วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
ส่องผลกระทบสินค้าเกษตรไทย หลังสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน

ส่องผลกระทบสินค้าเกษตรไทย หลังสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน

วันจันทร์ ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2568, 09.42 น.
Tag : พาณิชย์ สงครามการค้า สนค. สินค้าเกษตร
  •  

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. มีการติดตามสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศในยุคทรัมป์ 2.0จากการที่สหรัฐฯ มีนโยบายเก็บภาษีศุลกากรเพิ่มขึ้นจากสินค้านำเข้า รวมถึงยกเลิกมาตรการยกเว้นภาษีขั้นต่ำ (De Minimis) ต่อสินค้าจีน และจีนตอบโต้กลับโดยปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ในอัตราที่สูงเช่นเดียวกันนั้น จะส่งผลกระทบต่อการค้าสินค้าเกษตรไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูล Trademap.org ในปี 2567 ไทยส่งออกสินค้าเกษตร (HS 01-24) ไปยังสหรัฐฯ เป็นมูลค่า 4,759.5 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าที่ไทยส่งออกเป็นมูลค่าสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ (1) อาหารสุนัขหรือแมว (2) ข้าว (3) ปลาทูน่าปรุงแต่ง (4) น้ำผลไม้หรือน้ำผักอื่น ๆ (5) อาหารปรุงแต่งอื่น ๆ (6) ซอสและของปรุงแต่งสำหรับทำซอส (7) กุ้งปรุงแต่ง (เช่น ลูกชิ้นกุ้ง) (8) กุ้งแช่แข็ง (9) ผลไม้ ลูกนัตปรุงแต่ง และ (10) สับปะรดปรุงแต่ง ตามลำดับ


สนค. วิเคราะห์ผลกระทบต่อการค้าสินค้าเกษตรไทย แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้

1. สินค้าที่ไทยมีศักยภาพ เป็นกลุ่มสินค้าที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ อยู่อันดับต้น ๆ จึงอาจได้รับส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นจากการนำเข้าเพื่อทดแทนสินค้าจีน เช่น

-อาหารสุนัขและแมว (HS 2309.10) สหรัฐฯ นำเข้าเป็นมูลค่า 2,215.5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 มูลค่า 845.2 ล้านเหรียญสหรัฐ มีส่วนแบ่ง 38% ของมูลค่าการนำเข้าของสหรัฐฯ และนำเข้าจากจีนเป็นอันดับ 3 มูลค่า 187.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มีส่วนแบ่ง 8%

-ข้าว (HS 1006.30) สหรัฐฯ นำเข้าเป็นมูลค่า 1,514.8 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 มูลค่า 843.0 ล้านเหรียญสหรัฐ มีส่วนแบ่ง 56% ของมูลค่าการนำเข้าของสหรัฐฯ และนำเข้าจากจีนเป็นอันดับ 3 มูลค่า 56.5 ล้านเหรียญสหรัฐ มีส่วนแบ่ง 4%

-ปลาแมคเคอเรลปรุงแต่ง (HS 1604.15) สหรัฐฯ นำเข้าเป็นมูลค่า 52.1 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 มูลค่า 16.3 ล้านเหรียญสหรัฐ มีส่วนแบ่ง 31% ของมูลค่าการนำเข้าของสหรัฐฯ และนำเข้าจากจีนเป็นอันดับ 3 มูลค่า 5.7 ล้านเหรียญสหรัฐ มีส่วนแบ่ง 11%

-เนื้อปลาลิ้นหมาแบบฟิลเล (HS 0304.83) สหรัฐฯ นำเข้าเป็นมูลค่า 94 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยนำเข้าจากจีนเป็นอันดับ 1 มูลค่า 62.0 ล้านเหรียญสหรัฐ มีส่วนแบ่ง 66% ของมูลค่าการนำเข้าของสหรัฐฯ และนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 มูลค่า 9.4 ล้านเหรียญสหรัฐ มีส่วนแบ่ง 10% 

-หน่อไม้ปรุงแต่ง (HS 2005.91) สหรัฐฯ นำเข้าเป็นมูลค่า 28.3 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยนำเข้าจากจีนเป็นอันดับ 1 มูลค่า 16.7 ล้านเหรียญสหรัฐ มีส่วนแบ่ง 59% ของมูลค่าการนำเข้าของสหรัฐฯ และนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 มูลค่า 4.9 ล้านเหรียญสหรัฐ มีส่วนแบ่ง 17% 

2. สินค้าที่ไทยมีโอกาส เป็นกลุ่มสินค้าที่จีนครองส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ อันดับต้น ๆ ขณะที่ไทยยังมีส่วนแบ่งตลาดไม่มากนัก ซึ่งหากได้รับการผลักดันและเสริมสร้างศักยภาพทางการผลิตและการตลาดเพิ่มขึ้น อาจทำให้ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น เช่น

-สินค้ากลุ่มพาสต้าอื่น ๆ อาทิ เส้นหมี่ วุ้นเส้น (HS 1902.30) สหรัฐฯ นำเข้าเป็นมูลค่า 592.9 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยนำเข้าจากจีนเป็นอันดับ 3 มูลค่า 53.0 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่ง 9% และนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 6 มูลค่า 33.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนแบ่ง 6%

-ปลาหมึกแช่แข็ง (HS 0307.43) สหรัฐฯ นำเข้าเป็นมูลค่า 254.3 ล้านเหรียญสหรัฐโดยนำเข้าจากจีนเป็นอันดับ 2 มูลค่า 40.2 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่ง 16% และนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 6 มูลค่า 22.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนแบ่ง 9%

-ซอสถั่วเหลือง (HS 2103.10) สหรัฐฯ นำเข้าเป็นมูลค่า 142.4 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยนำเข้าจากจีนเป็นอันดับ 1 มูลค่า 61.7 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่ง 43% และนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 5 มูลค่า 13.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนแบ่ง 9%

-ปลาอื่น ๆ ปรุงแต่ง (เช่น ปลาฮอร์สแมคเคอเรล) (HS 1604.19) สหรัฐฯ นำเข้าเป็นมูลค่า 142.6 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยนำเข้าจากจีนเป็นอันดับ 3 มูลค่า 12.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่ง 9% และนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 มูลค่า 10.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนแบ่ง 8%

-พืชผักตระกูลถั่วอื่น ๆ แช่แข็ง (HS 0710.29) สหรัฐฯ นำเข้าเป็นมูลค่า 47.9 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยนำเข้าจากจีนเป็นอันดับ 1 มูลค่า 17.0 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่ง 35% และนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 5 มูลค่า 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนแบ่ง 4%การรักษาส่วนแบ่งตลาดของสินค้าเกษตรไทยในสหรัฐฯ ยังมีความท้าทาย เนื่องจากไทยเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าที่สหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีต่างตอบแทน (Reciprocal Tariff) ในอัตราสูงถึง 36% แม้การเก็บภาษีดังกล่าวจะถูกระงับไว้เป็นเวลา 90 วัน (นับตั้งแต่ 9 เมษายน 2568) นอกจากนี้ ไทยต้องเฝ้าระวังการสูญเสียส่วนแบ่งในตลาดอื่นด้วย ในกรณีเมื่อจีนถูกตั้งกำแพงภาษีและไม่สามารถส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ ได้เช่นเดิม จึงอาจระบายสินค้าไปตลาดอื่นเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การแข่งขันกับสินค้าจีนในตลาดนั้น ๆ สูงขึ้น

3. สินค้าที่ต้องเฝ้าระวังการเบี่ยงเบนทางการค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่จีนมีศักยภาพและไทยก็ปลูกได้เอง แต่อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศและบางครั้งจำเป็นต้องนำเข้า ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้ ผู้ประกอบการและเกษตรกรไทยต้องเผชิญการแข่งขันมากขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการบางกลุ่มอาจได้รับประโยชน์จากการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้สำหรับแปรรูปในราคาถูกลง (ตารางที่ 4) เช่น

-กระเทียมสดหรือแช่เย็น (HS 0703.20) จีนเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก ส่งออกเป็นปริมาณ 2.35 ล้านตัน และสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกอันดับ 7 ของจีน (จีนส่งออกไปสหรัฐฯ 62,739 ตัน) สำหรับไทย ในปีเพาะปลูก 2566/67 มีผลผลิตกระเทียมอยู่ที่ 53,714 ตัน ขณะที่มีปริมาณการใช้ในประเทศ 106,926 ตัน ไทยจึงเป็นผู้นำเข้าสุทธิ โดยในปี 2567 ไทยนำเข้ากระเทียม 23.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ปริมาณ 47,352 ตัน (และไทยส่งออก 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ปริมาณ 856 ตัน) โดยนำเข้าจากจีนเกือบทั้งหมด สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน จึงอาจส่งผลให้กระเทียมจากจีนเข้ามาไทยมากขึ้น

-พืชผักอื่น ๆ ที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย (HS 2005.99) จีนเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก ส่งออกเป็นปริมาณ 840,754 ตัน และสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกอันดับ 3 ของจีน (จีนส่งออกไปยังสหรัฐฯ 84,147 ตัน) สำหรับไทย สินค้ากลุ่มนี้ไทยเป็นผู้ส่งออกสุทธิ ในปี 2567 ไทยส่งออกและนำเข้าเป็นมูลค่า 76.4 และ 8.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ โดยสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย ขณะที่จีนเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 1 สินค้ากลุ่มนี้จึงมีโอกาสนำเข้ามากขึ้นเพื่อแปรรูปและส่งออก

-พริกแห้ง หรือพริกไทยเทศแห้งทั้งเม็ด (HS 0904.21) จีนเป็นผู้ส่งออกอันดับ 2 ของโลก รองจากอินเดีย (ขณะเดียวกันจีนเป็นผู้นำเข้าอันดับ 1 ของโลก) จีนส่งออกเป็นปริมาณ 85,103 ตัน ซึ่งไทยและสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกอันดับ 3 และ 4 ของจีน มีปริมาณ 15,366 และ 6,164 ตัน ตามลำดับ สินค้ากลุ่มนี้ไทยเป็นผู้นำเข้าสุทธิ ในปี 2567 ไทยส่งออกและนำเข้าเป็นมูลค่า 4.0 และ 201.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (ส่งออกและนำเข้าเป็นปริมาณ 893 และ 86,006 ตัน) ตามลำดับ ซึ่งปัจจุบัน ไทยนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้จากอินเดียมากที่สุด แต่สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน อาจส่งผลให้ไทยมีการนำเข้าจากจีนเพิ่มมากขึ้น

-ชาเขียวอื่น ๆ ไม่หมัก (HS 0902.20) จีนเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก ส่งออกเป็นปริมาณ 202,641 ตัน สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกอันดับ 6 ของจีน (จีนส่งออกไปสหรัฐฯ 4,583 ตัน) และจีนเป็นแหล่งนำเข้าชาเขียวที่สำคัญของสหรัฐฯ เป็นอันดับ 2 (รองจากญี่ปุ่น) สำหรับไทย สินค้ากลุ่มนี้ไทยเป็นผู้นำเข้าสุทธิ ในปี 2567 ไทยส่งออกและนำเข้าเป็นมูลค่า 2.6 และ 7.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (ส่งออกและนำเข้าเป็นปริมาณ 456 และ 6,301 ตัน) ตามลำดับ ซึ่งปัจจุบัน ในเชิงมูลค่าไทยนำเข้าชาเขียวจากญี่ปุ่นมากที่สุด แต่ในเชิงปริมาณไทยนำเข้าจากจีนมากที่สุด ซึ่งสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน อาจส่งผลให้สินค้ากลุ่มนี้จากจีนเข้ามาไทยมากขึ้น

-หอมหัวใหญ่แห้งหรือผง (HS 0712.20) จีนเป็นผู้ส่งออกอันดับ 4 ของโลก (รองจากอินเดีย สหรัฐฯ และอียิปต์) จีนส่งออกเป็นปริมาณ 15,064 ตัน ซึ่งสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของจีน (จีนส่งออกไปยังสหรัฐฯ 2,363 ตัน) สำหรับไทย สินค้ากลุ่มนี้ไทยเป็นผู้นำเข้าสุทธิ ในปี 2567 ไทยส่งออกและนำเข้าเป็นมูลค่า 0.9 และ 6.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (ส่งออกและนำเข้าเป็นปริมาณ 810 และ 1,652 ตัน) ตามลำดับ
ซึ่งปัจจุบัน ไทยนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้จากสหรัฐฯ มากที่สุด (942 ตัน) รองลงมา คือ จีน (485 ตัน) ซึ่งสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน อาจส่งผลให้สินค้ากลุ่มนี้จากจีนเข้ามาไทยมากขึ้น

นายพูนพงษ์ กล่าวว่า อัตราภาษีระหว่างสหรัฐฯ-จีน ยังคงมีความไม่แน่นอน รวมถึงอัตราภาษีระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ด้วย ซึ่ง สนค. ยังคงติดตามสถานการณ์ความตึงเครียดทางการค้าและมาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ ในยุคทรัมป์ 2.0 อย่างใกล้ชิด เพื่อวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการค้าไทย นอกจากนี้ หน่วยงานในกระทรวงพาณิชย์ มีการวางแผนดำเนินการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อาทิ ป้องกันการลักลอบนำเข้าสินค้า กำกับดูแลการนำเข้าสินค้าเกษตรอย่างใกล้ชิดให้เป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับด้านคุณภาพและมาตรฐาน เฝ้าระวังผลกระทบต่อสินค้าเกษตรภายในประเทศเพื่อสร้างสมดุลระหว่างการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและการปกป้องผลประโยชน์ของผู้ผลิตภายในประเทศ บังคับใช้กฎระเบียบด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้า เร่งแก้ไขประเด็นที่คาดว่าสหรัฐฯ อาจนำมาใช้อ้างเป็นเหตุผลในการกีดกันทางการค้า เช่น การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีและกระจายตลาดส่งออก ตลอดจนรักษาสมดุลความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศต่าง ๆ พร้อมทั้งพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันในทางการค้า เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากสงครามการค้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

-031

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • พฤติกรรมการบริโภคผลไม้ ปี 2568 พฤติกรรมการบริโภคผลไม้ ปี 2568
  • ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนมิถุนายน 2568 ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนมิถุนายน 2568 ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ
  • สนค.แนะไทยเร่งหาตลาดใหม่ หลังจีนยกเลิกแบนอาหารทะเลญี่ปุ่น สนค.แนะไทยเร่งหาตลาดใหม่ หลังจีนยกเลิกแบนอาหารทะเลญี่ปุ่น
  • จับตาส่งออกสินค้าประมง หลังจีนยกเลิกแบนอาหารทะเลญี่ปุ่น จับตาส่งออกสินค้าประมง หลังจีนยกเลิกแบนอาหารทะเลญี่ปุ่น
  • สนค.ลงพื้นที่สกลนคร หนุนกินเนื้อ-นมในประเทศ สนค.ลงพื้นที่สกลนคร หนุนกินเนื้อ-นมในประเทศ
  • คต. จัดสัมมนาถิ่นกำเนิดสินค้าฯ เสริมเขี้ยวเล็บผู้ประกอบการไทย คต. จัดสัมมนาถิ่นกำเนิดสินค้าฯ เสริมเขี้ยวเล็บผู้ประกอบการไทย
  •  

Breaking News

(คลิป) ระทึก! นักกฎหมายดัง ฟันฉับ! สึนามิการเมือง จ่อถล่มรัฐบาล ส.ค.นี้ กวาดเรียบ!

ประเดิมส.ค.นี้!กำหนดวันเปิดสนามไทยลีกฤดูกาลใหม่

สตม.โชว์ผลงาน! รวบ'ชาวจีน'หนีคดีค้ายา-แชร์ลูกโซ่

เชิญชมเทศกาลศิลปะ ‘พระนคร ออน โอ่งอ่าง : หันน่าเข้าคลอง’ 11-13 ก.ค.นี้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved