วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
‘ยุ่งยาก-ล่าช้า’สื่อญี่ปุ่นตีข่าวปฏิรูประเบียบราชการทันสมัย งานท้าทาย‘บิ๊กตู่’

‘ยุ่งยาก-ล่าช้า’สื่อญี่ปุ่นตีข่าวปฏิรูประเบียบราชการทันสมัย งานท้าทาย‘บิ๊กตู่’

วันอังคาร ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562, 12.29 น.
Tag : ตีข่าว บิ๊กตู่ ปฏิรูประเบียบราชการ ยุ่งยาก ล่าช้า สื่อญี่ปุ่น
  •  

‘ยุ่งยาก-ล่าช้า’สื่อญี่ปุ่นตีข่าวปฏิรูประเบียบราชการทันสมัย งานท้าทาย‘บิ๊กตู่’

1 ต.ค. 2562 เว็บไซต์ นสพ. Nikkei Asian Review ของญี่ปุ่น เผยแพร่บทความ “Thailand faces red tape overload as it awaits Prayuth's guillotine” ว่าด้วยปัญหาความล่าช้าของกลไกภาครัฐหรือระบบราชการ เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้าได้ยาก ซึ่งสาเหตุมาจากการมีกฎหมายประเภทต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นเรื่องท้าทายว่าจะรัฐบาลไทยจะปฏิรูปเรื่องนี้ได้หรือไม่


ก่อนหน้านี้ในยุครัฐบาลทหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เข้าควบคุมอำนาจบริหารประเทศไทยในปี 2557 และดำเนินการหลายอย่างเพื่อให้เกิดการปฏิรูป หนึ่งในนั้นคือการตั้งคณะกรรมการสังคายนากฎหมาย (Guillotine Project) ที่มีอดีตผู้บริหารธนาคารกรุงเทพ กอบศักดิ์ ภูตระกูล (Kobsak Pootrakool) มานั่งเป็นประธาน ทำหน้าที่ตรวจสอบกฎหมายว่าด้วยการขออนุญาตต่างๆ ที่ซ้ำซ้อนและสะสมมาหลายทศวรรษ โดยได้แรงบันดาลใจมาจาก เกาหลีใต้ ที่ยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายล้าสมัยไปเป็นจำนวนมาก จนทำให้ประเทศพัฒนาต่อไปได้

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ (Deunden Nikomborirak) นักวิชาการจากสภาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) องค์กรคลังสมองที่ช่วยผลิตนโยบายด้านเศรษฐกิจให้กับรัฐบาลไทยมาตั้งแต่ทศวรรษ 1980s (ปี 2523-2532) อธิบายเพิ่มเติมว่า กฎหมายที่มีอยู่จะถูกพิจารณาว่าจะทำอย่างไร ซึ่งมีอยู่ 4 ทางเลือกคือ “ตัด-เปลี่ยน-ควบรวม-ใช้ต่อไป (Cut-Change-Combine-Continue)” หรือก็คือการยกเลิก แก้ไข รวมที่ซ้ำซ้อนไว้ด้วยกัน และที่ยังเหมาะสมกับยุคสมัยอยู่ก็ให้ใช้ต่อไป  

บทความนี้ยกตัวอย่างข้อกฎหมายที่น่าสนใจว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เช่น การกำหนดให้ผู้ที่ให้ที่พักพิงกับชาวต่างชาติต้องกรอกแบบ ตม.30 (TM30) และส่งไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ภายใน 24 ชม. ตามกฎหมาย พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 (1979 Immigration Act) ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าสร้างภาระอย่างมากกับชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศไทยระยะยาว เช่น มาเรียนมาทำงาน รวมถึงผู้ที่มาใช้ชีวิตหลังเกษียณ

หรือการควบคุมผู้ผลิตเบียร์ กฎหมายไทยปัจจุบันกำหนดให้ผู้ขออนุญาตต้องมีกำลังการผลิตอย่างน้อยปีละ 10,000 กิโลลิตร และมีเงินทุนจดทะเบียนอย่างน้อย 10 ล้านบาท เป็นอุปสรรคต่อผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องการผลิต “คราฟท์เบียร์ (Craft Beer)” นอกจากนี้ยังพูดถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D printing) ที่ถูกห้ามเพราะกังวลว่าอาจมีผู้นำไปใช้ทำอาวุธปืน

ในยุคของรัฐบาลทหารนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (Prayuth Chan-ocha) นายกรัฐมนตรี มีอำนาจพิเศษ “มาตรา 44” ในฐานะหัวหน้า คสช. ที่สามารถทำอะไรก็ได้ดังใจปรารถนา เวลานั้นมีการคาดหวังว่า หาก พล.อ.ประยุทธ์ ใช้อำนาจที่เปรียบเสมือน “ไม้เท้าเวทย์มนต์ (Magic Wand)” เพื่อการปฏิรูป อาจได้รับความนิยมทางการเมืองมากขึ้น แต่ปัจจุบัน พล.อ.ประยุทธ์ ไม่มีของวิเศษชิ้นนั้นอีกแล้ว เมื่อเขาเข้ารับตำแหน่งนายกฯ ในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในเดือน ก.ค. 2562 เนื่องจากรัฐธรรมนูญระบุให้สถานะของ คสช. สิ้นสุดลงเมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่

คำถามคือรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ วันนี้จะทำอะไรได้บ้าง เนื่องจากมีพรรคร่วมรัฐบาลมากถึง 19 พรรค การรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลอาจกลายเป็นสิ่งสำคัญกว่าการปรับปรุงกฎระเบียบในการทำธุรกิจ รัฐบาลไทยอาจรู้สึกสบายใจจากรายงานการจัดอันดับความสะดวกในการเริ่มต้นธุรกิจ (Doing Business) โดยธนาคารโลก (World Bank) ในปี 2562 ที่ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 27 จาก 190 ประเทศทั่วโลก ดีขึ้นกว่าในปี 2559 ที่ไทยอยู่อันดับ 46 แต่มีการตั้งข้อสังเกตว่าที่เป็นเช่นนั้นเพราะธนาคารโลกปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้คะแนน

แม้จะมีโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) หรือยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ที่ตั้งเป้าหมายว่าประเทศไทยจะต้องเป็นประเทศพัฒนาแล้วในอีก 20 ปีข้างหน้า แต่อุปสรรคสำคัญอยู่ที่กฎหมายและระเบียบต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับสิงคโปร์ ประเทศที่เล็กกว่าไทยแต่ดึงดูดการลงทุนได้มากกว่า รศ.ดร.ภวิดา ปานะนนท์ (Pavida Pananond) นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายว่า ระบบราชการของไทยยังมีลักษณะต่างคนต่างอยู่ (Silo) หน่วยงานต่างๆ เคยชินกับการดูแลแต่พื้นที่ของตนเอง แม้จะเป็นผลเสียต่อประเทศในภาพรวม

อนึ่ง พ.ร.บ.หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.2562 (2019  Regulatory Impact Assessment Act) ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อเดือน พ.ค. 2562 และจะมีผลบังคับใช้ในเดือน พ.ย. ปีเดียวกัน น่าจะช่วยให้ผู้ออกกฎหมายในประเทศไทยได้ประเมินความมีประโยชน์ของกฎหมายที่จะออกมาได้ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ไทยยังเป็นส่วนหนึ่งในเวทีเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) น่าจะส่งเสริมการประสานความร่วมมือกันมากขึ้นด้านแนวปฏิบัติของกฎระเบียบที่ดี

“หวังว่ากฎหมายที่ออกมาใหม่ๆ จะมีคุณภาพดีขึ้น คงจะไม่มีกฎหมายประเภทที่เขียนแบบคลุมเครือหรือบังคับใช้อย่างเกินขอบเขตซึ่งสนับสนุนการใช้ดุลพินิจ นั่นคือสิ่งที่น่ารังเกียจ” ชาวต่างชาติรายหนึ่ง กล่าว

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://asia.nikkei.com/Spotlight/Asia-Insight/Thailand-faces-red-tape-overload-as-it-awaits-Prayuth-s-guillotine

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

22วันเขย่าไม่หยุด! 'ญี่ปุ่น'เกิดแผ่นดินไหวใกล้ทะลุ1,900ครั้ง สั่งเฝ้าระวังต่อเนื่อง

(คลิป) ถาม! 'กกต.' ดังๆ 'ทักษิณ' ตำแหน่งอะไร? ร่วมประชุมทีมไทยแลนด์

(คลิป) ใครแต่งตั้ง 'ทักษิณ' ปฎิบัติหน้าที่แทน'อุ๊งอิ๊งค์'

'แม่ทัพกุ้ง'เตรียมบุกกรุง พบปะ'เด็กช่างอุเทนถวาย' รับมอบ'บลูบังเกอร์'ให้ทหารชายแดน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved