นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงข่าวภาวะการค้าระหว่างประเทศ-การค้าชายแดนและผ่านแดน เดือนมกราคม 2566 โดย การส่งออกของไทยในเดือนมกราคม 2566 มีมูลค่า 20,249.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (700,127 ล้านบาท) หดตัว 4.5% หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัยหดตัว 3.0% และการส่งออกของไทยหดตัวน้อยลงจากเดือนก่อนหน้า และยังอยู่ในระดับที่ดีกว่าหลายประเทศในเอเชีย โดยตลาดส่งออกของไทยหลายตลาดกลับมาขยายตัว ได้แก่ สหภาพยุโรป ลาตินอเมริกา อินเดีย แอฟริกา และอาเซียน ท่ามกลางผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและความผันผวนของค่าเงินบาท มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนมกราคม 2566 การส่งออกมีมูลค่า 20,249.5 ล้านเหรียญสหรัฐหดตัว 4.5% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการนำเข้ามีมูลค่า 24,899.1 ล้านเหรียญสหรัฐขยายตัว 5.5% ดุลการค้าขาดดุล 4,649.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท มีมูลค่า 700,127 ล้านบาท หดตัว 0.9% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการนำเข้ามีมูลค่า 871,430 ล้านบาท ขยายตัว9.4% ดุลการค้าขาดดุล171,303 ล้านบาท
การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรหดตัว 2.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน แต่ยังมี
สินค้าสำคัญที่ขยายตัวดีได้แก่ ข้าว ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง ผลไม้สด โกโก้และของปรุงแต่ง ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัวอาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป น้ำตาลทราย ไก่แปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม หดตัว 5.4% (YoY) หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัวดีอาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยางอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) เม็ดพลาสติกเคมีภัณฑ์
การส่งออกไปยังตลาดสำคัญในภาพรวมยังคงหดตัวต่อเนื่องสอดคล้องกับภาวะการชะลอตัวของภาคการผลิตโลก ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่างๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 5.3 หดตัวในสหรัฐฯ ร้อยละ 4.7 จีนร้อยละ 11.4 ญี่ปุ่น ร้อยละ 9.2 CLMV ร้อยละ 11.1ขณะที่อาเซียน (5) และสหภาพยุโรป (27) กลับมาขยายตัวร้อยละ 2.3 และร้อยละ 2.2 ตามลำดับ (2) ตลาดรอง หดตัวร้อยละ 3.1 โดยหดตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 4.3 ทวีปออสเตรเลียร้อยละ 7.2 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 46.4 ขณะที่ขยายตัวในตลาดตะวันออกกลางร้อยละ 23.7 ทวีปแอฟริกา ร้อยละ 14.7 ลาตินอเมริการ้อยละ 1.5 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 6.1 (3) ตลาดอื่นๆ ขยายตัว ร้อยละ 17.4 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 18.6
ทั้งนี้หากมองในภาพรวมของตลาดส่งออกสำคัญ พบว่าตลาดสหรัฐฯ หดตัว 4.7% (หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) ตลาดจีน หดตัว 11.4% (หดตัวต่อเนื่อง 8 เดือน) ตลาดญี่ปุ่น หดตัว 9.2%(หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) ตลาดอาเซียน(5 ประเทศ) ขยายตัว 2.3% (กลับมาขยายตัวในรอบ 4 เดือน) ตลาด CLMV หดตัว 11.1%(หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน) ตลาดสหภาพยุโรป(27) กลับมาขยายตัว 2.2% ตลาดเอเชียใต้ หดตัว4.3% (หดตัวต่อเนื่อง 6 เดือน) ตลาดทวีปออสเตรเลีย หดตัว 7.2% หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน)ตลาดตะวันออกกลาง ขยายตัว 23.7% (ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน) ตลาดทวีปแอฟริกา ขยายตัว 14.7% (กลับมาขยายตัว ในรอบ 6 เดือน) ตลาดลาตินอเมริกากลับมาขยายตัว 1.5% ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS หดตัว 46.4% (หดตัวต่อเนื่อง 11 เดือน) ตลาดสหราชอาณาจักร ขยายตัว6.1% (ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน)
ส่วนแนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไปกระทรวงพาณิชย์ประเมินว่าการส่งออกของไทยยังคงได้รับแรงกดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
คู่ค้าสำคัญที่ลดการบริโภคจากต้นทุนค่าครองชีพที่สูงแม้ว่าภาวะเงินเฟ้อ จะเริ่มชะลอลงแต่ก็ยังอยู่ในระดับสูงนอกจากนี้บรรยากาศการค้าโลกที่ยังตึงเครียด จากการกีดกันทางการค้า รวมถึงปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่มีความยืดเยื้อและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นกระทบต่อการส่งออกของไทย อย่างไรก็ดีกระทรวงพาณิชย์ยังคงทำงานอย่างเต็มที่ในการผลักดันการส่งออกสินค้าและสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าของคนไทยออกไปสู่ตลาดโลก รวมทั้งอำนวยความสะดวกและสร้างโอกาสทางการค้าผ่านความร่วมมือทางการค้าใหม่ๆ เพื่อให้ไทยเป็นแหล่งดึงดูดการค้าการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น