สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration: FDA) ขยายระยะเวลาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าอาหารฉบับใหม่ออกไปอีก 30 เดือน เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมอาหารมีระยะเวลาเพียงพอในการนำข้อกำหนดของกฎระเบียบไปปฏิบัติได้อย่างครบถ้วน
นางอารดา เฟื่องทอง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ(คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 FDA ได้ประกาศขยายระยะเวลาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าอาหารฉบับใหม่ (Requirements for Additional Traceability Records for Certain Foods ) ออกไปอีก 30 เดือน จากเดิมมีกำหนดบังคับใช้ในวันที่ 20 มกราคม 2569 ซึ่งกฎระเบียบดังกล่าวครอบคลุมบัญชีรายชื่อสินค้าอาหาร
ที่กำหนดให้มีการตรวจสอบย้อนกลับ (The Food Traceability List : FTL) ดังนี้
โดยบัญชีรายชื่ออาหารที่มีการตรวจสอบย้อนกลับ (FTL) ประกอบด้วย ชีส (ทำจากนมพาสเจอร์ไรส์) สดนิ่มหรือนิ่มไม่สุก มะเขือเทศ (สด) ชีส (ทำจากนมพาสเจอร์ไรส์) สดนิ่มหรือกึ่งนิ่ม ผลไม้เมืองร้อน (สด) ชีส (ทำจากนมพาสเจอร์ไรส์) อื่นๆที่ไม่ใช่ชีสแข็ง ผลไม้ (ตัดสด)ไข่จากไก่เลี้ยง ผักอื่นที่ไม่ใช่ผักใบเขียว (ตัดสด),เนยถั่ว ปลาครีบ ชนิดที่ผลิตฮีสตามีน (สด แช่แข็ง และแช่แข็งมาก่อน) เช่น ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล และปลาหางเหลือง เป็นต้น แตงกวา (สด) ปลาครีบ สายพันธุ์ที่อาจปนเปื้อนซิกิวทอกซิน (สด แช่แข็งและแช่แข็งมาก่อน) เช่น ปลาเก๋า ปลาน้ำดอกไม้ และปลากะพง เป็นต้น สมุนไพร (สด) ปลาครีบ สายพันธุ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับฮีสตามีนและซิเกวทอกซิน (สด แช่แข็ง และแช่แข็งมาก่อน) ปลาค็อต ปลาแซลมอน และปลานิล เป็นต้น ผักใบเขียว (สด) ปลาครีบรมควัน (แช่เย็น แช่แข็ง และแช่แข็งมาก่อน) แตงโม (สด) สัตว์จำพวกกุ้ง (สด แช่แข็ง และแช่แข็งมาก่อน) เช่น กุ้ง ปู กุ้งมังกร และกุ้งแม่น้ำ เป็นต้น พริกขี้หนูสด หอยแครง หอยสองฝา (สด แช่แข็ง และแช่แข็งมาก่อน) ถั่วงอก (สด) สลัดพร้อมรับประทานแบบแช่เย็น
ทั้งนี้กฎระเบียบข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติปรับปรุงความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety Modernization Act: FSMA) ที่มีบังคับใช้ตั้งแต่ในวันที่ 20 มกราคม 2566 โดยผู้ที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ประกอบด้วย ผู้ประกอบการผลิต แปรรูป บรรจุ หรือเก็บรักษาสินค้าอาหาร ร้านค้าปลีก และร้านอาหารที่ครอบครองสินค้าอาหารที่อยู่ในบัญชี FTL ในสหรัฐฯ และต่างประเทศที่ผลิตอาหารสำหรับบริโภคในสหรัฐฯ ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานอาหาร ยกเว้นสถานประกอบการขนาดเล็กบางประเภท เรือประมง และสัตว์น้ำที่มีเปลือกบางชนิด ร้านค้าปลีก และร้านอาหารที่มีขนาดและยอดจำหน่ายตามที่กำหนดในกฎระเบียบ
โดยผู้ประกอบการที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบดังกล่าว จะต้องจัดทำรหัสรุ่นสินค้าเพื่อตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability Lot Code: LTC) แผนการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability Plan) บันทึกขั้นตอนสำคัญเพื่อติดตาม (Critical Tracking Events: CTE) และเก็บรักษาบันทึกข้อมูลหรือจัดส่งให้ FDA ตามที่กฎระเบียบกำหนด พร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ วารสารวิชาการ (Peer review) และข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) เพื่อจัดลำดับความเสี่ยงของอาหาร (Risk–Ranking of Foods) ที่จะเกิดอันตราย เช่น ความถี่ของการเกิดการแพร่ระบาด ลักษณะและความรุนแรงของโรค ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปนเปื้อน หรือแนวโน้มที่จุลินทรีย์จะเติบโต เป็นต้น
นางอารดา กล่าวว่า การออกกฎระเบียบการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าอาหารของสหรัฐฯ มีเป้าหมายเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชนให้ปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร และเพื่อให้ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับอาหารที่จะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ให้สามารถนำออกจากท้องตลาดได้อย่างทันท่วงที
ทั้งนี้จากสถิติปี 2567 พบว่าไทยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารไปยังสหรัฐฯตามบัญชี FTL หลายรายการ เช่น สัตว์จำพวกกุ้ง (พิกัดอัตราศุลกากร 0306 และ 1605 ) ไปสหรัฐฯ 11,886 ล้านบาท คิดเป็น 25.10% ของมูลค่าการส่งออกของไทยทั้งหมด 47,362 ล้านบาท หรือมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งในการส่งออกกุ้งของไทย ดังนั้นผู้ประกอบการที่มีการส่งออกสินค้าตามบัญชี FTL ไปสหรัฐฯ จะต้องเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าอาหารที่ FDA กำหนด โดยสามารถศึกษากฎระเบียบเพิ่มเติมได้ที่ https://www.fda.gov ก่อนการเริ่มบังคับใช้ต่อไป
-032
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี