วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
เม.ย.ส่งออกพลิกบวก พาณิชย์คงเป้าทั้งปีขยายตัว1-2%

เม.ย.ส่งออกพลิกบวก พาณิชย์คงเป้าทั้งปีขยายตัว1-2%

วันศุกร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : พาณิชย์
  •  

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนเมษายน 2567 มีมูลค่า 23,278.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (834,018 ล้านบาท) ขยายตัว 6.8% หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัว 11.4% การส่งออกของไทยพลิกกลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้ง สอดคล้องกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่มีมุมมองว่า เศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัวที่ดีจากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของโลกที่ชะลอตัวลงทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อภาคการผลิตทั่วโลก โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นหลายรายการ ขณะที่ผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง แต่อานิสงส์ด้านราคาตามความต้องการของตลาดโลก ส่งผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรบางรายการยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การส่งออกไทย 4 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัว 1.4% และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัว 3.7%

ทั้งนี้มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐเดือนเมษายน 2567 การส่งออก มีมูลค่า 23,278.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 6.8% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 24,920.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 8.3% ดุลการค้า ขาดดุล 1,641.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 4 เดือนแรกของปี 2567การส่งออก มีมูลค่า 94,273.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว1.4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า100,390.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 4.9% ดุลการค้า 4 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 6,116.9 ล้านเหรียญสหรัฐส่วนมูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนเมษายน 2567 การส่งออก มีมูลค่า 834,018 ล้านบาท ขยายตัว 12.7% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 903,194 ล้านบาท ขยายตัว 14.2% ดุลการค้า ขาดดุล 69,176 ล้านบาท ภาพรวม 4 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 3,338,028 ล้านบาท ขยายตัว 6.2% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 3,595,217 ล้านบาท ขยายตัว 9.7% ดุลการค้า 4 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 257,190 ล้านบาท


ส่วนการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 2.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน โดยสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 12.7% กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน ส่วนสินค้าเกษตรหดตัว 3.8% กลับมาหดตัวในรอบ 4 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว ยางพารา อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง ไก่แปรรูป ฯลฯ แต่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำตาลทราย ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ โดย 4 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 0.8% ด้านการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 9.2% (YoY) กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน แผงวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด โดย 4 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 1.8%

ขณะที่ตลาดส่งออกสำคัญส่วนใหญ่กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อน สอดคล้องกับสัญญาณการขยายตัวของภาคการผลิตโลก โดยตลาดหลักที่ขยายได้ เช่น ตลาดสหรัฐฯ ตลาดอาเซียน กลุ่ม CLMVทวีปออสเตรเลีย ตลาดเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกาลาตินอเมริกา รัสเซีย และกลุ่ม CIS ส่วนตลาดที่หดตัวได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์

ส่วนแนวโน้มการส่งออกในปี 2567 กระทรวงพาณิชย์คาดว่า การส่งออกของไทยในปี 2567 จะยังสามารถเติบโตได้ดี โดยยังคงเป้าหมายการเติบโตไว้ที่ 1-2% จากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมที่เติบโตตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว และปัญหาเงินเฟ้อที่เริ่มบรรเทาลง ส่งผลดีต่อกำลังซื้อในหลายประเทศ โดยแนวโน้มเดือนหน้าส่งออกก็น่าจะเป็นบวก โดยเฉพาะเป็นฤดูผลไม้ออกเป็นจำนวนมาก น่าจะทำให้ตลาดจีนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่สภาพอากาศแปรปรวนสร้างแรงผลักดันต่อราคาสินค้าเกษตรและความต้องการนำเข้าเพื่อความมั่นคงทางอาหาร แต่กดดันปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดโลก นอกจากนี้ ยังมีความไม่แน่นอนจากปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีแนวโน้มขยายวงกว้าง ซึ่งจากการหารือกับผู้ประกอบการประสบกับปัญหาต้นทุนค่าระวางเรือที่สูงขึ้น 37% โดยกระทรวงพาณิชย์จะติดตามประเมินสถานการณ์เป็นระยะ ถ้าไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นเพิ่มเติม โดยยังคงเป้าส่งออกปีนี้ไว้เดิมได้

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • DITP ผนึกไทยพาณิชย์ เปิดหลักสูตร SCB ITP รุ่นที่ 7 เสริมแกร่งเอสเอ็มอีไทย DITP ผนึกไทยพาณิชย์ เปิดหลักสูตร SCB ITP รุ่นที่ 7 เสริมแกร่งเอสเอ็มอีไทย
  • สนค. พาส่องธุรกิจสร้าง ‘ร่างทอง’ สนค. พาส่องธุรกิจสร้าง ‘ร่างทอง’
  • พฤติกรรมการบริโภคผลไม้ ปี 2568 พฤติกรรมการบริโภคผลไม้ ปี 2568
  • คต. จัดสัมมนาถิ่นกำเนิดสินค้าฯ เสริมเขี้ยวเล็บผู้ประกอบการไทย คต. จัดสัมมนาถิ่นกำเนิดสินค้าฯ เสริมเขี้ยวเล็บผู้ประกอบการไทย
  • ชี้ความต้องการสินค้าสูง  ดันดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าขยับขึ้น ชี้ความต้องการสินค้าสูง ดันดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าขยับขึ้น
  • สินค้าเพื่อสุขภาพ-คาแรคเตอร์  มีโอกาสเจาะตลาดผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น สินค้าเพื่อสุขภาพ-คาแรคเตอร์ มีโอกาสเจาะตลาดผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น
  •  

Breaking News

จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ

สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล

วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน

(คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!!

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved