จากกรณีที่อธิบดีกรมศุลกากรแถลงข่าวจับกุมสินค้าประเภทท่อเหล็ก 16,443 ชิ้น น้ำหนัก 481,490 กิโลกรัม ซึ่งผู้ส่งออกทุจริตฉ้อฉลในการขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ทวิ โดยใช้กลวิธีวนสินค้าที่อ้างว่าเป็นของที่ตนผลิตเพื่อส่งออกและนำสินค้ารายเดียวกันกลับเข้ามาเพื่อส่งออกไปต่างประเทศและตัดบัญชีสินค้าที่นำเข้าตามมาตรา 19 ทวิอีกเพื่อขอคืนอากรในภายหลังรวมมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 120 ล้านบาท เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมานั้น
ส่วนกำกับดูแลผู้เสียภาษี 35 กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ได้รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง รายบริษัท สามชัย สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 19 ก.ค.2564 ที่ผ่านมาว่า ตามที่ส่วนกำกับดูแลผู้เสียภาษี 35 ได้รับข้อมูลการแถลงข่าวของกรมศุลกากร กรณีได้ทำการจับกุมสินค้าประเภทเหล็กรายบริษัท สามชัย สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ที่ด่านศุลกากรมุกดาหาร เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2559 และกล่าวหาว่า บริษัทฯทุจริตในการขอคืนเงินภาษีอากรตามมาตรา 19 ทวี แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 โดยใช้วิธีวนสินค้าที่อ้างว่าเป็นของตนผลิตเพื่อส่งออกและนำสินค้าชนิดเดียวกันนั้นกลับเข้ามาเพื่อส่งออกไปต่างประเทศช้ำไปมานั้น ส่วนกำกับดูแลผู้เสียภาษี 35 ได้ขออนุมัติดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว ตามหนังสือเชิญพบเลขที่ กค 1722/ภญ/12526 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2559 เพื่อให้บริษัทฯมาชี้แจงข้อเท็จจริงและส่งมอบเอกสารสำหรับเดือนภาษีมกราคม 2559 - เดือนภาษีพฤษภาคม 2559 ซึ่งเป็นเดือนภาษีที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลการแถลงข่าวของกรมศุลกากร ปรากฎผลการตรวจสอบนั้น
จากการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2559 - เดือนภาษีพฤษภาคม 2559 ผลการตรวจสอบพบว่า บริษัท สามชัย สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) มีการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศจริง โดยมีเอกสารหลักฐานประกอบรายการครบถ้วน ตามคำสั่งกรมสรรพากร์ที่ ป.99/2541 เรื่อง การส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ จึงได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 จากการส่งออกสินค้าดังกล่าว แต่ผลการตรวจสอบพบประเด็นความผิด ซึ่งไม่มีนัยสำคัญ ดังนี้
1. พบประเด็นความผิดกรณีบริษัทฯ ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกำหนดให้ใช้ราคา F.O.B.เป็นฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าโดยการส่งออก และไม่ปฏิบัติตามมาตรา 9 และมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฏากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.132/2548 ที่กำหนดให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการลงรายงานภาษีขาย แต่ไม่กระทบกับภาษีที่ต้องชำระ และได้แนะนำให้บริษัทฯ ปรับปรุงให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากรแล้ว
2.กรณีใบขนสินค้าขาออกเลขที่ A0231590501569 ที่กรมศุลกากรจับกุม เป็นสินค้าประเภทท่อเหล็กดำกลมเชื่อมตะเข็บ โดยในปัจจุบันสินค้ายังอยู่ที่ด่านศุลกากรมุกดาหาร
3.กรณีการวนสินค้าที่ส่งออกและนำเข้าสินค้าชนิดเดียวกันนั้นกลับเข้ามาในประเทศ เพื่อส่งออกไปต่างประเทศช้ำไปมาตามข้อมูลข่าว ผลการตรวจสอบพบว่า บริษัทฯ มีมูลค่าส่งออกรวม 5 เดือนภาษี ตามข้อมูลของกรมศุลกากร รวมจำนวน 175,166,220.00 บาท และมีมูลค่าตามใบขนสินค้าขาออกเลขที่ A0231590501569 ซึ่งเป็นฉบับตามข้อมูลข่าวที่ถูกจับกุมในเดือนพฤษภาคม 2559 จำนวน 6,362,246.25 บาท แต่บริษัทฯ มีการซื้อมาจากบริษัท เหล็กฟ้าใส จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการตามข้อมูลข่าว มูลค่ารวม 5 เดือนภาษีเพียงจำนวน 4,312,697.25 บาท และไม่พบว่าบริษัทฯมีการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการตามข้อมูลข่าวรายอื่น ในชั้นการตรวจสอบในขณะนี้ จึงไม่พบว่าบริษัทฯ มีการวนสินค้าที่ส่งออกและนำกลับเข้ามาในประเทศเพื่อส่งออกซ้ำไปมาแต่อย่างใด อ่านรายละเอียด file:///C:/Users/PRAPAN/Downloads/หนังสือสรรพากร.pdf
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี