นางชึก วาน ฟาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการลงทุน ประจำภูมิภาคเอเชีย (Chief Investment Officer, Asia) ของเอชเอสบีซี ไพรเวท แบงค์ (HSBC Private Bank)กล่าวว่าความไม่แน่นอนด้านนโยบายได้ท้าทายแนวคิด ‘ความพิเศษเหนือชาติอื่นของอเมริกา’ (US exceptionalism) และส่งแรงกดดันต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตามเราคาดการณ์ว่ากำไรของภาคธุรกิจจะยังคงแข็งแกร่ง มาตรการลดภาษี การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) รวมถึงนโยบายกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมและการผ่อนคลายกฎระเบียบจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของตลาดหุ้นสหรัฐฯ แต่เราคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะไม่เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อ แต่คาดว่าการเก็บภาษีที่สูงขึ้นอาจทำให้การเติบโตของ GDP ของสหรัฐฯ ชะลอตัว เหลือเพียง 1.6% ในปี 2568 และ 1.3% ในปี 2569 การเติบโตของกำไรจากการลงทุนใน AI และการสนับสนุนจากนโยบายที่เป็นมิตรต่อตลาดครึ่งปีหลังจะช่วยเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ และหุ้นทั่วโลก เล็กน้อย
“แนวทางสหรัฐฯที่ให้ความสำคัญกับการเจรจาช่วยเสริมบรรยากาศการลงทุนในตลาดเอเชีย เราจึงเพิ่มน้ำหนักลงทุนในหุ้นเอเชีย ที่ได้รับแรงหนุนจากปัจจัยภายในประเทศและนโยบายภาครัฐ เช่น จีน อินเดีย และสิงคโปร์ประเทศเหล่านี้มีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ต่ำมาก โดยอยู่ที่ 2.2%, 3.3% และ 2.0% ตามลำดับ” นางชึก กล่าว
“เศรษฐกิจจีนมีความเปราะบางต่อภาษีของสหรัฐฯ น้อยลงกว่าช่วงปี 2561 เพราะจีนลดการพึ่งพาการค้าโดยตรงกับสหรัฐฯ เหลือเพียง 13% ของการนำเข้าสหรัฐฯ ที่มาจากจีน และมีไม่ถึง 15%ของการส่งออกของจีนที่ไปยังสหรัฐฯ โดยในปี 2567ประมาณ 70% ของเศรษฐกิจทั่วโลกมีการค้ากับจีนมากกว่าสหรัฐฯทำให้เอเชียเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพในการดึงดูดนักลงทุนระหว่างประเทศที่ต้องการกระจายความเสี่ยงจากการถือครองสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ ไปสู่ตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ในเอเชีย” นางชึก กล่าว
“ตราสารหนี้คุณภาพดี เป็นเครื่องมือสำคัญในการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน โดยเฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัว และขณะที่ยังมีมูลค่าที่น่าดึงดูด เราจึงเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษ และตราสารหนี้การลงทุนของยุโรป แม้จะมีความกังวลต่อปัญหาหนี้และการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ แต่เรายังคงมีมุมมองเป็นกลางต่อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และพันธบัตรเอกชนของสหรัฐฯ เนื่องจากมีอัตราผลตอบแทนที่สูงและมีค่าความเสี่ยงต่ำ” นางชึก กล่าว
เอชเอสบีซี ไพรเวท แบงค์ แนะ 4 กลยุทธ์การลงทุนไตรมาส 3 ปี 2568
1. เพิ่มการลงทุนในหุ้น โดยกระจายความเสี่ยงผ่านภูมิภาคและกลุ่มอุตสาหกรรมการขยายการลงทุนในหุ้นอย่างทั่วถึงช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธีมการลงทุนใหม่ ๆ ช่วยลดผลกระทบจากการปรับตัวของตลาดที่ไม่คาดคิด
2. คว้าโอกาสการเติบโตทั่วโลกจากการนำ AI มาใช้และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI ยังคงขยายตัวรวดเร็วในทุกอุตสาหกรรม โดยเปลี่ยนการให้ความสำคัญจากกลุ่มฮาร์ดแวร์และเซมิคอนดักเตอร์ต้นน้ำ ไปยังกลุ่มซอฟต์แวร์และองค์กรที่นำ AI มาใช้จริงในระดับกลางถึงปลายน้ำ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากการประยุกต์ใช้ AI และกระบวนการสร้างรายได้เชิงพาณิชย์
3. ลดความเสี่ยงของพอร์ตด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก การกระจายสินทรัพย์ และกลยุทธ์การลงทุนในสินทรัพย์ผสมสามารถช่วยลดความผันผวนของพอร์ตในช่วงที่ตลาดมีความไม่แน่นอนสูงได้ โดยสามารถทำหน้าที่ป้องกันความเสี่ยงด้านขาลงในตลาดหุ้น พันธบัตร และสกุลเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพิ่มโอกาสจากความแข็งแกร่งภายในของเอเชียและการเติบโตเชิงโครงสร้างภายใต้สภาวะความไม่แน่นอนทางการค้าโลกซึ่งเอเชียยังคงเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพในการกระจายความเสี่ยงและโอกาสการเติบโตในระยะยาว โดยเฉพาะตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยการบริโภคภายในประเทศ เช่น จีน อินเดีย และสิงคโปร์
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี