นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. และ พล.ต.อ. ดร.ณัฐธร เพราะสุนทร นำทีม กสทช. เสนอความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบเตือนภัยฉุกเฉิน Cell Broadcast และผลักดันแนวคิด "Breaking Silos" ในการประชุม GSMA Ministerial Programme ภายใต้การประชุม GSMA Mobile World Congress 2025 (MWC-25) ณ เมืองบาร์เซโลนา ราชอาณาจักรสเปนจากเหตุกราดยิงสยามพารากอนสู่ระบบเตือนภัยฉุกเฉินระดับประเทศในที่ประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Programme) เวทีเสวนาโต๊ะกลม (Roundtable) หัวข้อ "Leveraging Mobile for Early Warning Systems" ซึ่งมี Doreen Bogdan-Martin เลขาธิการ ITU เป็นประธานโต๊ะเสวนา
ประธาน กสทช. ได้รับเชิญจาก GSMA ให้เล่าถึงการพัฒนาระบบเตือนภัยฉุกเฉินของไทย ซึ่งเริ่มมาจากเหตุกราดยิงที่สยามพารากอนเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ที่กระตุ้นให้ไทยเร่งพัฒนาระบบ Cell Broadcast
ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. กล่าวว่า แทนที่จะชี้นิ้วกล่าวโทษกัน เราควรมุ่งเน้นว่าจะตอบสนองต่อเหตุการณ์อย่างไร พร้อมเปิดเผยว่าหลังเกิดเหตุเพียงหนึ่งเดือน รัฐบาลได้รวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจขึ้น
จุดเด่นของระบบคือประชาชนสามารถรับการแจ้งเตือนได้โดยไม่ต้องดาวน์โหลดแอป ไม่ต้องลงทะเบียน และไม่ต้องพึ่งพาอินเทอร์เน็ต โดย กสทช. เตรียมให้ระบบพร้อมใช้งานทั่วประเทศภายในกรกฎาคม 2568 ด้วยงบประมาณจากกองทุน USO
ประธาน กสทช. ยังเปิดเผยถึงวิสัยทัศน์การขยายระบบเตือนภัยข้ามพรมแดน ว่ากำลังวางแผนติดตั้งเซ็นเซอร์ IOT เพื่อตรวจวัดระดับน้ำในแม่น้ำสำคัญในเมียนมาร์ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถคาดการณ์น้ำท่วมและแจ้งเตือนประชาชนไทยล่วงหน้าได้ทันท่วงที ให้พวกเขามีเวลาเตรียมตัวและลดความสูญเสีย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อแก้ปัญหาภัยพิบัติข้ามพรมแดน
"Breaking Silos" บทเรียนจากการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์
นอกจากนี้ นายพชร นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษาประธาน กสทช. ได้รับเชิญจาก GSMA เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความสำเร็จของไทยในการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชาติในเวที GSMA Ministerial Programme หัวข้อ Digital Nation in Asia Pacific: Preserving Digital Trust through Strategic Policy and Collaboration ในเรื่อง "Break Silos and Advancing a Whole-of-Government Approach"
นายพชร เน้นย้ำว่า กสทช. ได้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อหน่วยงานภาครัฐหลายภาคส่วน พร้อมชี้ให้เห็นความสำคัญของการบัญชาการโดยผู้นำประเทศ ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีมาบัญชาการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง การทำงานระหว่างองค์กรหรือหน่วยงานง่ายขึ้น
นอกจากนี้ คณะผู้แทน กสทช. ยังได้เยี่ยมชมและหารืออย่างใกล้ชิดร่วมกับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก อาทิ Eutelsat, Huawei, China Telecom, Skylo ผู้ให้บริการ MVNO/MVNE และบริษัทชั้นนำรายอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารและบริการดิจิทัลที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศไทย รวมถึงความพร้อมของไทยที่จะต้อนรับการลงทุนและการเข้ามาให้บริการในประเทศไทยของบริษัทดังกล่าวการเข้าร่วมการประชุม MWC 2025 ครั้งนี้ไม่เพียงแสดงบทบาทผู้นำด้านนโยบายดิจิทัลของไทยบนเวทีโลกแต่ยังเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนระบบนิเวศดิจิทัลของไทยให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
-032
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี