วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
'ไม่เก่งภาษาอังกฤษ'ปัญหาหนักอก วาระแห่งชาติที่'ญี่ปุ่น'อยากปฏิรูป

'ไม่เก่งภาษาอังกฤษ'ปัญหาหนักอก วาระแห่งชาติที่'ญี่ปุ่น'อยากปฏิรูป

วันอังคาร ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562, 11.51 น.
Tag : ข่าวต่างประเทศ ญี่ปุ่น ไม่เก่งภาษาอังกฤษ วาระแห่งชาติ
  •  

‘ไม่เก่งภาษาอังกฤษ’ปัญหาหนักอกและวาระแห่งชาติที่‘ญี่ปุ่น’อยากปฏิรูป

12 พ.ย. 2562 เว็บไซต์ นสพ. The Japan Times ของญี่ปุ่น เผยแพร่บทความ “Why Japan's English education is a fiasco” ซึ่งเขียนโดย คุนิ มิยาเกะ (Kuni Miyake) ประธานสถาบันนโยบายต่างประเทศ และผู้อำนวยการวิจัยสถาบัน Canon เพื่อการศึกษาโลก เมื่อ 11 พ.ย. 2562 ตามเวลาท้องถิ่น ว่าด้วยปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษของชาวญี่ปุ่นที่ไม่ดีนัก แม้จะมีการเรียนการสอนในหลักสูตรการศึกษาก็ตาม


บทความอ้างถึงการประชุม “Asia-Pacific Think Tank Summit” โดยหัวข้อสำคัญคือ “การจัดการการเปลี่ยนผ่าน , การค้าและความสับสน : บทบาทของคลังสมอง (Managing Transitions, Trade and Turmoil: The Role of Think Tanks)” ซึ่งมี คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) องค์การสหประชาชาติ (UN) เป็นเจ้าภาพหลักจัดงาน ณ สำนักงาน UN กรุงเทพฯ ประเทศไทย เมื่อสัปดาห์แรกของเดือน พ.ย. 2562 ที่ผ่านมา

การประชุมครั้งนี้เป็นงานรวมตัวของนักวิชาการ 120 คนจากกว่า 30 ประเทศ ในวันที่ 2 ของการประชุมมีการบรรยายในหัวข้อ “อนาคตของความมั่นคงและมั่งคั่งของเอเชียแปซิฟิก (The Future of Security and Prosperity of Asia Pacific)” ซึ่งพบว่า ผู้ร่วมอภิปรายจากเยอรมนี สิงคโปร์ ศรีลังกา อินเดียและเกาหลีใต้ แต่ละคนล้วนใช้ภาษาอังกฤษบอกเล่าปัญหาด้านความมั่นคงที่ซับซ้อนในภูมิภาคนี้ได้เป็นอย่างดี 

แต่ผู้ร่วมงานที่เป็นนักวิชาการชาวญี่ปุ่นมีท่าทีแตกต่างออกไป พวกเขาดูเงียบๆ แม้จะสังเกตว่ามีคำถามที่ต้องการหาคำตอบ ทั้งที่คนเหล่านี้คือผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายระหว่างประเทศ พวกเขาได้เรียนภาษาอังกฤษอย่างน้อย 6 ปี และหลายคนก็จบการศึกษามาจากต่างประเทศ แต่ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักวิชาการญี่ปุ่นกลับด้อยกว่านักวิชาการชาติอื่นๆ ในกลุ่มที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติ คำถามคือเกิดอะไรขึ้น

มิยาเกะ เล่าต่อไปถึงผลการสำรวจของ EF Education First บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาระหว่างประเทศ การฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม จัดอันดับทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของผู้คน 100 ประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติ ที่ออกมาในช่วงเดียวกัน พบว่า การจัดอันดับในปี 2562 ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับ 53 ลดลงจากปี 2561 ซึ่งอยู่ในอันดับ 49 จาก 88 ประเทศ โดยในทวีปเอเชีย สิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษได้ดีเป็นอันดับ 5 จาก 100 ประเทศ ฟิลิปปินส์อันดับ 20 เกาหลีใต้อันดับ 37 ไต้หวันอันดับ 38 และจีนอันดับ 40 

ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นเคยมีกำหนดการเปิดโครงการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษโดยภาคเอกชนสำหรับผู้เตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย ในปีงบประมาณ 2563 แต่สุดท้ายโครงการดังกล่าวก็ถูกเลื่อนออกไป โดย โคอิชิ ฮากิยูดะ (Koichi Hagiuda) รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่น ให้ความเห็นว่า นักเรียนควรมุ่งความสนใจไปที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ตามฐานะของแต่ละบุคคล ขณะที่ สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมปลายแห่งชาติ เรียกร้องให้ชะลอโครงการออกไป ให้เหตุผลว่าสุ่มเสี่ยงต่อการถูกเลือกปฏิบัติ

ในเวลานั้น สื่อมวลชนหลายสำนักในญี่ปุ่นวิพากษ์วิจารณ์กระทรวงศึกษาธิการอย่างหนัก อาทิ “ระบบใหม่บกพร่อง” (นสพ. Mainichi) , “เป็นการวางแผนที่ไม่ดี” (นสพ. Yomiuri) , “ความล้มเหลวของกระทรวงศึกษาธิการ” (นสพ.Nikkei) , “การเรียนภาษาอังกฤษไม่ควรให้ภาคเอกชนมาจัดทดสอบ” (นสพ.Sankei) และ “ปฏิรูปชั้นเรียนก่อนปฏิรูปการสอบ (นสพ.Asahi)” อย่างไรก็ตาม มิยาเกะ มีมุมมองที่ต่างออกไป

“ผมรู้สึกตกใจ กองบรรณาธิการสื่อมวลชนเหล่านั้นไม่เข้าใจวงจรอุบาทว์ในการศึกษาภาษาอังกฤษของชาวญี่ปุ่น การทดสอบโดยภาคเอกชนไม่ได้ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในระบบการศึกษา ท่ามกลางสถานการณ์ที่ชาวญี่ปุ่นเรียนภาษาอังกฤษจากครูสอนภาษาอังกฤษที่ไม่สามารถพูดหรือสื่อสารภาษาอังกฤษได้ จากประสบการณ์ของผม นักเรียนจะใช้ภาษาอังกฤษให้ดีไม่ได้เลยถ้าไม่ได้รับการสอนจากครูที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ดี ดังนั้นต้องบอกว่าการเรียนภาษาอังกฤษในญี่ปุ่นตลอด 100 ปีที่ผ่านมาล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง” มิยาเกะ กล่าวในบทความ

ผู้เขียนบทความนี้ ยังอ้างถึงบทบรรณาธิการของ นสพ. The Japan Times วันที่ 9 พ.ย. 2562 ที่พาดหัวว่า “อย่าแช่แข็งการปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ” ระบุว่า ระบบการทดสอบทักษาภาษาอังกฤษใหม่จะถูกเลื่อนออกไปจนถึงปี 2567 ทำให้การปฏิรูปในเรื่องนี้ล่าช้าออกไปเช่นกัน แต่ญี่ปุ่นนั้นล้าหลังในทักษะด้านภาษาอังกฤษ จึงไม่อาจเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ได้อีกแล้ว 

พร้อมกับแนะนำว่า ภาครัฐควรช่วยอุดหนุนงบประมาณหรือสนับสนุนผู้ประกอบการทดสอบภาษาอังกฤษภาคเอกชนในภูมิภาคต่างๆ เพื่อบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำของผู้เรียน สิ่งเหล่านี้ภาครัฐควรลงมือทำอย่างเต็มที่เสียก่อนกระทั่งเห็นว่ามันมีปัญหาที่แก้ไขไม่ได้จริงๆ แล้วค่อยบอกว่าจะยอมแพ้กับระบบใหม่ มิยาเกะ ย้ำอีกครั้งว่า ตนเองเรียนภาษาอังกฤษที่สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังเรียนภาษาจีนและภาษาอาหรับด้วย จึงเข้าใจดีว่าผู้เรียนไม่มีทางใช้ภาษาต่างประเทศได้เลย หากไม่ได้เรียนกับครูที่ใช้ภาษานั้นเป็นจริงๆ

อย่างไรก็ตาม มิยาเกะ ไม่ได้เจาะจงว่าหลังจากนี้ชาวญี่ปุ่นต้องเรียนภาษาอังกฤษกับครูชาวต่างชาติเท่านั้น แต่หมายถึงเรียนกับใครก็ได้ที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ดี ซึ่งก็ยังมีครูชาวญี่ปุ่นที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีอยู่ ทั้งนี้ การเลื่อนโครงการทดสอบภาษาอังกฤษระดับชาติออกไป เท่ากับกระทรวงศึกษาธิการรับประกันว่าชาวญี่ปุ่นทุกคนไม่ว่ายากดีมีจน จะมีทักษะภาษาอังกฤษที่ไม่ดีอย่างเท่าเทียมกัน

“สิ่งที่ต้องยอมรับคือการเรียนภาษาอังกฤษไม่ได้เป็นธรรมในแง่ผลลัพธ์แต่เป็นในแง่โอกาส แม้แต่เด็กๆ บนเกาะที่ห่างไกลก็ยังสามารถเรียนภาษาอังกฤษให้ดีได้ถ้าได้เรียนกับครูที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ดี ดังตัวอย่างกองทุนเพื่อการทดสอบ EF Standard English ของรัฐบาล นั่นคือก้าวแรกของการบรรลุเป้าหมายนี้” มิยาเกะ กล่าวทิ้งท้าย

หมายเหตุ : สำหรับการสำรวจ EF Education First นั้นในปี 2562 ไทยได้อันดับ 74 จาก 100 ประเทศ และลดลงจากปี 2561 ที่อยู่ได้อันดับ 64 จาก 88 ประเทศ

ขอบคุณเรื่องจาก https://www.japantimes.co.jp/opinion/2019/11/11/commentary/japan-commentary/japans-english-education-fiasco/#.XcoVutSLRkg

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'ญี่ปุ่น\'แผ่นดินไหวทะลุ1,000ครั้ง! แถลงการณ์ฉุกเฉินสั่งปชช.เตรียมพร้อมอพยพทุกเมื่อ 'ญี่ปุ่น'แผ่นดินไหวทะลุ1,000ครั้ง! แถลงการณ์ฉุกเฉินสั่งปชช.เตรียมพร้อมอพยพทุกเมื่อ
  • ไม่เผาผี! \'ทรัมป์\'ขู่เนรเทศ\'อีลอน มัสก์\' เหตุวิจารณ์งบประมาณไม่หยุด ไม่เผาผี! 'ทรัมป์'ขู่เนรเทศ'อีลอน มัสก์' เหตุวิจารณ์งบประมาณไม่หยุด
  • จับตา!! เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง3ครั้งติดใน\'คาโกชิมะ\' ช่วง12วันดินไหวเขย่าญี่ปุ่นเกือบ900ครั้ง จับตา!! เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง3ครั้งติดใน'คาโกชิมะ' ช่วง12วันดินไหวเขย่าญี่ปุ่นเกือบ900ครั้ง
  • \'อีลอน มัสก์\'ขู่โค่นนักการเมืองหนุนนโยบายภาษี-ใช้จ่าย\'ทรัมป์\' 'อีลอน มัสก์'ขู่โค่นนักการเมืองหนุนนโยบายภาษี-ใช้จ่าย'ทรัมป์'
  • \'คิม จองอึน\'ไว้อาลัยทหารเกาหลีเหนือ พลีชีพในสงครามรัสเซีย-ยูเครน 'คิม จองอึน'ไว้อาลัยทหารเกาหลีเหนือ พลีชีพในสงครามรัสเซีย-ยูเครน
  • \'สหรัฐ\'ระบุตัวมือปืน ก่อเหตุเผาป่าล่อจนท.ดับเพลิงก่อนซุ่มยิง 'สหรัฐ'ระบุตัวมือปืน ก่อเหตุเผาป่าล่อจนท.ดับเพลิงก่อนซุ่มยิง
  •  

Breaking News

ผลศึกษาพบ'ฝุ่นPM'เพิ่มความเสี่ยง'มะเร็งปอด' แม้ในคนไม่สูบบุหรี่

อากาศร้อน! 'โชต้า'เลือกขับรถกลางคืนก่อนเสียชีวิต

กระบะเลี้ยวเข้าซอย หนุ่มขี่มอไซค์มาทางตรงพุ่งชนเต็มแรง ร่างลอยตีลังกา 2 รอบตกพื้นเจ็บสาหัส

ปูพรมล่า'โก๋ กวดขุนทด'แหกคุกระหว่างรอดำเนินคดีลักเชือดวัว พบผูกผ้าห่มต่อข้ามกำแพง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved