้หายากของไทย

รวมถึงเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เรื่องการปลูกป่าและระบบนิเวศป่าไม้ ให้แก่นิสิต-นักศึกษา นักเรียน และประชาชนผู้สนใจ อีกทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งใหม่ที่สำคัญของภาคตะวันออก ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดศูนย์ฯ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 และได้เปิดให้บริการแก่ประชาชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ มีเนื้อที่รวม 351.35 ไร่ แบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1.พื้นที่อาคารเพื่อการเรียนรู้และเส้นทางศึกษาธรรมชาติ พื้นที่อาคาร 2 ชั้น มีลักษณะเหมือนบ้านต้นไม้ โดยอาคารชั้นบน ประกอบด้วย 2 โซนหลัก ได้แก่ โซนนิทรรศการ ที่แบ่งเป็นส่วนต้อนรับ ลงทะเบียนเยี่ยมชม ห้องชมวีดิทัศน์แนะนำโครงการ ห้องนิทรรศการด้านป่าไม้ การปลูกป่าของ ปตท. ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ และ โซนสำนักงาน ที่มีห้องประชุมและห้องสำนักงาน 

ส่วนชั้นล่าง แบ่งเป็นพื้นที่จัดสวนแบบ Topical และเป็นโถงโล่งเพื่อจัดกิจกรรมต่างๆ และเส้นทางศึกษาธรรมชาติภายนอกอาคาร (Outdoor) เป็นลักษณะทางเดินประมาณ 1 ถึง 2.5 กิโลเมตร โดยจะเดินเยี่ยมชมรอบจุดเรียนรู้ ทั้งบ่อน้ำ แปลงนา แปลงปลูกผัก แปลงปลูกป่า ห้องเรือนเพาะชำ 2.พื้นที่บ่อน้ำและระบบบริหารจัดการน้ำ ดำเนินการออกแบบการจัดการน้ำในพื้นที่ โดยศึกษาลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพของดิน ข้อมูลปริมาณน้ำฝนบริเวณพื้นที่ในรอบ 30 ปี เส้นชั้นความสูงของพื้นที่ ต.ป่ายุบใน

ดังนั้น การจัดการน้ำ จึงมุ่งเน้นใช้แนวทางธรรมชาติ เช่น การใช้หินทิ้ง สร้างฝายแม้วบริเวณพื้นที่ปลูกป่าและการใช้ร่องน้ำธรรมชาติในการผันน้ำ มีการออกแบบการสร้างอาคารรับน้ำ/สลายพลังงาน ประตูน้ำและฝายน้ำล้น เพื่อช่วยในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ่อน้ำและพื้นที่โครงการ รวมถึงช่วยควบคุมการชะล้าง พังทลายของดินจากน้ำไหลบ่าหน้าดิน ช่วยลดความเร็วของกระแสน้ำ น้ำไหล เร็วและแรง ในกรณีเกิดฝนตกหนัก เพราะพื้นที่โครงการมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายสูงในช่วงฤดูน้ำหลาก (ความเร็วน้ำ 16 ลบ.ม./วินาที) เพราะมีชั้นหินขนาดใหญ่ และเนื้อดินเป็นดินทราย ทำให้ยากต่อการขุดร่องน้ำตามธรรมชาติ

โดยระบบการจัดการน้ำดังกล่าว สามารถผันน้ำราว 10% ของปริมาณน้ำฝนทั้งหมดในพื้นที่ผ่านคลองขุนอินทร์ ลงสู่บ่อน้ำขนาดเล็กและใหญ่ จำนวน 8 บ่อ ที่กระจายทั่วพื้นที่เพื่อช่วยรักษาและกระจายความชุ่มชื้นให้กับแปลงปลูกป่า และพื้นที่โครงการส่วนอื่นๆ ทุกแปลงในระยะเริ่มต้น ช่วยสร้างภูมิทัศน์ที่สวยงาม และทำให้ระบบนิเวศน์มีความเหมาะสมที่จะฟื้นตัวกลับมา ที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย สามารถดำรงชีวิตได้อย่างสมดุลอีกด้วย

และ 3.พื้นที่ป่าปลูก พัฒนาสู่งานวิจัย เพื่อการเรียนรู้ บริเวณนี้ปลูกป่าหลากหลายรูปแบบ โดยสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. ร่วมมือกับ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกป่าเชิงนิเวศ วางแผนพัฒนาให้เป็นพื้นที่ต้นแบบเพื่อการเรียนรู้ถึงกระบวนการฟื้นฟูป่า 3 ลักษณะ ได้แก่ พื้นที่ป่าคาร์บอนต้นแบบ (Forest Carbon Model Zone) พื้นที่ฟื้นฟูป่าธรรมชาติและมหัศจรรย์พันธุ์ไม้ (Forest Restoration Zone Miracle of Plans) และพื้นที่วิจัยรูปแบบการปลูกฟื้นฟูป่า (Forest Restoration Research Zone)

  ในปี 2560 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของแปลงปลูกป่าของศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ของแปลงปลูกป่าเพื่อการวิจัย โดยสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. พบว่า อัตราการรอดตายเฉลี่ยมากกว่า 80%  ปริมาณการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์รวม 1,260 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบเท่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของคนประมาณ 314.8 คน (เฉลี่ย 4 ตันคาร์บอนไดออกไซด์/คน/ปี) หรือชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ของรถยนต์ส่วนบุคคลได้ 41 คัน ปลดปล่อยก๊าซออกซิเจนสู่ชั้นบรรยากาศ 1,000 ตันออกซิเจนเทียบเท่าหรือสร้างลมหายใจให้มนุษย์ 203 คน

ซึ่งการดำเนินงานที่เกิดผลดีเช่นนี้เอง ทำให้ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ ได้รับรางวัลเกียรติยศทั้งในประเทศ ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รับการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ ภายใต้โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย Thailand Voluntary Emission Reduction ; T-VER) ในสาขาป่าไม้และการเกษตร ภายใต้โครงการปลูกป่าอย่างยั่งยืนของศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ โดยสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2561 จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ครั้งที่ 13 ประจำปี 2564 หรือรางวัลกินรี สาขาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ถือเป็นรางวัลรับรองคุณภาพสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว ด้วยมาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม

และระดับนานาชาติ ได้แก่ “รางวัล IFLA AAPME Awards 2018 - Resilience by Design” การประกวดแบบภูมิสถาปัตยกรรมระดับนานาชาติ ในระดับรองจากสูงสุด (Award of Excellence) ประเภท “การพัฒนาหรือสร้างสรรค์แหล่งที่อยู่ ความหลากหลายทางชีวภาพ และสัตว์ป่า” (Wildlife, Biodiversity, Habitat Enhancement or Creation)  จากสมาพันธ์ภูมิสถาปนิกนานาชาติ  International Federation of Landscape Architects (IFLA) และ “รางวัล YUAN YE AWARD 2018 ในระดับ TOP AWARD” ในประเภท (Award category) Municipal Landscape ในงาน YUAN YE Award international competition จาก Yuan-ye Award international Competition Organizing Committee ประเทศจีน ในปี 2561

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • โรงซ่อมถังก๊าซหุงต้ม ปตท. คว้าใบรับรองกระบวนการซ่อมบำรุงถังตามมอก.151 รายแรกของไทย โรงซ่อมถังก๊าซหุงต้ม ปตท. คว้าใบรับรองกระบวนการซ่อมบำรุงถังตามมอก.151 รายแรกของไทย
  • 33 ปี EGCO Group เร่งเครื่องลงทุน เพิ่มกำลังผลิตใหม่ในธุรกิจไฟฟ้า 33 ปี EGCO Group เร่งเครื่องลงทุน เพิ่มกำลังผลิตใหม่ในธุรกิจไฟฟ้า
  • เดี๋ยวค่อยเติม! พรุ่งนี้น้ำมัน\'เบนซิน\'ลดราคา \'ดีเซล\'คงเดิม เดี๋ยวค่อยเติม! พรุ่งนี้น้ำมัน'เบนซิน'ลดราคา 'ดีเซล'คงเดิม
  • EnergyLIB ร่วมมือกับ ICBCTL มอบสินเชื่อระบบโซลาร์เซลล์ EnergyLIB ร่วมมือกับ ICBCTL มอบสินเชื่อระบบโซลาร์เซลล์
  • SCGC เผยกลยุทธ์เชิงรุก เร่งพัฒนาสินค้า HVA และ Green Polymer รุดรับตลาดปิโตรเคมี SCGC เผยกลยุทธ์เชิงรุก เร่งพัฒนาสินค้า HVA และ Green Polymer รุดรับตลาดปิโตรเคมี
  • กลุ่ม ปตท. ผนึกกำลังศึกษาการจัดหาแอมโมเนียคาร์บอนต่ำ กลุ่ม ปตท. ผนึกกำลังศึกษาการจัดหาแอมโมเนียคาร์บอนต่ำ
  •  

Breaking News

'จางม่านอวี้'จาก'นางงาม'สู่ 'นางเอกในฝันแห่งยุค 90'ในผลงานคลาสสิกสุดล้ำ'IRMA VEP'

กำลังใจ 3 ป.โทรหา'ลุงป้อม' สานสัมพันธ์แน่นแฟ้นไม่เปลี่ยน

ก.เกษตรฯผลักดันสินค้าเกษตรลดคาร์บอน

MEA ลงนาม MOU กับ BPC หน่วยงานการไฟฟ้า’ภูฏาน’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved