ดีใจมากๆ ตั้งตารอดูตั่งแต่ รู้ข่าวว่า โหมโรงเดอะมิวสิคัล จะคืนเวที กลีบมารีสเตทใกม่ เปิดแสดงอีกครั้ง ในวาระครบรอบ 10 ปี
โหมโรง เดอะมิวสิคัล เปิดแสดงรอบแรก ประเดิมเปิด โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ที่เปิดทำการครั้งแรก 31 มีนาคม 2558 โดยเปิดแสดงในปีนี้ถึง 2 ครั้ง รีสเตทในเดือนพฤศจิกายน และ ถูกนำมารีสเตท ใหม่อีกครั้ง ในช่วงเดือน พฤษภาคม ปี 2561
ได้ดู โหมโรง เดอะมิวสิคัล ครั้งแรก เมื่อ วันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2558 และดูซ้ำ ตอนรีสเตท ทั้งสองครั้ง และก็ชอบทั้งสามเวอร์ชั่นโหมโรง ฉบับหนังใหญ่ เป็นหนังไทยที่ได้ดูมาไม่ต่ำกว่า30-40รอบ เฉพาะตอนเข้าโรงฉายดูไป 10 รอบ 3 วันแรก ดูซ้ำ3 รอบ จัดเป็น หนังไทยในดวงใจ อันดับต้นๆ เสียน้ำตาทุกครั้งที่ได้ดูในชีวิต รักชอบเรื่อง ที่พูดถึง ดนตรีไทย การตีระนาด มีแค่ โหมโรง กับละครช่อง7 สี 2 เรื่อง ระนาดเอก กับ ทิพย์ดุริยางค์
น่าเสียดาย ฉบับที่นำมาสร้าง เป็นละครโทรทัศน์ นั้น อยากดู แต่ ไม่เคยได้ดูสักตอนเดียว คิดที่เวลา ออกอากาศ สมัยนั่น ยังไม่มีสตรีมมิ่ง ด้วย เลยอดดูการกลับมา รีเสตท ในรอบ 10 ปี เหมือนกับ การได้กลับมาเจอ ของรัก ของชอบอึกครั้ง บรรยากาศเดิมๆ ดีๆ เก่าๆ ขิง โหมโรงเดอะมิวสิคัล กลับมาครบ มีเปลี่ยนแค่ นักแสดงหลักบางคนแม้ โหมโรง เดอะมิวสิคัล คือ ละครเวทีอันดับต้นๆที่อยู่ในใจ รักชอบ ยังจำภาพ/รายละเอียดต่างๆ ได้ดี แต่กับ เพลงร้อง อาจจะลืมเลือนไปบ้าง ซึ่งกลายเป็นเรื่องดี ไม่มีการเปรียบเทียบ
โหมโรง เดอะ มิวสิคัล (2568) รอบที่ดูคือรอบมิตรสหาย รอบแรกที่แสดงจริงบนเวที เลยอาจจะเต็มไปด้วยข้อผิดพลาด การแสดงอาจจะยังไม่ดี แต่ด้วย ความชอบ ในตัวเรื่อง เห็นถึงความตั้งใจของนักแสดง/ทีมงาน เลยมองข้าม ความไม่สมบูรณ์ ข้อผิดพลาด และข้อตำหนิติเตียน จนสนุกไปกับละคร
โหมโรงเดอะมิวสิคัล นำเสนอในแบบของละครเพลงแนวมิวสิคัล ตัวละครร้องเพลงเล่าเรื่อง เล่าความรู้สึก ผ่านเนื้อเรื่องตัดสลับ2 ช่วงอายุคือ นายศร ตั้งแต่เด็กจนเริ่มมีชื่อเสียง กับท่านครูในยุคสมัยที่ศิลปวัฒนธรรมไทย กำลังถูกต่างชาติคุกคาม รายละเอียดต่างๆ คล้ายกับในเวอร์ชั่นหนังใหญ่ เพียงแต่มีการดัดแปลง บางสิ่งบางอย่าง บางช่วงอาจจะดูดีเมื่อเป็นหนัง แต่ไม่เหมาะกับการแสดงสด บางอย่างตัดไปทำให้เรื่องกระชับดูดีขึ้น บางส่วนใส่เข้ามา เรื่องจะได้สนุกมากขึ้น
สังข์-ธีรวัฒน์ อนุวัตรอุดม ผู้กำกับ นำ โหมโรง เดอะมิวสิคัล กลับมาใหม่ แทบจะถอดของเดิมมาเป๊ะๅ ยังคงดีงาม ออกมาดูสมบูรณ์ปราณีต เสื้อผ้า/หน้า/ผม มาแบบจัดเต็ม เล่าเรื่องเข้าใจง่าย จังหวะต่างๆ ดูลงตัวทั้งการเล่าเรื่องพูดคุยปกติ หรือเล่าด้วยเสียงเพลง การตัดสลับไปมาสองยุคดูดีมีลูกเล่น ฉากต่างๆ ดูดี ฉากโชว์มัลติมีเดียก็ไม่เลว
มีการดัดแปลง บางช่วงบางฉาก เพื่อให้ทันสมัย เพิ่มความสนุกมากขึ้น ได้โดยแทบจะไม่รู้สึก ถึงการเปลี่ยนแปลง
โปรดักชั่นเริ่ดๆ ไม่ใหญ่มากมาย แต่ออกมาดี สวยงาม ในทุกๆ ส่วน ชอบการจัดแสง ที่เพิ่มความขลังให้กับ ดนตรีไทย ฉากทั้งในธรรมชาติ ในวัง ในเมือง ดีมากๆ
โหมโรงเดอะมืวสิคัล ยังคงเป็น ละครเวที ที่แสดงความเป็นไทย ดนตรีไทย มาผสมผสานกับ ละครเวทีแนวมิวสิคัล ได้แบบลงตัว รวมทั้ง ตัดสลับไปมา ในสองช่วงวัย ศรสมัยวัยรุ่น กับท่านครูในวัยชรา ที่ทำออกมาได้ดี
การได้ดู โหมโรงเดอะมิวสิคัล ฉบับนี้ ทำให้ น้ำตาซึมโดยไม่รู้ตัว ตั้งแต่ เริ่มมีเสียงดนตรีไทยดังออกมาจากบนเวที และทุกๆ ฉากทุกๆ ตอน ที่มีเสียงดนตรีไทย ที่ทะลุอินเข้าไปถึงข้างใน เป็นน้ำตา แห่งความสุขเสียงดนตรีไทย ภาพดนตรีไทยบนเวที ชวนให้ นึกย้อนไปถึง ภาพเก่าๆ บรรยากาศเดิมๆ ที่เคยเล่นดนตรีไทย ตีระนาดในวัยเด็ก
ด้วยความที่เป็นละครเวที ทำให้หลายฉาก โดนใจ เข้าไปถึงข้างใน ดูสมจริง มากกว่า ตอนเป็น หนังหรือละครทีวี ที่อาจจะรู้สึกใช้การตัดต่อ ใช้นักแสดงแทนด้วยความที่เป็นเรื่องของดนตรี เมื่อมาดูสดๆ เลยให้ความรู้สึกใกล้ชิด ดูเป็นธรรมชาติ เหมือนมานั่งดู การแสดงดนตรีติดขอบเวที
ฉากประชันดนตรี ชวนให้นึกถึง ตอนไปดู ประชันวงดนตรี ระดับโรงเรียน หรือแบบใหญ่ๆ อย่างวัดพระพิเรนทร์ หรือ ฉากวงดนตรี ในบ้านท่านครู ใช่เลยบรรยากาศครอบครัวสมัยเรียนดนตรีไทย มาแบบเต็มๆในฉบับนี้ มีหลายๆ ฉากหลายๆ ทั้งฉากโชว์ ฉากใหญ่ ฉากเล็ก ที่ชอบ มากๆ อาทิ ฉาก ประชันระนาด ศรกับขุนอิน ยังคงสุดยอดดีงาม ต้องชม อาร์ม ที่ดูเก่งขึ้น มากกว่าเดิม ข้อแขน ฝีมือในการตีระนาดดีงาม มากๆ (ต้องชม ครูเบิ่ง ขุนอิน ที่ปล่อยฝีมือ ช่วยให้ ภาพบนเวที ออกมาดีงาม)
ต้องชมทั้ง อาร์ม กับ ครูเบิ่ง ที่รับส่งการตีระนาด ได้ดี มากๆ
ช่วงที่ เทิด มา บ้านพ่อครูครั้งแรก วงดนตรีไทยในบ้าน กับ เพลงแนะนำเครื่องดนตรีไทย กลายเป็น ฉากที่ชอบมากที่สุด ดูดี ดูอบอุ่น มากที่สุด เพลงไพเราะเนื้อเพลงเยี่ยม ผสมกับ เสียงดนตรีไทย รอบวง ที่มีพลังมากๆ ฉากนี้อยอุ่น น่ารักมากกกกก ฉากศร นอนบนเรือ เริ่มคิดกลับมาเล่นดนตรีไทยอีกครั้ง ภาพที่สวยงามมากจริงๆ ขยี้ด้วย เสียงร้องของ อาร์ม
แต่ที่ทำให้ ขนลุก..ยิ้มทั้งน้ำตา ตื้นตัน มากๆ แบบคาดไม่ถึง กลับไม่ใช่ ฉากในละคร กลายเป็น ช่วงละครจบ ครูเบิ่ง นำทีม นักแสดงที่เล่นดนตรีมาพร้อมระนาดเอก เต็มเวที เป็นการปิดท้าย ที่งดงามอีกฉากหนึ่งที่ชอบ ยิ้มมากๆ คือ เด็กน้อยในชุดนักแสดง ที่มากับเพลงปลุกใจ ดูน่ารักมากๆ ดีใจ..ที่ใส่ เพิ่มฮานี้เข้ามา ทำให้ ความรู้สึก เรื่องการเมือง ดูเบาลง
หรือ ฉากสุดท้าย ของท่านครู ที่ล้อมด้วย แม่โชติ ลูกชาย ทิวกับเทิด เล่นเอาน้ำตาซึมก่อนที่จะ ส่งท้ายด้วย เสียงร้องเพลงของ เด็กชายศร นายศร และ ท่านครูแม้โดยรวม จะชอบ มากมาย แต่ สิ่งที่กลับไม่ต่อยโดน ไม่ค่อยอิน นัก ในฉบับนี้ คือ ในส่วนของ ทหาร เรื่องของท่านผู้นำ มันดูลอยๆ เลยทำให้ดูแล้วเฉยๆพี่ตู่-นพพล โกมารชุน พลังล้นเหลือ คือ ท่านครู ที่ใช่ ดูอบอุ่น ใจดี เล่นดี นิ่งๆ ดูเป็นธรรมชาติ ทำให้ละครดูอบอุ่นในช่วงอยู่กับ ลูกศิษย์ ดูจริงจังดราม่าเมื่อต้องปะทะกับทหาร หรือน้ำตาซึมเมื่อต้องจากไปไม่เพียงแต่พลังการแสดงที่ดีงามบนเวที ฉากร้องเพลง ทุกฉาก อาจจะไม่ ใสกิ๊ก เหมือนนักร้องอาชีพ แต่ก็ส่งพลัง เป็นธรรมชาติ ออกมาจากข้างในจริงๆ ไม่ใช่การแสดง
เช่นเดียวกับ การตีระนาด..เชื่อว่าเป็นท่านครู จริงๆ
อาร์ม-กรกันต์ สุทธิโกเศศ สุดยอดมากๆ เล่นเก่งมากๆ เป็น ศร นักระนาดที่ใช่ น้ำเสียงสีหน้าท่าทางออกมาดีงาม ที่ต้องชมคือ การตีระนาด ที่ไม่ธรรมดา ดูพริ้วไหว สมกับที่เป็นสุดยอดมือระนาดจริงๆ (แม้อาจจะมีบางช่วงที่ฟังแล้ว เพี้ยนไปบ้างก็ตาม) รวมทั้ง เสียงร้องเพลง ทั้งช่วง ที่ร้องเล่าเรื่อง แสดงความรู้สึกในใจ หรือ เพลงรักกับ แนน-สาธิดา
ครูเบิ่ง-ทวีศักดิ์ อัครวงษ์ ยังคงเป็น ขุนอิน ที่ดูเหมาะ ตีระนาดดูดุดัน ฉากดวลที่แพ้ให้ศร ก็ทำได้เนียน เก่งครับ เล่นดีดูดุในตอนที่เอาชนะ หรือทำให้ น้ำตาซึม ตอนที่ ศรมากราบ แล้วพูดส่งท้าย
จ๋าย ไททศมิตร-อิชณน์กร พึ่งเกียรติ์รัศมี มาดเข้มๆ กับบท พันโทวีระ น้ำเสียงการแสดงดีมากๆ ตอนต้นๆ อาจจะเฉยๆ แต่พอถึง ฉากท้ายไคลแม็กซ์ ที่ปะทะกับ พ่อครู ส่งพลังรับส่งบทได้อย่างยอดเยี่ยม หลังจากได้ยินเสียง เพลง ลาวดวงเดือน ของท่านครู คือ ฉากดราม่าที่สุดฉากหนึ่งของละคร
น่าเสียดาย ที่แม้จะเล่นดี แต่เพราะ รูปร่างความสูง เลยรู้สึกว่าดูกลืนๆ ไปกับ ลูกน้องนายทหาร ไม่ดูเด่นโดด ออกมาเหมือนที่ โย่ง อาร์มแชร์ -อนุสรณ์ มณีเทศ แสดงไว้ในฉบับก่อน
แม่โชติ แนน-สาธิดา พรหมพิริยะ มาไม่กี่ฉาก แต่เสียงร้องความน่ารักก็ช่วยเติมส่วนความหวาน ได้มากทีเดียว ละลายไปกับ เพลงลั่นทม ดูแล้วรักไปกับฉากรักของ แนน กับ อาร์ม
อาร์ม-แนน เหมือนถูกสต๊าฟ แม้จะผ่านมาถึง 10 ปี แล้ว แต่ก็ยังดูเด็กเหมือนเดิมส่วน แม่โชติ ในวัยชรา ใหม่-ณัฐฐา ลอยด์ ที่ดูอบอุ่น สมกับเป็นคู่ชีวิตกับท่านครู (อาจจะดูลดวัย ดูเด็กกว่าที่ ดวงใจ หทัยกาญจน์ กับ สุดา ชื่นบาย เคยแสดงเอาไว้)
ศรัทธา ศรัทธาทิพย์ กลับมารับบท ครูเทียม อีกครั้ง มาไม่เยอะ แต่ก็เสียงหัวเราะ ดูไปยิ้มไป ขำไป ในทุกๆ ฉาก ฉากร้องเพลงสอน ศร นั้น น่ารัก ชวนให้นึกถึง เสียงร้องของ เจี๊ยบ-วัชระ ปานเอี่ยม กับวงเฉลียงบท ครูเทียม คาใจ อยู่นิด ตั่งแต่ หนังใหญ่ คือ เป็นครูที่เก่ง ขนาด ขุนอิน ยังทัก น่าจะมีฉากโชว์ ตีระนาด สักนิด น่าจะดี 555
นาย-มงคล สะอาดบุญญพัฒม์ ขยับจากบท ทิว เพื่อนศร จากครั้งที่แล้ว มารับบท เปี๊ยก ที่เรียกเสียงหัวเราะ ในมุขคำพูดท่าทางขำๆ ในช่วงต้น แต่น่าเสียดาย ที่พอมาถึง ช่วงชะตากรรมท้ายเรื่อง เพราะภาพตลก แม้จะเล่นดีดูจริงจัง ดูน่าสงสาร แต่ก็ไม่ทำให้เสียงน้ำตา เหมือนที่ เอ๋ เชิญยิ้ม ทำได้ในเวอร์ชั่นที่แล้วเพลงโชว์ ที่ นาย ร้อง น่ารักๆ ออกแนววงเฉลียง อย่างชัดเจน
แบ๊งค์-เฉลิมรัฐ จุลโลบล ดูน่ารักๆ กับบท เทิด ลูกทืว ผู้มาพร้อมกับฉิ่งคู่ใจ ที่ได้เล่นทั้งบทสบายๆ ผ่อนคลาย บทแอ็คชั่นเล็กๆ หรือดราม่า และที่ดีที่สุดกับฉาก ที่ยก มือไหว้ ผู้พันวีระ ในตอนท้ายบอม- สุทธิศักดิ์ สินเจริญ มารับบท ครูสิน พ่อศร กับ ณัฐชัย สิรินันทโชติ เป็นทิววัยหนุ่ม ก็เล่นได้ดี เข้าฉากด้วยกัน ส่งบทไปมาในหลายฉาก
เด็กชายศร ที่แสดงโดย น้องเก้า-ดช.เกิดเก้า ธีระพันธ์ ก็ดูน่ารักๆ ที่มีเด็กชายทิว คู่หู ที่เล่นได้น่ารัก แบบ แพ็คคู่
นักแสดงหลักๆ ทุกๆ คนโอเค แต่ที่อยากชม จากใจจริง คือ ทีมนักแสดงสมทบทุกๆคน ทั้งที่มาในส่วนดนตรีไทย นักดนตรี หรือคอรัส ที่เข้ามารับบทสมทบสลับกันไปมาในหลายบท ทำให้เรื่องออกมาดูสมบูรณ์ดูดีมากๆนักแสดงดนตรีไทย เล่นเป็นธรรมชาติ ทำให้ เสียงดนตรีไทย ในเรื่อง ดูดี ฟังไพเราะ ก้องกังวาน. เสนาะหูตลอดเรื่อง
เพลงแสนคำนึง จีนดอกไม้ เพลงเชิดต่อตัว และทุกๆ เพลงดนตรีไทย ฟังแล้ว ทะลุเข้าข้างใน ไพเราะ โดนใจ เข้าไปถึงข้างในนักแสดงทีมคอรัส นักเต้น ชัดเจนในความเป็น ละครเวทีแนวมิวสิคัล หลายคนคุ้นๆ หน้าคุ้นตา มาจากละครเวทีเรื่องอื่นๆแต่คนที่อยากชมมากเป็นพิเศษคือ คนที่เล่นเป็นเสด็จ ที่มาพร้อกับ น้ำเสียงที่ทรงพลังกังวานการแสดงละครเวทีมาแบบจัดเต็ม ทุกฉากที่ออกเรียกรอยยิ้ม ฉีกภาพมาดเข้มจากฉบับในหนังหรือคนที่รับบทเป็น ทิววัยชราสลับกับบทเสด็จอีกท่านที่มาดูประชัน มาน้อยแต่ดูดี
ท้ายสุด..สุดท้าย.. อยากจะขอบคุณพี่อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ ที่คิดเรื่องนี้ขึ้นมาผู้กำกับ สังข์ ครูเอ้-อัษฏาวุธ สาคริก และ เวิร์คพ้อยท์ ที่ทำให้เกิด และนำ ละครเวทีที่น่าอัศจรรย์เรื่องนี้คืนเวที อีกครั้งขอบคุณนักแสดง/. นักดนตรี/นักร้อง ทีมงาน ทุกๆ ฝ่าย ทุกคน ที่ทำให้ละครสนุกและต้องขอบคุณ ท่านครูหลวงประประดิษฐ์ไพเราะ ที่ทำให้ ดนตรีไทย ไม่มีวันตาย จนถึงทุกวันนี้โหมโรงเดอะมิวสิคัล ฉบับนี้ ดีงาม ชอบมากรักมาก ไม่แพ้เวอร์ชั่นก่อนๆ เข้าไปอยู่ในอันดับต้นๆ ของละครเวทีในดวงใจ จัดเป็นละครเวทีที่ดีที่สุดของ เวิร์คพอยท์
อาจจะไม่ใช่ ละครเวทีที่ดีที่สุด แต่ก็ สามารถเข้าไปสู่ในใจ ..ได้ไม่ยากนักแนะนำๆ คอละครเวทีต้องไม่พลาด จัดแสดงวันที่ 4 - 18 พฤษภาคมนี้ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ
ซื้อบัตรผ่านระบบ Thaiticketmajor เท่านั้น !ซื้อบัตรสูงสุดได้ 6 ใบ / ครั้ง (แต่ไม่จำกัดจำนวนครั้งในการซื้อ)โทร 02-262-3456
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี