วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
พึงระวัง‘ประชานิยม’อาจไม่ช่วยลดเหลื่อมล้ำ แนะปฏิรูป‘ประกันสังคม’ให้อิสระผู้เชี่ยวชาญบริหาร

พึงระวัง‘ประชานิยม’อาจไม่ช่วยลดเหลื่อมล้ำ แนะปฏิรูป‘ประกันสังคม’ให้อิสระผู้เชี่ยวชาญบริหาร

วันอาทิตย์ ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568, 20.53 น.
Tag : บริหาร ประกันสังคม ประชานิยม ผู้เชี่ยวชาญ เหลื่อมล้ำ อิสระ
  •  

23 ก.พ. 2568 รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ  คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การลดช่องว่างทางรายได้ การแก้ความยากจนและสร้างความเป็นธรรมทางสังคมจำเป็นต้องดำเนินการใน 2 ด้าน คือ ด้านผู้มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจอย่างเหลือล้น – ใช้แนวทางการคลัง การงบประมาณ การภาษี และการป้องกันการผูกขาด

ส่วนด้านคนยากไร้ – ผลักดันให้กลุ่มผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสหลุดพ้นจากภาวะขัดสนยากจนด้วยการสร้างโอกาสให้เข้าถึงปัจจัยการผลิต พัฒนาระบบสวัสดิการโดยรัฐอย่างเป็นระบบ จัดให้มีระบบการคุ้มครองทางสังคม (Social protection) และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายสาธารณะ ทิศทางแนวนโยบายด้านสวัสดิการสังคมที่เป็นไปได้ และสามารถดำเนินการได้ทันทีคือ การสร้าง “สังคมสวัสดิการ (Welfare Society)” ขึ้นโดยผนึกกำลังจากภาคส่วนต่างๆ ในสังคมสร้างสรรค์สวัสดิการสังคมขึ้นในหลายรูปแบบ


มีการจัดการโดยหลายสถาบัน และสร้างความร่วมมือจากหลายฝ่ายให้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตสวัสดิการอย่างกว้างขวางครอบคลุม โดยแต่ละรูปแบบและแต่ละสถาบันมีความเป็นอิสระต่อกัน ภายใต้ความรับผิดชอบและการดูแลของสังคมโดยรวม ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้และความมั่งคั่งของไทยจึงยังคงอยู่ในระดับสูงมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน

“จากการวิเคราะห์ข้อมูลล่าสุด พบว่า ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจโควิด-19 ปัญหาความเหลื่อมล้ำสูงขึ้นและเศรษฐกิจฟื้นตัวแบบไม่เท่าเทียมเป็นรูปตัว K และ ความเหลื่อมล้ำระหว่างรายได้กลุ่มรวยสุด 10% แรกกับกลุ่มรายได้ต่ำสุด 10% ล่าง ต่างกันมากกว่า 20 เท่า กลุ่มคนรวยสุดร้อยละ 10 ถือครองรายได้รวมมากกว่า 35% ของรายได้ทั้งหมดของประเทศ” รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าว

รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวต่อไปว่า  แนวคิดและนโยบายแบบประชานิยมเฟื่องฟูขึ้นท่ามกลางความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ “ประชานิยม” บรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้แก้โครงสร้าง และ ยังทำให้ “ประชาชนส่วนใหญ่” “นักการเมือง” และ “ข้ารัฐการ” ไม่ตระหนักและละเลยปัญหาในเชิงโครงสร้างอีกด้วย ขณะเดียวกัน รูปแบบวิธีการทางการเมืองแบบประชานิยมที่เกิดขึ้นในยุโรป สหรัฐอเมริกา ลาตินอเมริกา และเอเชียบางประเทศ จะก่อความขัดแย้งและทำให้ระบอบเสรีประชาธิปไตยอ่อนแอลง แปรสภาพเป็น ระบอบอำนาจนิยมจากการเลือกตั้งมากขึ้นตามลำดับ

วิธีการทางการเมืองแบบประชานิยมมุ่งสร้างคู่ตรงข้ามในเชิงศีลธรรมระหว่าง “ประชาชน” และ “ชนชั้นนำผู้ฉ้อฉล” เพื่อระดมการสนับสนุนจากมวลชนให้ชนะเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาในหลายประเทศที่มีนโยบายประชานิยม พบว่า ต้องอาศัยผู้นำที่มีบารมี (Charismatic Leadership) อาศัยระบบอุปถัมภ์ (Clientelism) มีปัญหาความเหลื่อมล้ำรุนแรง และในหลายกรณีประชานิยมอาจไม่ได้นำมาสู่การบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำ นโยบายกระจายการจัดสรรทรัพยากร การกระจายรายได้กระจายความมั่งคั่ง ความสำเร็จของการลดความเหลื่อมล้ำเป็นผลจากการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการสร้างความเป็นธรรมทางสังคมมากกว่า

ในกรณีของไทย มาตรการประชานิยมพักหนี้ แจกเงิน อาจไม่ได้ช่วยทำให้เศรษฐกิจเติบโตแบบยั่งยืน เพียงช่วยบรรเทาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ บรรเทาปัญหาวิกฤติหนี้สิน ประเทศไทยจึงมีหนี้ครัวเรือนสูงเป็นอันดับสองในเอเชีย รองจากเกาหลีใต้ และ อยู่ในอันดับที่ 12 ของโลก ขณะเดียวกัน คนไทยมีหนี้สาธารณะที่ต้องร่วมกันรับผิดชอบเฉลี่ยท่านละไม่ต่ำกว่า 1.7-1.8 แสนบาท รัฐบาลทำขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติมอีกในปีงบประมาณ 68 และ 69 ชาวไทยแต่ละท่านมีภาระหนี้สินส่วนครัวเรือนรวมหนี้สาธารณะมากกว่า 4.2 แสนบาท

ฉะนั้นการตั้งเป้าให้เศรษฐกิจขยายตัวได้เต็มศักยภาพที่ 5-6% เป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้เศรษฐกิจมีรายได้สูงขึ้น และต้องสร้างกลไกให้เกิดการกระจายรายได้มายังคนส่วนใหญ่อย่างทั่วถึง คือ ต้องปฏิรูปโครงสร้างการกระจายรายได้และลดความเหลื่อมล้ำอย่างจริงจัง การพักหนี้ เจรจาประนอมหนี้ หรือ ลดดอกเบี้ยเป็นเพียงแค่บรรเทาแต่ไม่ได้แก้ปัญหาในระยะยาว ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจต้องแก้ด้วยการปฏิรูปเศรษฐกิจ

มาตรการประชานิยมช่วยได้แค่บรรเทาปัญหาในระยะสั้นเท่านั้น  การดำเนินการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนและเป็นระบบ ต้องมีการยกระดับมาตรฐานกระบวนการให้สินเชื่อและการปฏิบัติกับลูกหนี้อย่างเป็นธรรม (Responsible Lending) ครอบคลุมตลอดวงจรหนี้ของลูกหนี้ อนึ่ง ชุดของนโยบายประชานิยมมักเชื่อมโยงกับการกระจายรายได้และลดความเหลื่อมล้ำเสมอ และ มีองค์ประกอบสำคัญสองประการ คือ หนึ่ง มองเจตจำนงประชาชนเหนือกว่าหลักการด้านอื่นๆ สอง เจตจำนงของประชาชนควรสะท้อนผ่านความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างประชาชนกับผู้นำทางการเมือง  

การพักหนี้ การแจกเงิน การขึ้นค่าแรงโดยยึดกรอบการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่ดี ระมัดระวังในเรื่องวินัยการเงินการคลัง ย่อมไม่นำไปสู่ความไร้เสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค วิกฤติหนี้สาธารณะ อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูง เหมือนประชานิยมในละตินอเมริกาในยุคฮวน เปรองแห่งอาร์เจนตินา ค.ศ. 1946-1955 หรือ อัลแบร์โต ฟูจิโมริแห่งเปรู ค.ศ. 1990-2000 บรรเทาปัญหาหนี้สินและลดความเหลื่อมล้ำได้บ้าง

วิกฤติหนี้สิน และ ความเหลื่อมล้ำรุนแรง จะกลายเป็น “ระเบิดเวลา” ที่จะนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมในอนาคตของไทยได้ การบรรเทาปัญหาด้วยมาตรการระยะสั้นย่อมมีความจำเป็นไม่ต่างจากการแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างด้วยมาตรการระยะยาว ความเหลื่อมล้ำไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำในโอกาส (Inequality of Opportunity) หรือ ความเหลื่อมล้ำของผลลัพธ์ (Inequality of Outcome) ก็ตาม จะกดดันให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงในระยะปานกลางและระยะยาว ศักยภาพและประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจถดถอยลง เป็นผลลบต่อเสถียรภาพของระบอบประชาธิปไตยและความมั่นคงทางการเมืองและสังคม

ทั้งนี้ หากพรรคการเมืองใดต้องการวางเป้าหมายต้องการให้ประเทศไทยมีระบบรัฐสวัสดิการแบบยุโรปเหนือย่อมทำได้แต่เป็นเรื่องที่อาจไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้และไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างแน่นอน  ประเทศรัฐสวัสดิการมักเป็นประเทศที่มีระบบราชการหรือระบบรัฐการที่ใหญ่ Bigger Government ไม่ใช่ Smaller Government ประเทศรัฐสวัสดิการต้องมีระบบราชการและระบบการเมืองที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ไม่เช่นนั้นแล้วจะกลายเป็นรัฐสวัสดิการที่ล้มเหลวหรือประสบปัญหาความยั่งยืนทางการเงินการคลัง เกิดวิกฤติทางการคลัง นำไปสู่การลดขนาดของระบบราชการและลดสวัสดิการของรัฐในที่สุด ปรากฎการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในบางประเทศในยุโรปใต้และฝรั่งเศส

“การเดินหน้าระบบรัฐสวัสดิการเต็มรูปแบบในไทย เรื่องแรกที่ต้องตอบให้ได้ คือ ระบบราชการไทยเป็นอย่างไร กรณีไทย ต้องปรับเปลี่ยนระบบราชการให้โปร่งใสมีประสิทธิภาพก่อน คือ ต้องปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่พร้อมกับการกระจายอำนาจการจัดระบบสวัสดิการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่องที่สอง  คือ ต้องปฏิรูปรายได้ภาครัฐและเพิ่มภาษี ประเทศแถบสแกนดิเนเวียที่เป็นประเทศรัฐสวัสดิการเต็มรูปแบบจะมีสัดส่วนรายได้ภาษีอยู่ที่ระดับ 42-48.9% ของจีดีพี อย่างเดนมาร์ก มีสัดส่วนรายได้ภาษีต่อจีดีพีอยู่ที่ 48.9% สวีเดนอยู่ที่ 48.2%” รศ.ดร.อนุสรณ์ ระบุ

รศ.ดร.อนุสรณ์ ยังกล่าวอีกว่า ประเทศพัฒนาใน OECD มีสัดส่วนรายได้ภาษีต่อจีดีพีเฉลี่ยอยู่ที่ 35% สหรัฐอเมริกาที่ใช้แนวคิดปัจเจกนิยมเสรี (Liberal Individualism) กับ แนวคิดสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democracy) ผสมกันในจัดระบบสวัสดิการโดยรัฐ ขึ้นอยู่กับว่า พรรคแดโมแครต หรือ พรรครีพับรีกัน พรรคไหนเป็นรัฐบาล มีสัดส่วนรายได้ภาษีต่อจีดีพีเฉลี่ยอยู่ที่ 28-30% ส่วนไทยมีสัดส่วนรายได้ภาษีต่อจีดีพีเพียงแค่  14% เท่านั้น จึงยังห่างไกลต่อการมีฐานะทางการคลังที่สามารถสนับสนุนรัฐสวัสดิการแบบเต็มรูปแบบอย่างสแกนดิเนเวียได้

โดยประเทศไทยเคยมีสัดส่วนการจัดเก็บรายได้อยู่ที่ระดับ 18% ในปี พ.ศ. 2539 ก่อนวิกฤตการณ์เศรษฐกิจปี 2540 การจัดเก็บภาษีเพิ่มด้วยการเพิ่มอัตราภาษีในระยะ 1 – 2 ปีข้างหน้าอาจไม่เหมาะสมเนื่องจากเศรษฐกิจไทยเพิ่งอยู่ในระยะแรกของการฟื้นตัว ต้องดำเนินมาตรการให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นมากๆเต็มศักยภาพเพื่อเก็บภาษีได้เพิ่มโดยไม่ต้องเพิ่มอัตราภาษี

ส่วนการขยายฐานภาษีนั้นควรเดินหน้าจัดเก็บภาษีมรดกและภาษีที่ดินให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่วนการจะก่อหนี้มาเพื่อจ่ายสวัสดิการสังคมเพิ่มควรต้องทำอย่างระมัดระวัง เนื่องจากขณะนี้ยอดหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมดเทียบกับจีดีพีขยับเข้าใกล้ 70% ตามลำดับ อนึ่ง กองทุนประกันสังคมถูกออกแบบไว้อย่างดีเพื่อให้เกิดการจ่ายสมทบแบบมีส่วนร่วมจากสามฝ่ายลูกจ้าง นายจ้างและรัฐบาล จึงเป็น “กองทุน” ของสาธารณชนโดยโครงสร้างเงินสมทบ และ ทำให้ประชาชนมีวัฒนธรรมการออมที่เข้มแข็งอีกด้วย

กองทุนประกันสังคม เป็น เสาหลักของระบบสวัสดิการสำหรับผู้ใช้แรงงาน การบริหารกองทุนให้มีประสิทธิภาพ มีความคล่องตัว โปร่งใส มีธรรมาภิบาลสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน เสถียรภาพของผู้ประกอบการ และความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของรัฐ การปฏิรูปประกันสังคมสู่องค์กรของรัฐที่ไม่ใช่ราชการ เป็นองค์กรที่บริหารงานได้แบบแบงก์ชาติ กลต หรือ กบข ควรถูกนำมาศึกษาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

“การพัฒนากองทุนประกันสังคมให้เป็นองค์กรของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการอาจจำเป็นสำหรับอนาคตของสังคมไทย รัฐบาลต้องมอบความเป็นอิสระให้กับผู้เชี่ยวชาญทางด้านประกันสังคมในการบริหารกองทุนประกันสังคมและปกป้องจากการแทรกแซงของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง เพื่อให้เกิดความมั่นคงและเสถียรภาพต่อกองทุน และ เปิดให้มีส่วนร่วมจากผู้แทนผู้ประกันตนและนายจ้างที่มาจากการเลือกตั้งในการกำกับดูแลนโยบายได้อย่างเหมาะสม” รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวในตอนท้าย

043...

 

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • SKR ตั้งเป้ารายได้ 6.5 พันล้าน อัพสู่รพ.ชั้นนำรักษาโรคยากซับซ้อน SKR ตั้งเป้ารายได้ 6.5 พันล้าน อัพสู่รพ.ชั้นนำรักษาโรคยากซับซ้อน
  • ผู้ใช้แรงงานเฮลั่น!!! ‘ประกันสังคม’ผนึก‘ธอส.’ ปล่อยกู้‘ผู้ประกันตน’ซื้อบ้าน-ที่ดิน-ซ่อมแซม ผู้ใช้แรงงานเฮลั่น!!! ‘ประกันสังคม’ผนึก‘ธอส.’ ปล่อยกู้‘ผู้ประกันตน’ซื้อบ้าน-ที่ดิน-ซ่อมแซม
  •  

Breaking News

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้

รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.

'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved