วันเสาร์ ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
คนค้าออนไลน์ไทยร้องระงม จี้รัฐสร้างช่องทางขายของตัวเอง ลดพึ่งพาแพลตฟอร์มดัง

คนค้าออนไลน์ไทยร้องระงม จี้รัฐสร้างช่องทางขายของตัวเอง ลดพึ่งพาแพลตฟอร์มดัง

วันจันทร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 14.47 น.
Tag : กมธ.พาณิชย์ฯ ผู้ประกอบการค้าออนไลน์ แม่ค้าออนไลน์ วุฒิสภา
  •  

กมธ.พาณิชย์ฯ วุฒิสภา จัดสัมมนารับฟังเสียงของผู้ประกอบการค้าออนไลน์ เสนอให้รัฐสนับสนุนการสร้างช่องทางขายของตัวเองลดการพึ่งพาแพลตฟอร์มดังอย่างเดียว พร้อมเสนอสารพัดปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อภาพรวมตลาด E-Commerce ไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะที่มูลค่าตลาด E-Marketplace ปี 2024 สูงถึง 1.8 ล้านล้านบาท

19 พ.ค.68 คณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา จัดสัมมนา "e-Commerce กลืนชาติ : ฟังเสียงคนค้าออนไลน์ไทยก่อนจะสาย” ที่อาคารัฐสภา โดยมี นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กูล ประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา เป็นประธานเปิดสัมมนา โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งไทยและต่างประเทศ ผู้ประกอบการขนส่ง และผู้ที่สนใจมารับฟังเป็นจำนวนมาก เพื่อบอกถึงอุปสรรคในการค้าออนไลน์ พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้กมธ.นำไปเสนอหน่วยงานเกี่ยวข้องดำเนินการแก้ปัญหา


ดร.เอกชัย เรืองรัตน์ รองประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ฯ (กมธ.) เปิดเผยว่า การจัดสัมมนาครั้งนี้ได้รับรู้ถึงความต้องการของผู้ประกอบการโดยตรง ทำให้เราทราบว่าอะไรที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าออนไลน์ อะไรที่ผู้ประกอบการต้องการให้หน่วยงานรัฐแก้ปัญหา กมธ.จึงต้องเป็นสื่อกลางระหว่างหน่วยงานรัฐและผู้ประกอบการโดยตรง เพราะการค้าออนไลน์มีมูลค่ามหาศาลนำรายได้เข้าประเทศจำนวนมาก 

ดร.เอกชัย กล่าวว่า ภาพรวมตลาด E-Commerce ไทย มูลค่าตลาด E-Marketplace ปี 2024 ประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท มีส่วนแบ่งตลาด E-Marketplace ประกอบด้วย Shopee: 40.9% (ประมาณ 330,946 ล้านบาท) Lazada: 34.9% (ประมาณ 282,474 ล้านบาท) TikTok: 24.1% (ประมาณ 195,051 ล้านบาท) ซึ่ง 70% ของรายได้มาจากค่าบริการโดยเฉลี่ยอยู่ที่  3% โดยพฤติกรรมผู้บริโภค  Shopee และ Lazada ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้บริโภคนิยมเข้าชมมากที่สุดใน 30 วันที่ผ่านมา โดย Shopee มีสัดส่วน 75% และ Lazada 68%

ดร.เอกชัย กล่าวว่า ข้อเสียการขายผ่าน Market Place มีหลายอย่าง อาทิ การแข่งขันสูง เจอคู่แข่งทั่วประเทศ และต่างประเทศ ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม มีแนวโน้มจะปรับราคาขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าใครอยากยอดขายดีต้อง ซื้อโฆษณา ใน Marketplace ให้ช่วยดัน เราไม่ใช่เจ้าของ Platform ปรับแก้อะไรไม่ได้ ข้อมูลไม่ใช่ของเรา ลูกค้า โดนปิดกั้น และหาก Marketplace ปิดร้านค้าเราขึ้นมา เราจะไม่สามารถควบคุมอะไรได้ ดังนั้นทางออกของผู้ประกอบการไทยคือ ต้องมีช่องทางการขายของตัวเอง (Owned Channel) เพื่อ ลดการพึ่งพา Marketplace

สำหรับ ข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานถ้าเป็นปัญหาแพลตฟอร์มและระบบขนส่งคือ แพลตฟอร์มบังคับใช้ขนส่งที่กำหนด ทำให้ผู้ขายไม่สะดวก และแก้ไขปัญหายากเมื่อเกิดข้อผิดพลาด, แพลตฟอร์มชอบดองเงินผู้ขาย 7-14 วัน ควรจ่ายเร็วขึ้น,แพลตฟอร์มบังคับให้ส่งของรวดเร็วเกินไป สร้างความลำบากแก่ผู้ขาย และแพลตฟอร์ม TikTok เปลี่ยนขนส่งเองโดยไม่แจ้งผู้ขายล่วงหน้า โดยผู้ประกอบการมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมและการแข่งขันคือ ค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์มสูงแต่บริการแย่ลง,ขอให้ลดค่าธรรมเนียมและควบคุมการเก็บเงินที่ไม่เป็นธรรม,เรียกร้องให้รัฐเก็บภาษีกับสินค้านำเข้ารายย่อยจากจีนอย่างเข้มงวด และต้องการลดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมจากสินค้าทุ่มตลาดและสินค้าปลอม

นอกจากนั้น ยังมีปัญหาสินค้าปลอมและสินค้านำเข้า โดยสินค้าปลอมและสินค้านำเข้าที่ไม่ถูกต้องยังแพร่หลายบนแพลตฟอร์ม ยังมีการปลอมแบรนด์ไทยและขายตัดราคาอย่างหนักใน Marketplace จึงต้องการให้แพลตฟอร์มตรวจสอบคุณภาพสินค้านำเข้าจากจีนและสินค้าผิดกฎหมาย สินค้าจากจีน เช่น วัสดุก่อสร้างและสารเคมีอันตรายเข้ามากระทบธุรกิจไทย จึงมีข้อเสนอเชิงเทคนิคและเชิงระบบคือ อยากให้รัฐพัฒนาระบบกลางตรวจสอบเลข อย. และข้อมูลสินค้าก่อนโพสต์ขาย บังคับให้ Marketplace ที่มีรายได้สูงเปิด API เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงข้อมูลได้ แนะนำใช้แชทบอทแก้ปัญหาการติดต่อผู้ขายและลูกค้า และควรเปิดให้ระบบเชื่อมต่อการชำระเงิน การจัดส่ง และการจัดการคำสั่งซื้ออย่างเสรี

“ยังมีข้อเสนอให้รัฐควรเปิดข้อมูลเพื่อลิงก์เช็คข้อมูลสินค้า เช่น การตรวจสอบเลข อย. เมื่อผู้ขายกรอกข้อมูลบนแพลตฟอร์ม เพื่อยืนยันความถูกต้องก่อนโพสต์ขาย ข้อเสนอให้กำหนดสัดส่วนสินค้าบริการของไทยบนแพลตฟอร์มที่ให้บริการในประเทศ เพื่อส่งเสริมสินค้าไทยและลดการผูกขาดจากสินค้านำเข้า การสร้างระบบแจ้งเตือนและรายงานสินค้าผิดกฎหมาย และเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การเปิดข้อมูลควรเชื่อมต่อกับหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบ  เช่น อย. , กรมทรัพย์สินทางปัญญา, กรมศุลกากร เพื่อการตรวจสอบที่ครบถ้วนและอัปเดตข้อมูลทันที”ดร.เอกชัย กล่าว

รองประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ฯ กล่าวว่า ยังมีข้อเสนอให้รัฐบาลและหน่วยงานรัฐควรตั้งแพลตฟอร์มกลางของไทย และสนับสนุนแพลตฟอร์มไทยให้แข่งขันได้ อยากให้รัฐบังคับ Marketplace เปิดเผยข้อมูลผู้ขายและลูกค้า เพื่อความโปร่งใส รัฐควรมีมาตรการควบคุมสินค้านำเข้าเลี่ยงภาษี และตั้งกำแพงภาษีที่เหมาะสม สนับสนุนการใช้ระบบกลางสำหรับการเปิดใบเสร็จและใบกำกับภาษีในแพลตฟอร์ม เรียกร้องให้รัฐมีระบบแจ้งเตือนและช่องทางร้องเรียนที่เข้าถึงง่าย

อย่างไรก็ตาม อยากให้รัฐส่งเสริมผู้ประกอบการไทยและ SMEs อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การลดภาษีหรือสนับสนุนทุน ผู้ประกอบการขอให้มีกฎหมายและการบังคับใช้ที่เท่าเทียมและเข้มงวด อีกทั้งมีข้อสังเกตคือ ทุกประเทศกำลังพยายามลดการนำเข้าสินค้าจีนราคาถูกที่เข้ามาทุ่มตลาดในประเทศ แต่ทำไมประเทศไทยยังคงอนุญาตให้มีการทุ่มตลาดราคาสินค้าเข้ามาในตลาดของเราอยู่ ขอให้ภาครัฐช่วยจัดการ

ทั้งนี้ ยังมีข้อเสนอที่เห็นว่าเป็นประโยชน์คือ ควรมีการจัดทำกฎหมายควบคุมแพลตฟอร์มดิจิทัลและ e-Commerce อย่างครอบคลุม เสนอจัดประชามติหรือร่างกฎหมายใหม่เพื่อควบคุมแพลตฟอร์มใหญ่ เช่น Facebook และ Marketplace ต้องการสร้างกลไกตรวจสอบและป้องกันสินค้าปลอมที่เข้ามาผ่านแพลตฟอร์ม เพราะปัญหาที่กล่าวมาผู้ประกอบการไทยได้รับผลกระทบ เจ้าของแบรนด์และ SME ไทยได้รับผลกระทบจากสินค้าปลอมและตัดราคา ผู้ประกอบการถูกกดดันด้านราคาและโปรโมชั่นจนต้นทุนสูงขึ้น ผู้ขายที่ทำถูกต้องตามกฎหมายส่วนใหญ่ขาดทุนและไม่สามารถแข่งขันได้ อย่างไรก็ตาม การสร้างช่องทางขายของตัวเอง (own-channel) เป็นทางออกแต่ยังไม่เพียงพอหากขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ห่วงถูกคนไทยรังแก! ‘ฮุน เซน’เรียกร้องแรงงานชาวกัมพูชาเดินทางกลับประเทศ

'คุณหญิงสุดารัตน์' จี้นายกฯ รีบออกแถลงการณ์บอกชาวโลก ไทยไม่รับอำนาจศาลโลก

รุมจวก'อิ๊งค์' ห่วงศึก 'อิหร่าน-อิสราเอล' แต่เขมรหันปืนใส่เงียบ

'ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร'ถูกไล่ออกข้าราชการ เซ่นปมฮั้วประมูลก่อสร้างในแก่งกระจาน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved