"เจิมศักดิ์"แนะ 2 วิธีแก้ราคาน้ำตาลเอาเปรียบคนในประเทศ เสนอพาณิชย์และรัฐบาล"หนามยอก ใช้หยามบ่ง"หรือเก็บภาษีส่งออกไว้กองทุนฯ
เมื่อวันที่ 30 พ.ย.66 รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญการตลาดสินค้าเกษตร ได้ร่วมพูดคุยใน"รายการเศรษฐกิจติดบ้าน" ทาง สถานีโทรทัศน์ Thai Pbs ในหัวข้อ"คุมราคาน้ำตาลอย่างไร ให้ คนไทยไม่เสียเปรียบ"
โดยดร.เจิมศักดิ์ กล่าวในรายการว่า จากกรณีที่บราซิลร้องต่อ WTO เมื่อปี 2550 กว่า- ว่ารัฐบาลไทย subsidyส่งออกน้ำตาลนั้น เป็นช่วงราคาน้ำตาลในตลาดโลกสูงขึ้น ทางโรงงานน้ำตาล ชาวไร่อ้อยก็บอกว่าให้เลิกโควต้าก. ซึ่งเป็นปริมาณน้ำตาลที่ขายเฉพาะในประเทศ ก็ปล่อยให้ดูเสมือนว่าภายในประเทศราคาเสรี โดยคนในประเทศก็จะกินน้ำตาลราคาสูงตามราคาต่างประเทศ แล้วถ้าหากราคาน้ำตาลในประเทศไม่สูงตามก็จะมีคนส่งออกน้ำตาลกันหมด ในที่สุดราคาในประเทศก็จะสูงตามราคาน้ำตาลต่างประเทศ ซึ่งทำให้ชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลพอใจจะเลิกระบบโควต้าที่ขายในประเทศ
หลังจากนั้นราคาในประเทศเริ่มแข่งขันกัน ก็ทำให้ราคาน้ำตาลตกลงมา ต่อมาก็มีการฮั้วกันใหม่ แม้ยกเลิก พรบ.อ้อยและน้ำตาลปี 2527 ไม่มีหัวหน้าโควต้าแล้ว แต่เขาก็พยายามตรึงการผลิตไม่ให้มีปริมาณน้ำตาลในตลาดมาก จึงทำให้ราคาน้ำตาล ขยับจากราคากิโลกรัมละ 15 บาท ขึ้นไปที่ 17.25-18.25 บาท
เมื่อถามว่าปัจจุบันราคาน้ำตาลในตลาดโลกสูงขึ้นมากแล้วราคาขาย ในประเทศจะทำอย่างไร ดร.เจอมศักดิ์ กล่าวว่า ตอนนี้แก้กฎหมายแล้วไม่ให้อำนาจคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลไปกำหนดราคาน้ำตาลในประเทศ แต่เขาก็อ้างว่าต้องกำหนดไม่อย่างนั้นจะคำนวณราคาอ้อยเบื้องต้นไม่ได้ ซึ่งราคาอ้อยเบื้องต้น ต้องกลับไปพูดเรื่อง ส่วนแบ่ง 70 /30 ของชาวไร่อ้อยกับโรงงานน้ำตาล ซึ่งเวลาที่โรงงานน้ำตาลจะซื้ออ้อยจากชาวไร่อ้อยจะรอให้มีการเคลียร์บัญชีรายรับทั้งหมดและรวมจ่ายครั้งเดียวเมื่อตอนสิ้นปี ซึ่งชาวไร่อ้อยก็จะขอให้มีการ คำนวณราคาอ้อยเบื้องต้นก่อน และเมื่อถึงเวลาสิ้นปีเคลียร์บัญชี ทางโรงงานน้ำตาลจ่ายส่วนต่างราคาอ้อยเบื้องต้นมาบวกทบให้ แต่ต่อมาหลังจากนั้น ชาวไร่อ้อยบอกว่าราคาอ้อยเบื้องต้นต่ำมาก ขอให้โรงงานน้ำตาลคำนวณราคาอ้อยเบื้องต้น ให้สูงขึ้น แต่เมื่อถึงตอนสิ้นปีจ่ายจริงตามบัญชี ปรากฎว่าราคาอ้อย ต่ำกว่าที่คำนวณราคาอ้อยเบื้องต้นจึงแก้ปัญหาใช้วิธีการยืมกองทุนฯ เอามาให้ชาวไร่อ้อย ทำให้กองทุนติดลบเรื่อยๆ รัฐบาล นายสมัครสุนทรเวช ก็บอกว่างั้นขึ้นราคาน้ำตาลจาก 13 บาทไปกิโลกรัมละ 18 ,20 บาท เพื่อจะเอากำไรที่เพิ่มขึ้นกิโลกรัมละ 5 บาทเอามาใส่เติมไว้ในกองทุนฯให้ชาวไร่เหมือนเดิม
พอมาถึงปัจจุบันตอนนี้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกสูงขึ้นชาวไร่อ้อยกับโรงงานก็อยากจะขายราคาในประเทศสูง ก็บอกให้กนอ.ลองไปกำหนดราคาขายในประเทศ โดยอ้างว่าแม้กฎหมายจะไม่ได้อนุญาตให้กำหนดราคาขายภายในเพราะต้องปล่อยให้ราคาเสรี แต่เพื่อเอาไปคำนวณราคาอ้อยเบื้องต้น เป็นที่มากำหนดราคากิโลกรัมละ 19-20 บาท
จุดนี้เป็นธงที่โรงงานน้ำตาล ประเทศมีกว่า 50 โรง ก็เอาน้ำตาลในประเทศให้จำนวนน้อยลง เพื่อราคาขึ้น ก็เป็นความโชคร้ายของรัฐบาลนี้เข้ามาตอนเหตุการณ์นี้พอดี และพอราคาน้ำตาลขึ้นก็มีคนร้องกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ก็มองในมุมของผู้บริโภคว่าผู้บริโภคจะลำบาก จึงกำหนดควบคุมราคาน้ำตาลภายในประเทศให้เหลือ 18-20 บาท ทางโรงงานกับชาวไร่อ้อยก็บอกว่าไม่ยอม โดยอ้างว่าคนจะไปขายต่างประเทศหมด ซึ่งจะเกิดราคาตลาดมืดขายกันหลังร้าน
เมื่อถามว่าวิธีที่โรงงานน้ำตาลกับชาวไร่อ้อยใช้นี้ เกษตรกรชาวนาปลูกข้าวจะนำไปใข้เพื่อให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้หรือไม่ ดร.เจิมศักดิ์ กล่าวว่ามีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ โรงงานน้ำตาลทั่วประเทศมี 50 กว่าโรง ขณะที่โรงสีข้าวมีหมื่นกว่าโรง นอกจากนี้ชาวนาต่างปลูก ต่างกันขายและไม่ต้องขายโรงสีก็ขายได้ ไม่มีหัวหน้าโควต้า ส่วนอ้อยจะต้องผ่านโรงงานหีบอ้อย
เมื่อถามว่าถ้าเช่นนั้นจะแก้ปัญหาโครงสร้างราคาน้ำตาลในประเทศ ได้อย่างไร ดร.เจิมศักดิ์ กล่าวว่า ตอนนี้เช้าไร่และโรงงานน้ำตาลรวมตัวกันได้ผู้บริโภคเดือดร้อนเสียเปรียบมาโดยตลอดแม้ในขณะราคาต่างประเทศต่างเราก็กินแพงและตอนนี้ราคาต่างประเทศสูงเราก็ทำท่าจะกินราคาแพงต่อไป " คิดว่าสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์รัฐบาลคิดจะคุมราคาก็จะเกิดปัญหาน้ำตาลนี้ออกนอกประเทศหรือขายภายในก็ขายตลาดมืด ดังนั้น วิธีการมี 2 อย่าง คือ "หนามยอก ใช้หนามบ่ง" จากวิธีการที่โรงงานน้ำตาลและชาวไร่รวมตัวกันได้ดีต้องจัดสรรโควต้าขายในประเทศ ในราคานั้นให้ได้
"ซึ่งในอดีตต่อราคาต่างประเทศต่ำแต่ราคาข้างในประเทศยกสูง พวกเขาสามารถขยับน้ำตาลในประเทศปริมาณน้อย โดยกันโควต้าที่ส่งต่างประเทศช่วงส่งออกต่างประเทศราคาต่ำเอามาขายในประเทศได้ เขายังมีปัญญาแบ่งโควต้าก.ในประเทศขายราคาแพง แต่ส่งออกโควต้าข.ค.ราคาต่ำ เขายังกันปริมาณมาขายในประเทศได้ แต่ตอนนี้มันกลับกันราคาต่างประเทศสูงเขากันปริมาณน้ำตาล ในประเทศไม่ให้สูง ฉะนั้นเขาก็ต้องมีปัญญากันไม่ให้ปริมาณน้ำตาลออกนอกประเทศมากเหมือนกัน เราต้องเจรจากับเขาว่าระบบนี้เป็นระบบที่คุณสามารถควบคุมได้แล้วทำไมคุณถึงไม่ควบคุมล่ะ"
ส่วนวิธีการที่ 2 คิดว่ารัฐบาลต้องเก็บภาษีส่งออกในเวลานี้ที่ราคาต่างประเทศสูงมาก ถ้าปล่อยเสรีคนผู้บริโภคภายในประเทศเดือดร้อนมากๆ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ราคาภายในประเทศกดลง แถวรัฐบาลก็เอาเงินส่วนนี้ไปใส่ไว้ในกองทุนเพื่อให้เกิดเสถียรภาพของราคาน้ำตาล โดยรัฐบาลสามารถกำหนดราคาน้ำตาลขั้นต่ำและขั้นสูง ซึ่งวิธีนี้จะทำ ให้กดราคาน้ำตาลในประเทศต่ำลงมา และในขณะที่ราคาส่งออกต่ำกว่าราคาขั้นต่ำ รัฐบาลก็เอาเงินนี้ไปช่วยกองทุนฯ โดยไม่ต้องไปกำหนดราคาขายปลีก และจะเกิดปัญหาตลาดมืดลักลอบส่งออกนอกประเทศตามมา
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี