วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
‘สนค.’แนะไทยเร่งปรับตัว  รับก.ม.เพิ่มความมั่นคงอาหารของญี่ปุ่น

‘สนค.’แนะไทยเร่งปรับตัว รับก.ม.เพิ่มความมั่นคงอาหารของญี่ปุ่น

วันเสาร์ ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag : สนค สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
  •  

 

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อเดือนมิถุนายน 2567 รัฐสภาญี่ปุ่นเห็นชอบการปฏิรูป “กฎหมายพื้นฐานด้านอาหาร การเกษตรและพื้นที่ชนบท”(Basic Law on Food,Agriculture, and Rural Areas) ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีมาตั้งแต่ปี 2542 โดยการปฏิรูปในครั้งนี้เน้นประเด็นความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากสถานการณ์ด้านการเมืองระหว่างประเทศในปัจจุบันมีความไม่แน่นอนสูง ขาดเสถียรภาพ และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของโลก เช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน สร้างความไม่แน่นอนและกระทบตลาดธัญพืชโลก ส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น


นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายต่างๆ ทั้งความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์โลก ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเกิดโรคระบาด ปัญหาขาดแคลนแรงงาน และความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางอาหารของโลก จึงทำให้ญี่ปุ่นต้องปฏิรูปกฎหมายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง โดยมุ่งสนับสนุนการส่งออก ลดการพึ่งพาการนำเข้า และปรับเปลี่ยนการผลิต

สำหรับมาตรการต่างๆ ที่ญี่ปุ่นจะนำมาใช้ครอบคลุมถึงการสร้างแรงจูงใจสำหรับการผลิตภายในประเทศ ลดการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตรจากต่างประเทศ กระจายแหล่งซัพพลายเออร์ในการจัดหาสินค้า เพิ่มปริมาณสต๊อกฉุกเฉิน และการสร้างแบรนด์ “แจแปน” (Brand Japan) ซึ่งการสร้างแบรนด์จะเชื่อมโยงกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจภาคการเกษตร มุ่งเน้นให้ญี่ปุ่นปรับตัวให้สอดคล้องกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านการปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยจะเพิ่มความตระหนักรู้ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ผู้ประกอบการไปจนถึงผู้บริโภค

ทั้งนี้ภายใต้กฎหมายฉบับปรับปรุงปี 2563 ญี่ปุ่นได้กำหนดเป้าหมายสินค้าเกษตรที่จะผลิตภายในประเทศเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2561-2573 เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ถั่วเหลือง บัควีทพืชอาหารสัตว์ ผัก ผลไม้ เนื้อวัว ไก่ ไข่ และสุกร (ยกเว้น ข้าวที่จะลดการผลิตลง แต่ไม่รวมข้าวที่ใช้ทำแป้งและใช้เป็นอาหารสัตว์) ซึ่งตามแผนจะมีการทบทวนทุก 5 ปี ดังนั้น ในปี 2568 คาดว่าญี่ปุ่นจะมีการเผยแพร่แผนฉบับใหม่

อย่างไรก็ตามการที่ญี่ปุ่นมีนโยบายลดการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร อาจส่งผลให้ความต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยลดลง ดังนั้นเกษตรกรและผู้ส่งออกไทยต้องปรับกลยุทธ์การผลิต มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้สอดคล้องกับกฎระเบียบใหม่ของญี่ปุ่น โดย สนค.มีข้อเสนอสำหรับแนวทางการปรับตัว คือ ต้องพัฒนาการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปล่อยคาร์บอนต่ำ นำเทคโนโลยีการเกษตรยั่งยืนมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยร่วมมือกับผู้นำเข้าญี่ปุ่นควบคู่กับการทำการค้า การสร้างโอกาสสำหรับสินค้าเฉพาะที่ญี่ปุ่นผลิตได้ไม่เพียงพอ เช่น ทุเรียน มะม่วง มังคุด พืชสมุนไพรและอาหารแปรรูปเฉพาะทาง เช่น อาหารฟังก์ชั่น โปรตีนจากแมลง เป็นต้น การปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานการผลิตที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ โดยเฉพาะข้าว ที่ญี่ปุ่นมีกฎหมายกำกับ ได้แก่ กฎหมายการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าข้าว และกฎหมายการติดฉลากสินค้าอาหาร

“การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยไปญี่ปุ่นยังมีศักยภาพมาก ผู้ประกอบการไทยสามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ที่เอื้อประโยชน์ต่อการส่งออกของไทยไปญี่ปุ่น อาทิ การมีโควตาส่งออกกล้วยหอมไทยไปญี่ปุ่นกว่า 8,000 ตัน และยังมีผลไม้เมืองร้อนอื่นๆ ที่ญี่ปุ่นไม่เก็บภาษีนำเข้าจากไทย เช่น มะม่วง ทุเรียน และมะพร้าว อีกทั้งการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ของไทยในญี่ปุ่น ได้แก่ สับปะรดห้วยมุ่น กาแฟดอยช้าง และกาแฟดอยตุง จะช่วยทำให้ผู้ประกอบการไทยเจาะกลุ่มตลาดญี่ปุ่นได้ดียิ่งขึ้น” นายพูนพงษ์ กล่าว

ทั้งนี้ในปี 2567 ไทยส่งออกสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร เป็นมูลค่ากว่า 52,185 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกสำคัญ 3 อันดับแรก คือ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น สำหรับการส่งออกไปญี่ปุ่น มีมูลค่า 5,184.72 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นสูง เช่น สินค้าไก่สด แช่เย็นแช่แข็ง และแปรรูป, อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป, ยางพารา, อาหารสุนัขและแมว, ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และข้าว เป็นต้น

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • บริการซอฟต์แวร์และดิจิทัลไทย โอกาสใหม่ในยุคผันผวน บริการซอฟต์แวร์และดิจิทัลไทย โอกาสใหม่ในยุคผันผวน
  • ดัชนีCCIธ.ค.อยู่ระดับ51.6  ผู้บริโภคเชื่อศก.ไทยมีแนวโน้มดีขึ้น ดัชนีCCIธ.ค.อยู่ระดับ51.6 ผู้บริโภคเชื่อศก.ไทยมีแนวโน้มดีขึ้น
  • สนค.แนะผู้ประกอบการ  ประยุกต์ใช้ Digital Twinในธุรกิจ สนค.แนะผู้ประกอบการ ประยุกต์ใช้ Digital Twinในธุรกิจ
  • เงินเฟ้อติดลบ0.47%  ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง6เดือนติด เงินเฟ้อติดลบ0.47% ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง6เดือนติด
  • สนค.ชี้โอกาสในCLMV  เพิ่มการค้า-ลงทุนของเอกชนไทย สนค.ชี้โอกาสในCLMV เพิ่มการค้า-ลงทุนของเอกชนไทย
  • สนค.เปิดตัว‘คิดค้า Briefing’  ช่วยเอกชนเข้าถึงข้อมูลศก.การค้าเชิงลึก สนค.เปิดตัว‘คิดค้า Briefing’ ช่วยเอกชนเข้าถึงข้อมูลศก.การค้าเชิงลึก
  •  

Breaking News

แต่งตั้ง ‘พระรัตนโมลี’ เป็น ‘ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก’

'หอการค้านครพนม'สยบดราม่า! ปม'เฌอปราง'เหมือนโดนบังคับมารำ ลั่นทุกคนมาด้วยศรัทธา

'ผู้พันเบิร์ด' ฉะ 'ฮุน มาเนต' เล่นการเมืองชายแดน 5 บาท 10 บาท ทำประชาชนเดือดร้อน!

บขส.ประกาศหยุดเดินรถโดยสาร 904 เส้นกรุงเทพฯ-สระบุรี ตั้งแต่ 1 ส.ค.นี้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved