วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
'เจิมศักดิ์'ชำแหละราคาน้ำตาล ชี้ผู้บริโภคในประเทศเสียเปรียบตลอดกาล

'เจิมศักดิ์'ชำแหละราคาน้ำตาล ชี้ผู้บริโภคในประเทศเสียเปรียบตลอดกาล

วันพุธ ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566, 14.48 น.
Tag : Thai Pbs ราคาน้ำตาลแพง เจิมศักดิ์ อ้อย.ชาวไร่อ้อย รายการเศรษฐกิจติดบ้าน
  •  

"เจิมศักดิ์"ผู้บริโภคในประเทศเสียเปรียบตลอดไม่แฟร์ ราคาตลาดโลกสูงต่ำก็กินน้ำตาลราคาแพง ยาวนานตั้งแต่ปี 26 ชี้ถึงเวลารัฐบาลต้องเก็บภาษีส่งออกเพื่อกดราคา น้ำตาลในประเทศให้ต่ำลง และเอาไว้ช่วยผู้ส่งออกเวลาราคาน้ำตาลโลกตก

เมื่อวันที่ 29 พ.ย.66 รศ.ดร.เจิมศักดิ์  ปิ่นทอง นักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญการตลาดสินค้าเกษตร ได้ร่วมพูดคุยใน"รายการเศรษฐกิจติดบ้าน" ทางสถานีโทรทัศน์ Thai Pbs ในหัวข้อ"ราคาน้ำตาล หวานอมขมกลืนของใคร"


โดยดร.เจิมศักดิ์ กล่าวในรายการตอนหนึ่งว่า น้ำตาลเป็นสินค้า ที่มีตลาดกว้างมากในตลาดโลก หากปีใดเกิดภัยแล้งภัยพิบัติ ก็จะยกราคาสูงขึ้น แต่หากปีใดผลิตได้ จำนวนมาก ราคาจะลง ปีนี้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกยกตัวสูงขึ้นเยอะนั้น ถ้าตอบแบบเศรษฐ ศาสตร์ ก็ต้องบอกว่าราคาน้ำตาลภายในประเทศควรปล่อยให้ราคาสูงตาม แต่ว่าอ้อยและน้ำตาลมีความพิสดารเมื่อดูจากอดีตยามที่ราคาน้ำตาลในตลาดโลกตก  ผู้บริโภคในประเทศก็กินน้ำตาลในราคาสูง แต่พอราคาในต่างประเทศยกตัวสูงขึ้นเราก็ทำท่าจะกินน้ำตาลในราคาที่สูงเหมือนกัน

" ต้องบอกว่าคนบริโภคในประเทศนี้ใจดีมากราคาสูงตั้งแต่ในอดีตจนปัจจุบัน เผลอๆอาจจะในอนาคตซึ่งราคาไม่ได้เป็นไปตามตลาดโลก"

เมื่อถามว่าไทยเป็นประเทศที่ผลิตน้ำตาลส่งออกจำนวนมากในโลกทำไมคนไกลราคาจึงแปลกๆนั้น  ดร.เจิมศักดิ์ กล่าวว่าตัวละครสำคัญมี 2 ตัวคือชาวไร่อ้อย ที่ปลูกอ้อยกับโรงงานน้ำตาลที่เอาอ้อยมาเข้าเครื่องหีบผลิตเป็นน้ำตาล ทราย   เมื่อ 50 ปีที่แล้ว เมื่ออ้อย ออกผลิตผล ชาวไร่อ้อยกับ โรงงานน้ำตาล จะตีรันฟันแทงกันเรื่องราคารับซื้อ-ขายอ้อย ซึ่งเมื่อครั้งมรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกฯเมื่อปี 2518 ชาวไร่อ้อยรวมตัวเดินขบวนมาประท้วงที่กรุงเทพฯ ท้ายก็รัฐบาลบอกให้รับซื้อตันละ 330 บาทต่อตัน รัฐบาลใช้นโยบายเอาเงินอุดหนุนราคารับซื้อ-ขาย ต่อมากลุ่มโรงงาน กับกลุ่มชาวไร่อ้อย ต่างก็รวมตัวกันตั้งกลุ่มของตัวเองขึ้นมา ทำข้อตกลงว่าเมื่อขายได้รายรับเท่าไหร่ให้ไปแบ่งปันกันในกลุ่ม ภายใต้การดำเนินการตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลปี 2527 โดย กำหนดว่าเมื่อขายมีรายได้ แบ่งปัน กัน ชาวไร่อ้อย 70% โรงงานน้ำตาล 30% โดยมีหัวหน้าโควต้าในแต่ละเขต แต่ละจังหวัด รับซื้อ จึงเป็นที่มาชมรมชาวไร่อ้อยและเจ้าของโรงงานมีการให้เงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำหรือที่เรียกว่า"ค่าเกี๊ยว"แก่หัวหน้าโควต้ากลุ่มชาวไร่อ้อย แล้วหัวหน้าโควต้าก็จะไปปล่อยกู้ให้ลูกกลุ่มในอัตรา ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งเมื่อ ลูกกลุ่มตัดอ้อยมาขาย ก็จะถูกหัก หนี้ค่าข้าวสาร ค่าปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ฯลฯซึ่งซื้อจากหัวหน้าโควต้า ที่เป็นเจ้าของร้านขายสินค้าเหล่านี้

ลักษณะการรวมกลุ่มก็จะเหมือน OPEC ที่ใช้วิธีการลดปริมาณการผลิตแล้วเพิ่มราคาขาย โดยแบ่งการขายกำหนดโควต้าของกลุ่ม ซึ่งน้ำตาลในประเทศไทยก็จะแบ่งเป็น3กลุ่ม คือกลุ่มก ขายในประเทศ และกลุ่มข กลุ่มค ส่งขายในต่างประเทศ ซึ่งน้ำตาลขายต่างประเทศเราไม่สามารถกำหนดราคาได้เป็นไปตามราคาตลาดโลก ทั้งนี้ในกฎหมายพ.ร.บ.อ้อยฯ
ให้มีคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลกำหนดราคาน้ำตาลในประเทศทั้งราคากิโลกรัมละ 11 บาท 13 บาทเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่ปี 2526 ถึง 2551

" โรงงานน้ำหวานโรงงานน้ำอัดลมโรงงานทอฟฟี่ โรงงานของหวานซึ่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่ ในประเทศหากฮั้วกันและขายในประเทศราคาแพง เขาก็จะเดือดร้อนขณะที่คนกลุ่มนี้มี Power พอสมควร ดังนั้น เขาจึงมีโควต้าพิเศษขายให้อุตสาหกรรมพวกนี้ในราคาต่ำพิเศษ ฉะนั้น กลุ่มนี้เงียบมั้ย??"

เมื่อถามว่าอุตสาหกรรมกลุ่มนี้มีโครงการทางกฎหมายมารองรับใช่หรือไม่ ดร.เจิมศักดิ์ กล่าวว่า เป็นกฎหมายที่เขียนว่าเขาสามารถจะแบ่งโควต้าขายได้ เขาก็เลยแถมให้กับโรงงานน้ำตาลทั้งหลาย เพื่อที่จะไม่ต้องร้อง  ขณะที่ผู้บริโภคแต่ละรายที่กินน้ำตาลไม่มากก็โดนราคาสูงไปแล้วกัน ซึ่งผมก็คิดว่าไม่แฟร์

ในช่วงปี 2550-2551 มีปัญหาคือบราซิลที่เป็นประเทศผู้ผลิตน้ำตาลยักษ์ใหญ่ของโลกและแข่งกับประเทศไทยเขาเห็นระบบของประเทศไทยบอกว่าไม่แฟร์ เท่ากับคุณเอาผู้บริโภคในประเทศ โดยรัฐบาลออกกฎหมายแล้วเอาผลประโยชน์ที่ขายได้ภายในประเทศไปอุดหนุน(subsidy) ให้กับผู้ส่งออกส่งออกได้ในราคาต่ำ ซึ่งเหมือนรัฐบาลแทรกแซงกลไกตลาดทำให้ราคาถูกกว่าประเทศของเขา จึงไปร้องWTO( องค์กรการค้าโลก) ว่าเป็นการค้าที่ไม่เป็นธรรมซึ่งเรื่องนี้เกิดจากรัฐบาลไปกำหนดให้เป็นกฎหมายเท่ากับรัฐบาลมีส่วนไปสนับสนุนทางอ้อม
เป็นการหลีกเลี่ยงsubsidyทางอ้อม แต่เอาผู้บริโภคในประเทศsubsidy
ผู้ส่งออก

ตอนนี้ชาวไร่กับโรงงานน้ำตาลรวมตัวกันได้แต่ผู้บริโภคเสียเปรียบมาโดยตลอดในขณะที่ราคาต่างประเทศต่างเราก็กินน้ำตาลราคาแพงแต่ขณะนี้ราคาต่างประเทศแพงเราก็จะทำท่ากินน้ำตาลราคาแพงกันต่อไปเราต้องเจรจาว่าระบบนี้เป็นระบบที่คุณcontrolได้ ทำไมคุณจึงไม่ควบคุมล่ะ ผมคิดว่าถึงเวลานี้เก็บภาษีส่งออก กดราคาในประเทศลงเพื่อไม่ให้ผู้บริโภคตาย และเงินนั้นก็เอามาช่วยเวลาที่น้ำตาลตก ถ้าสูงเกินไปเราเก็บ ถ้าต่ำเกินเราแถม

ชมคลิปเต็มได้ที่นี่ https://youtu.be/OfMFrh7qjWU?si=iTXhhL84s8RDL6Cp

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

(คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่

KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง

คดี‘ชั้น 14’พ้นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’

ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved