วันศุกร์ ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
ส.ผู้เลี้ยงสุกรฯหวั่นรายย่อยแย่  วอนรายใหญ่หยุดขยายธุรกิจแย่งตลาด

ส.ผู้เลี้ยงสุกรฯหวั่นรายย่อยแย่ วอนรายใหญ่หยุดขยายธุรกิจแย่งตลาด

วันเสาร์ ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : ธุรกิจแย่งตลาด
  •  

นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมสุกรขณะนี้กำลังมีการขยายธุรกิจของผู้ประกอบการรายใหญ่หลายราย ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตหมูไม่สอดคล้องกับความต้องการบริโภค เกรงว่าเกษตรกรรายเล็ก รายย่อยแข่งขันยากและจะหายไปจากระบบ ขอความร่วมมือผู้ประกอบการรายใหญ่ร่วมสร้างเสถียรภาพอุตสาหกรรม โดยหยุดขยายธุรกิจสุกรและหันมาจับมือเกษตรกรรายเล็ก-รายย่อยให้สามารถประกอบอาชีพ เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

“ผลผลิตหมูก็ไม่ต่างจากสินค้าเกษตรอื่นๆ ที่ต้องมีความสมดุลระหว่างซัพพลายและดีมานด์ ดังที่เคยปรากฏเหตุการณ์ราคาหมูพุ่งสูงขึ้นมากจากการที่หมูหายไปจากระบบเพราะโรคระบาด หรือราคาหมูที่ตกต่ำอย่างรุนแรงเมื่อมีหมูเถื่อนทะลักเข้ามาเบียดเบียนตลาด ความร่วมมือในการรักษาระดับผลผลิตให้สอดคล้องกับอัตราการบริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในแวดวงของผู้ผลิตหมูก็มีทั้งเกษตรกรรายย่อย รายเล็ก รายกลาง และผู้ประกอบการรายใหญ่ ทั้งหมดต้องพึ่งพาอาศัยกันช่วยกันรักษาอุตสาหกรรมนี้ให้อยู่รอด หากรายใหญ่ซึ่งมีกำลังมากกว่า สายป่านยาวกว่า มุ่งแต่จะขยายธุรกิจของตนย่อมส่งผลกระทบถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมนี้ สู้ช่วยกันจับมือรายเล็ก-รายย่อยให้เดินร่วมกันบนเส้นทางอาชีพนี้ต่อไปจะมั่นคงและยั่งยืนกว่า”นายสิทธิพันธ์ กล่าว


ปัจจุบันประเทศไทยมีผลผลิตสุกรประมาณ 20 ล้านตัวต่อปี ส่วนใหญ่เป็นของผู้ประกอบการรายใหญ่ 10 ราย แต่ละรายยังคงขยายธุรกิจสุกรอย่างต่อเนื่อง ไม่สอดคล้องกับความต้องการบริโภคที่มีเท่าเดิม และมีแนวโน้มลดลงจากประชากรไทยที่สูงอายุมากขึ้น หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จะส่งผลให้อุปสงค์-อุปทานไม่สมดุล เป็นสาเหตุให้เสถียรภาพของอุตสาหกรรมหมูต้องสั่นคลอน ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายเล็ก-รายย่อยไม่สามารถแข่งขันได้ ต้องประสบปัญหาขาดทุนและหายออกไปจากระบบทั้งหมดเป็นแน่

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ มีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการทั้งระบบให้อยู่ร่วมกันได้ในระยะยาวอย่างยั่งยืน จึงขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการรายใหญ่ โปรดชะลอและหยุดการเพิ่มปริมาณพ่อแม่พันธุ์ เพื่อให้ผลผลิตหมูในแต่ละปีสอดคล้องเหมาะสมกับอัตราการบริโภคของคนไทย และเหลือพื้นที่ให้เกษตรกรรายเล็ก-รายย่อยได้ประกอบอาชีพผู้เลี้ยงสุกรต่อไป ภายใต้การประคับประคองและสนับสนุนจากผู้ประกอบการรายใหญ่ซึ่งจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมสุกรโดยรวม

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'ธรรมนัส'รับคุยทักษิณ ก่อนดึง'อนุดิษฐ์-การุณ' เปรยเตรียมเปิด'บิ๊กเนม-สส.'อีกเพียบ

ด่วน! ‘เปรมชัย-พวก’นอนคุก! ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว

คดีพลิก! 'จัสติน บีเบอร์'ติดหนี้อดีตผู้จัดการ200ล้าน แฉเดือดไม่ยอมใช้หนี้อ้างไม่มีเงิน

ฟ้องด้วยภาพ! 'เอกนัฏ'อึ้ง! เหล็ก'ซิน เคอ หยวน' โผล่คาซากอาคาร โรงงานถล่มที่ 'นิคมฯอมตะซิตี้ 10'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved