วันพฤหัสบดี ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
สื่อญี่ปุ่นยก‘ไทย-อินโดฯ’ตัวอย่างดราม่าปั่นกระแสการเมือง ห่วงเพิ่มแตกแยก

สื่อญี่ปุ่นยก‘ไทย-อินโดฯ’ตัวอย่างดราม่าปั่นกระแสการเมือง ห่วงเพิ่มแตกแยก

วันพุธ ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, 22.04 น.
Tag : ดราม่า แตกแยก ไทย-อินโดนีเซีย ปั่นกระแสการเมือง สื่อญี่ปุ่น
  •  

สื่อญี่ปุ่นยก‘ไทย-อินโดฯ’ตัวอย่างดราม่าปั่นกระแสการเมือง ห่วงเพิ่มแตกแยก

22 พ.ค. 2562 เว็บไซต์ นสพ. Nikkei Asian Review ของญี่ปุ่น เผยแพร่บทความ “Populism and identity politics damage Southeast Asian democracy” โดยเปรียบเทียบการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันของ 2 ชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) คือไทยและอินโดนีเซีย ไทยนั้นมีการเลือกตั้งในเดือน มี.ค. 2562 ส่วนอินโดนีเซียเลือกตั้งในเดือน เม.ย. ปีเดียวกัน


ประเด็นแรก..สำหรับไทยนั้นแม้จะเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 5 ปี และฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารถูกควบคุมอย่างหนัก แต่ประชาชนไทยร้อยละ 66 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 52 ล้านคน ก็ออกไปใช้สิทธิ์ บรรยากาศเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย อีกทั้งพบว่าคนรุ่นใหม่ดูจะกระตือรือร้นเป็นพิเศษกับการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่ต่างจากในอินโดนีเซีย แม้จะมีประชากรกว่า 193 ล้านคนที่มีสิทธิเลือกตั้ง อีกทั้งมีเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งที่เสียชีวิตเพราะปฏิบัติหน้าที่อย่างหนักจนเหนื่อยล้า แต่บรรยากาศการเลือกตั้งก็เป็นอย่างเรียบร้อยเช่นกัน

ประเด็นที่สอง..การเลือกตั้งของทั้ง 2 ประเทศ พบการใช้ประโยชน์จากความรู้สึกตึงเครียดในสังคมและการเมืองซึ่งก็ได้ผลดี โดยในประเทศไทย ความแตกแยกระหว่างนโยบายอนุรักษ์นิยมกับประชานิยมยังดำเนินต่อไปท่ามกลางความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ภาพสะท้อนที่สำคัญคือผู้คนในจังหวัดทางภาคกลางลงคะแนนให้พรรคการเมืองที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมและสนับสนุนรัฐบาลทหาร ในขณะที่ผู้คนทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงซึ่งยากจนกว่ายังคงเทคะแนนให้กับพรรคเพื่อไทย อันเป็นขั้วการเมืองของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

ไม่ต่างจากในอินโดนีเซีย สังคมได้แตกแยกออกเป็น 2 ฝั่ง โจโก วิโดโด ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ได้รับความนิยมในเขตที่ผู้คนเรียนรู้ที่จะอยู่กันแม้จะนับถือศาสนาที่แตกต่าง ขณะที่ ปราโบโว สุเบียนโต คู่แข่งคนสำคัญ ได้รับเสียงสนับสนุนในพื้นที่ที่ต้องการผลักดันประเด็นความเคร่งครัดในศาสนาอิสลาม ความแตกแยกในสังคมของทั้ง 2 ประเทศ ทำให้เกิดความไม่มีเสถียรภาพ

ประเด็นที่สาม..ดูเหมือนผู้มีอำนาจของทั้ง 2 ประเทศ มีแนวโน้มไปในทางกัดเซาะการปฏิรูปประชาธิปไตย ในประเทศไทย

นอกจากพรรคเพื่อไทยแล้ว พรรคอนาคตใหม่ที่ก่อตั้งโดยมหาเศรษฐีหนุ่ม ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ถูกกระทำทุกวิถีทางเพื่อสกัดกั้นทางการเมือง ซึ่งทั้ง 2 พรรคอยู่ตรงข้ามกับรัฐบาลทหาร ขณะที่ในอินโดนีเซีย ปราโบโวที่แพ้การเลือกตั้งประท้วงว่าการเลือกตั้งไม่โปร่งใส และขู่ว่าจะก่อการชุมนุมบนท้องถนน แต่กลุ่มผู้สนับสนุน ปธน.โจโก เห็นด้วยกับมาตรการควบคุมการชุมนุมที่เด็ดขาด แม้จะต้องใช้เครื่องมือรุนแรงแบบยุคเผด็จการก็ตาม

ประเด็นที่สี่..การเลือกตั้งครั้งล่าสุดของทั้ง 2 ประเทศ ดำเนินไปอย่างเรียบร้อยและรวดเร็วด้วยความช่วยเหลือจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ การตรวจสอบมีประสิทธิภาพสูงขึ้นจนยากจะเกิดการโกงการเลือกตั้ง แต่ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองฝ่ายต่างๆ พยายามตีความผลการเลือกตั้งในลักษณะสร้างความแตกแยก และเทคโนโลยีไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาการโจมตีทางการเมืองแบบดั้งเดิม แม้ประชาธิปไตยจะถูกทำให้เสื่อมเสียโดยไม่ตั้งใจ แต่ก็อาจไม่ใช่ผลลัพธ์ที่ดี

บทความนี้วิเคราะห์ว่า ในการแข่งขันทางการเมือง นักการเมืองจะต้องหาฐานทางสังคมและสร้างตัวตนขึ้นเพื่อให้ได้รับคะแนนเสียง นำไปสู่การแสดงออกในเชิงรักชาติแบบสุดโต่งหรือการเหยียด ทำให้เกิดความตึงเครียดในสังคม แต่หลังจากนั้นผู้คนจะโหยหาความสงบและมีเสถียรภาพ นำไปสู่การเรียกร้องให้รัฐใช้แนวทางเผด็จการอำนาจนิยมเข้าควบคุมสถานการณ์ ขณะที่สื่อออนไลน์ยังมีบทบาทไม่ว่าในที่ใดของโลก ในการระดมความคิดเห็นที่ก่อให้เกิดความแตกแยก เช่น ทางเชื้อชาติหรือศาสนา

ข้อคิดจากการเลือกตั้งของทั้ง 2 ประเทศในสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มุมหนึ่งแม้จะมีความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงการเพิ่มขึ้นของศาสนิกชน แต่ก็มีความพยายามควบคุมการรณรงค์ทางการเมืองในระดับหนึ่ง ยกเว้นในบางประเทศที่น่าเป็นห่วง เช่นกรณีของอินโดนีเซียที่เกี่ยวกับอัตลักษณ์ของผู้นับถือศาสนาอิสลาม และกรณีของไทยที่มีผู้มองว่านโยบายประชานิยมเชื่อมโยงกับแนวคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นสาธารณรัฐ

ดังนั้นสิ่งที่ทั้ง 2 ชาติควรทำเพื่อจัดระเบียบการรณรงค์ทางการเมืองหรือการหาเสียงเพื่อไม่ให้การเลือกตั้งนำไปสู่ความไร้เสถียรภาพ คือการควบคุมถ้อยคำที่มีเนื้อหายั่วยุให้เกิดความรุนแรง แต่ก็ต้องไม่ก้าวล่วงไปถึงการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามปกติในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งก็มีตัวอย่างที่น่าสนใจ ในอินโดนีเซีย ฝ่าย ปธน.โจโก มีการประนีประนอมกับผู้นำศาสนาเพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามนำไปใช้ปลุกระดมทางการเมือง ส่วนฝ่ายของปราโบโวก็หาเสียงภายใต้กฎระเบียบที่ป้องกันถ้อยคำที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech)

ส่วนประเทศไทยนั้น สื่อออนไลน์ถือเป็นพื้นที่ที่ท้าทายต่อการควบคุม โดยเฉพาะผู้ให้บริการรายใหญ่อย่างเฟซบุ๊ค (Facebook) ที่กำลังพยายามพัฒนามาตรการป้องกัน เช่นเดียวกับสมาคมผู้ประกอบอาชีพสื่อมวลชนมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านการทำงานอย่างเป็นธรรมและเป็นมืออาชีพ โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคประชาสังคม ทั้งนี้ ไมเคิล วาติคิโอติส ผู้เขียนบทความ ย้ำว่า หากผู้ควบคุมการเลือกตั้งทำงานอย่างเป็นอิสระไม่ถูกแทรกแซงทางการเมือง ก็จะทำให้บรรดาคนดังทางการเมืองยอมรับผลการเลือกตั้งได้ง่ายขึ้น

ไมเคิล ให้เหตุผลว่า ความตึงเครียดในไทยและอินโดนีเซียส่วนใหญ่พบว่ามาจากข้อสงสัยในการนับคะแนนที่ผิดพลาดและผลคะแนนโดยรวมออกมาล่าช้าทำให้เกิดข้อสงสัยว่าผลการเลือกตั้งอาจถูกแทรกแซง และกล่าวอีกว่าตอนนี้ส่วนใหญ่กฎระเบียบว่าด้วยการเลือกตั้งเน้นหนักไปที่การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมักประพฤติตัวดีกว่านักการเมือง และในระยะยาวคนเหล่านี้จะทำให้การเลือกตั้งมีความมั่นคงมากขึ้น

ที่มา : https://asia.nikkei.com/Opinion/Populism-and-identity-politics-damage-Southeast-Asian-democracy?fbclid=IwAR3OI6bkPcit3zWdSAXddoqAG8WUFyryoSgW4HdzS-sNemRnlR_iJshjBSs

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • พระไทยใจเขมร! \'หลวงตาสุจ\'ได้อยู่\'กัมพูชา\'สมใจ ลั่นจะไม่กลับประเทศไทย พระไทยใจเขมร! 'หลวงตาสุจ'ได้อยู่'กัมพูชา'สมใจ ลั่นจะไม่กลับประเทศไทย
  •  

Breaking News

'วัส ติงสมิตร'ชี้'หมอ-พยาบาล-จนท.ราชทัณฑ์'ไม่รอด เตรียมรับวิบากกรรม ป่วยทิพย์ชั้น 14

นักธุรกิจการเมืองทำรัฐล้มเหลว! 'สมชาย'ชี้คอร์รัปชันเชิงนโยบาย บ่อนทำลายพลังอำนาจแห่งชาติ

'สมเด็จพระสังฆราช'ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันอาสาฬหบูชา

'สมเด็จฮุน เซน'กลัวมากถ้า'คนไทย'จะรักตนเอง แซะเจ็บไทยควรโฟกัสผู้นำตัวเองดีกว่า

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved