วันพฤหัสบดี ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
คุยกัน7วันหน : เลิกกฎหมาย ‘หย่าด้วยวาจา’  ชัยชนะของหญิงมุสลิมอินเดีย

คุยกัน7วันหน : เลิกกฎหมาย ‘หย่าด้วยวาจา’ ชัยชนะของหญิงมุสลิมอินเดีย

วันอาทิตย์ ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : คุยกัน7วันหน
  •  

เกิดเป็นหญิงอินเดีย โดยเฉพาะหญิงมุสลิม เขาว่ามีความทุกข์หลายอย่าง

สิทธิอันพึงมีพึงได้ต่างๆ เทียบไม่ได้กับฝ่ายชาย ทั้งเรื่องการศึกษา การทำงาน ชีวิตความเป็นอยู่ หลายอย่างเสียเปรียบมาก แค่ต้องเป็นฝ่ายยกขันหมากเสียงเงินเสียทองหมั้นหมายแต่งงานกับฝ่ายชายเอง ก็ไม่ต้องพูดอะไรกันอีกแล้ว


แถมแต่งงานไป ก็ไม่รู้ว่าจะต้องกลายเป็นม่ายตอนไหนก็ไม่รู้

นั่นเพราะ “ตาลัค” (Talaq) วาจาศักดิ์สิทธิ์ที่ฝ่ายสามีใช้ ไม่ว่าจะเป็นการพูดแบบออกเสียงต่อหน้าภรรยา พูดผ่านคนกลาง โทรศัพท์มาบอก หรือแม้แต่ส่งเป็นข้อความหรือทางไลน์ เพียง 3 ครั้ง ก็สามารถหย่าขาดจากผู้เป็นภรรยาได้แบบง่ายๆ โดยคำว่า “ตาลัค” เป็นภาษาอาหรับ หมายความว่า “เราหย่าขาดจากกันเถอะ”

คำว่า “ตาลัค” ทำให้มีหญิงผู้นับถือศาสนาอิสลามหลายพันคนถูกสามีทอดทิ้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พวกเธอรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมและต้องเผชิญความยากลำบากในการหาเลี้ยงชีพ ภรรยาหลายคนถูกสามีบอกหย่าร้างผ่านทางข้อความตัวอักษรทางโทรศัพท์ แอพพลิเคชั่นสนทนาต่างๆ และโปรแกรมสไกป์อย่างง่ายดายโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที

แต่สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ประชุมสส.อินเดีย หรือโลกสภา เสียงส่วนใหญ่ลงมติอนุมัติสนับสนุน 99 เสียง ต่อคัดค้าน 84 เสียง ให้ยกเลิกกฎหมายหย่าฝ่ายเดียวดังกล่าวแล้ว หลังจากศาลสูงอินเดียพิจารณาเรื่องนี้นานถึง 2 ปี กว่าจะตัดสินชี้ว่ากฎหมายฉบับนี้ละเมิดสิทธิเสรีภาพสตรีมุสลิม ซึ่งในอินเดียมีพลเมืองมุสลิมอยู่มากราว 170 ล้านคน แต่หลายประเทศทั่วโลกมากกว่า 20 ชาติ รวมถึงปากีสถานและบังกลาเทศ ก็ยกเลิกหรือห้ามกฎหมายฉบับนี้ไปแล้ว โดยให้เหตุผลว่าเป็นธรรมเนียมที่ไม่ปรากฏอยู่ทั้งในกฎหมายชารีอะฮ์และในคัมภีร์อัลกุรอาน หลังจากนี้ มติดังกล่าวจะถูกส่งถึงสภาสูงและเสนอเรื่องถึงประธานาธิบดีอนุมัติรับรองบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นทางการ ซึ่งหลังจากนี้หากชายชาวมุสลิมฝ่าฝืนใช้วิธีการหย่าแบบเดิมจะถือว่ามีความผิด อาจต้องโทษจำคุกสูงสุด 3 ปี

ขณะที่ฝ่ายคัดค้านการยกเลิกกฎหมายฉบับนี้ในอินเดีย รวมถึงบรรดาผู้นำทางศาสนามุสลิม ต่างพยายามสกัดกั้นเรื่องนี้มาตลอด โดยอ้างว่ารัฐบาลพรรคบีเจพีของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี พุ่งเป้าเล่นงานชาวมุสลิม และว่าการเปลี่ยนแก้ไขกฎหมายหย่าร่างของชาวมุสลิมที่มีมานานหลายร้อยปี ควรให้ผู้นำชุมชนชาวมุสลิมพิจารณากันเองไม่ใช่หน้าที่รัฐบาล ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์กล่าวหาพรรคบีเจพี ว่า มีอคติต่อชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิม แต่พรรคบีเจพีปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้รอบรู้คำสอนศาสนาอิสลามของอินเดียบอกว่า คัมภีร์อัลกุรอานได้บัญญัติถึงวิธีการหย่าร้างที่ถูกต้องไว้แล้วอย่างชัดเจน โดยกระบวนการดังกล่าวต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้คู่สมรสได้ทบทวนไตร่ตรองและมีโอกาสประนีประนอมกัน รวมทั้งป้องกันการตั้งครรภ์หลังการหย่าร้างด้วย ไม่ได้เพียงแค่หย่ากันแบบง่ายๆ ด้วยคำเพียงคำเดียว

ความเคลื่อนไหวล่าสุดนี้ ถือเป็นเรื่องน่ายินดีของสตรีในอินเดียเพิ่มขึ้นอีกเรื่อง หลังจากเมื่อปีที่แล้ว ศาลสูงอินเดียก็เพิ่งมีคำตัดสินครั้งประวัติศาสตร์ด้วยเสียงเป็นเอกฉันท์ว่า มาตรา 497ว่าด้วยการกระทำผิดฐานคบชู้ของประมวลกฎหมายอาญา ขัดต่อรัฐธรรมนูญและให้ยกเลิกมาตรานี้ แต่การมีเพศสัมพันธ์นอกสมรสยังคงเป็นเหตุผลที่ใช้ในการหย่าร้างได้

กฎหมายมาตรานี้ถูกประกาศใช้ตั้งแต่ 158 ปีที่แล้วในยุคที่อินเดียเป็นอาณานิคมของอังกฤษ โดยกำหนดว่า หากชายคนใดหลับนอนกับผู้หญิงที่แต่งงานแล้วโดยไม่ได้รับการยินยอมจากสามีของฝ่ายหญิงถือว่าเป็นการคบชู้ และเป็นอาชญากรรมที่ผู้ชายอาจต้องรับโทษจำคุกถึง 5 ปี

ที่ผ่านมา รัฐบาลยืนยันว่า กฎหมายมาตราว่าด้วยการคบชู้ยังคงต้องมีไว้เพื่อคุ้มครองความศักดิ์สิทธิ์ของการแต่งงาน แต่กลับมีผู้ยื่นร้องเรียนให้ศาลวินิจฉัยเพื่อยกเลิกมาตรานี้จำนวนมาก เพราะถูกนำไปใช้โดยอำเภอใจและเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง

คำตัดสินของศาลระบุว่า ความคิดที่ว่าการคบชู้เป็นอาชญากรรม เป็นเรื่องการถอยหลังเข้าคลอง กฎหมายมาตรานี้ลิดรอนเกียรติศักดิ์ศรีและทางเลือกแต่ละบุคคลของผู้หญิง รวมทั้งทำให้ผู้หญิงเป็นเหมือนสมบัติของผู้ชาย

ขณะที่ก่อนหน้านั้น ศาลสูงอินเดียก็ตัดสินยกเลิกกฎหมายยุคอาณานิคมที่ควบคุมทางเลือกทางเพศของพลเมือง 1,250 ล้านคนของอินเดีย ด้วยการคว่ำกฎหมายที่ห้ามเพศสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันมาแล้ว

ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่น่ายินดีและเหมือนเป็นชัยชนะสำหรับสตรีมุสลิม รวมถึงขบวนการพิทักษ์สิทธิสตรีในอินเดีย ที่น่าจะทำให้พวกเธอมีสิทธิในการดำรงชีวิตมากขึ้น

@koopnot01

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ชำแหละ 4 ข้อ 'ทักษิณ'โชว์วิสัยทัศน์! 'หลงยุค หลงตัวเอง ขายฝัน แก้ตัว'

'ยุน ซอกยอล'อดีตปธน.เกาหลีใต้ติดคุกอีกรอบ ศาลอนุมัติหมายจับหวั่นหลักฐานถูกทำลาย

'วัส ติงสมิตร'ชี้'หมอ-พยาบาล-จนท.ราชทัณฑ์'ไม่รอด เตรียมรับวิบากกรรม ป่วยทิพย์ชั้น 14

นักธุรกิจการเมืองทำรัฐล้มเหลว! 'สมชาย'ชี้คอร์รัปชันเชิงนโยบาย บ่อนทำลายพลังอำนาจแห่งชาติ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved