วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
'อิเหนา'ให้วัคซีนโควิดหนุ่ม-สาวก่อนคนแก่ เหตุเป็นวัยขับเคลื่อนศก.-กลุ่มแพร่เชื้อสูง

'อิเหนา'ให้วัคซีนโควิดหนุ่ม-สาวก่อนคนแก่ เหตุเป็นวัยขับเคลื่อนศก.-กลุ่มแพร่เชื้อสูง

วันพฤหัสบดี ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564, 12.19 น.
Tag : คนแก่ คนหนุ่มสาว โควิด วัคซีนโควิด อินโดนีเซีย อิเหนา
  •  

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2564 สำนักข่าวอัลจาซีรา ของกาตาร์ เสนอรายงานพิเศษ Young people first: Indonesia’s COVID vaccine strategy questioned เมื่อวันที่ 13 ม.ค.2564 ระบุว่า ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลก เลือกฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ให้กับผู้สูงอายุก่อนเป็นกลุ่มแรก เช่น อังกฤษ คนแรกที่ได้ฉีดวัคซีนมีอายุ 90 ปี ส่วน แคนาดา อายุ 89 ปี หรือ เยอรมนี เป็นผู้มีอายุ 101 ปี แต่ใน อินโดนีเซีย ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่เผชิญสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 รุนแรงที่สุด รัฐบาลที่นั่นกลับคิดต่างออกไป

อินโดนีเซียมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมรวม 836,718 คน และมีผู้เสียชีวิตรวม 24,343 ราย รัฐบาลเลือกที่จะฉีดวัคซีนให้กับประชากรวัยหนุ่ม-สาว หรือวัยทำงานก่อนหน้าผู้สูงอายุ โดยหลังจากที่ทยอยฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรสาธารณสุขจำนวน 1.3 ล้านคน และผู้มีอาชีพบริการสาธารณะ ซึ่งรวมถึงตำรวจ ทหาร ครู และเจ้าหน้าที่รัฐ อีก 17.4 ล้านคน ระหว่างวันที่ 13 ม.ค.-31 มี.ค.2564 เรียบร้อยแล้ว คิวต่อไปก็จะเป็นประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 - 59 ปี


นาเดีย วิเคโค (Nadia Wikeko) โฆษกกระทรวงสาธารณสุขของอินโดนีเซีย ชี้แจงว่า เหตุที่เลือกฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชากรวัยหนุ่ม-สาว หรือวัยทำงานก่อนผู้สูงอายุ เพราะวัคซีนชนิดนี้ที่พัฒนาโดย ซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovac Biotech) บริษัทสัญชาติจีน ยังไม่มีผลการทดลองขั้นที่ 3 สำหรับประชากรสูงวัย โดยขณะนี้กำลังรอการพิจารณาของ BPOM หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของอินโดนีเซีย เพื่อให้มีความชัดเจนว่าวัคซีนชนิดนี้จะสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยกับผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปหรือไม่

รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า แผนการของรัฐบาลอินโดนีเซียกลายเป็นข้อถกเถียงในสังคม ในขณะที่ประชาชนจำนวนมากสนับสนุนแนวคิดนี้ อาทิ ปูตู (Putu) หญิงวัย 56 ปี ชาวเมืองบาหลี กล่าวว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่กับบ้าน โอกาสติดเชื้อโควิด-19 จึงน้อยกว่าประชากรวัยทำงาน การฉีดวัคซีนให้กับคนหนุ่ม-สาว จะทำให้พวกเขาสามารถไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ได้อย่างปลอดภัย ฝ่ายผู้เชี่ยวชาญกลับค่อนไม่เห็นด้วย

คิม มัลฮอลแลนด์ (Kim Mulholland) ผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนวิทยา จาก London School of Hygiene and Tropical Medicine ซึ่งประจำมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นของออสเตรเลีย ให้ความเห็นว่า ผู้สูงอายุในจีนและภูมิภาคตะวันออกกลางที่ได้รับวัคซีน ร่างกายก็ตอบสนองต่อวัคซีนได้ไม่ต่างจากคนหนุ่ม-สาว ดังนั้นข้อโต้แย้งที่ว่าผู้สูงอายุในอินโดนีเซียยังไม่ควรได้รับวัคซีนเพราะยังไม่มีผลการทดลองในส่วนนี้จึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง

รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า วารสารทางการแพทย์ที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงมากฉบับหนึ่งของโลกอย่าง The Lancet ตีพิมพ์บทความที่มีเนื้อหาระบุว่า ผุ้สูงอายุโดยเฉพาะผู้มีร่างกายอ่อนแอ หรืออาศัยอยู่ในสถานดูแลผู้ป่วยระยะยาว ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 อย่างไม่สมส่วน ดังนั้นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยในประชากรกลุ่มนี้จึงเป็นความคาดหวังอย่างกระตือรือร้น

เช่นเดียวกับ มัลฮอลแลนด์ ที่กล่าวว่า หากดูการศึกษาทั้งหมดที่ดำเนินการไม่ว่าจะประเทศใดในโลก จะพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 คืออายุ รวมถึงอินโดนีเซียที่ผู้เสียชีวิตจากไวรัสนี้ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 60 ปี ดังรายงานของกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย ที่ระบุว่า จำนวนผู้สูงอายุในอินโดนีเซียคิดเป็นเพียงร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ แต่มีถึงร้อยละ 39 ที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19

เรื่องนี้ทำให้ตนนึกถึงเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งที่เป็นชาวอินโดนีเซีย ที่กล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอาจหมายถึงการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) โดยมุ่งฉีดวัคซีนให้กับคนหนุ่ม-สาว เพราะเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการแพร่เชื้อสูง แต่ตนเห็นว่า ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานใดบ่งชี้เป็นที่ประจักษ์ว่าวัคซีนช่วยป้องกันไม่ให้ติดเชื้อและแพร่เชื้อ มีเพียงผลที่ว่าช่วยให้ผู้รับวัคซีนไม่มีอาการป่วยกรณีได้รับเชื้อเท่านั้น

อินโดนีเซียเป็น 1 ใน 6 ประเทศที่ซิโนแวคใช้เป็นพื้นที่ทดลองทางคลินิกระยะ 3 ของวัคซีนโควิด-19 ในชื่อวัคซีน “โคโรนาแว็ค (CoronaVac)” กับอาสาสมัคร 1,620 คน ในเดือน ส.ค.2563 โดยรัฐบาลอินโดนีเซียต้องการวัคซีน 125 ล้านโดส และยังสามารถจัดหาเพิ่มได้อีก 100 ล้านโดส ซึ่งทยอยส่งมอบไปแล้ว 18 ล้านโดส นอกจากนี้ ในเดือน ธ.ค.2563 รัฐบาลอินโดนีเซียยังทุ่มเงินสั่งซื้อวัคซีนจากผู้พัฒนาอีกหลายราย เช่น แอสตราเซเนกา (AstraZeneca) โนวาแว็กซ์ (Novavax) และไฟเซอร์ (Pfizer) อีกทั้งมีแผนพัฒนาวัคซีนในประเทศ ช่วงกลางปี 2564

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีเพียงวัคซีนของซิโนแวค เป็นรายเดียวที่ได้รับการรับรองในอินโดนีเซีย และเป็นชนิดเดียวที่เริ่มทยอยแจกจ่ายไปแล้ว ปันจี ฮาดิโซมาร์โต (Panji Hadisoemarto) นักระบาดวิทยา มหาวิทยาลัย Padjadjaran บนเกาะชวา กล่าวว่า วัคซีนซิโนแวคเหมาะสมกับบริบทของอินโดนีเซีย เพราะวัคซีนของไฟเซอร์ต้องเก็บในอุณหภูมิติดลบ 70 องศาเซลเซียส ซึ่งอินโดนีเซียไม่มีความพร้อมด้านระบบห้องแช่แข็งสำหรับเก็บและกระจายวัคซีนดังกล่าว ต่างจากวัคซีนซิโนแวคที่ห้องเย็นที่มีอยู่ในประเทศสามารถรองรับได้

นอกจากนี้ วัคซีนซิโนแวค ยังเป็นวัคซีนประเภทเชื้อตาย ไม่ใช่วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อเป็น ซึ่งวัคซีนเชื้อตายนั้นบุคลากรในอินโดนีเซียคุ้นเคยกว่าเนื่องจากถูกใช้ฉีดให้กับประชากรเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันมาแล้วหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม ดิกกี บูดิแมน (Dicky Budiman) นักระบาดวิทยาที่เคยทำงานในทีมยุทธศาสตร์ให้กับรัฐบาลอินโดนีเซีย ในสถานการณ์โรคระบาดมาแล้วหลายครั้ง ทั้งโรคซารส์ (SARS) เอดส์ (HIV) ไข้หวัดนก ไข้หวัดหมู วัณโรคและมาลาเรีย ระบุว่า วัคซีนของแอสตราเซเนกา จะเป็นตัวเลือกแรกของตน เพราะสามารถเก็บได้ในสถานที่แบบเดียวกับการเก็บวัคซีนซิโนแวค

รองลงมามี 2 ยี่ห้อ คือไฟเซอร์และโมเดอร์นา (Moderna) เพราะแม้จะมีความยากในการขนส่ง แต่มีเทคโนโลยี RNA ที่ทำให้วัคซีนมีความยืดหยุ่นและสามารถจัดการกับการกลายพันธุ์ของไวรัสได้ ซึ่งแม้การกลายพันธุ์เพียงเล็กน้อยก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพของกลยุทธ์การใช้วัคซีน และพบการกลายพันธุ์ถึง 4 หมื่นครั้งแล้วในไวรัสโควิด-19 แต่วัคซีนซิโนแวคไม่มีความยืดหยุ่น มันจึงเป็นวัคซีนชนิดสุดท้ายที่ตนจะเลือก

บูดิแมน กล่าวต่อไปว่า ชาวอินโดนีเซียมีคำพูดที่ว่า “Tidak ada rotan, akar pun jadi” มีความหมายว่า “ทำในสิ่งที่มี..แม้มันจะไม่ดีก็ตาม” นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นในการทดสอบแอนติบอดี้อย่างเร็วในอินโดนีเซีย ซึ่งหมายถึงเครื่องมือทางระบาดวิทยาที่ใช้คัดกรองผู้โดยสารภายในประเทศภายในสนามบินอย่างไม่เหมาะสมเมื่อปี 2563 และตอนนี้ก็จะทำอีกครั้ง เมื่อมีวัคซีนซิโนแวคหลายล้านโดยก็จะใช้มัน

รายงานข่าวยังกล่าวอีกว่า อินโดนีเซียมีแผนจะฉีดวัคซีนให้กับประชากรวัยทำงานราว 181.5 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 67 จกาประชากรทั้งประเทศ 273 ล้านคน ภายในเวลา 15 เดือน นำไปสู่การตั้งข้อสังเกตว่า กลยุทธ์ของรัฐบาลอินโดนีเซียเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองปัจจัยด้านเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม อาจิบ ฮัมดานี (Ajib Hamdani) ประธานแผนกการเงินและการธนาคาร สมาคมผู้ประกอบการรุ่นเยาว์แห่งอินโดนีเซีย มองว่า การตัดสินใจนี้เกี่ยวข้องกับข้อมูลประชากรด้วย เพราะอินโดนีเซียมีสัดส่วนประชากรวัยทำงานมากกว่าเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว

ดังนั้นรัฐบาลย่อมมีสิทธิ์ให้ความสำคัญกับคนหนุ่ม-สาว เพราะหากไม่ให้ความสำคัญกับคนวัยนี้ ก็จะสร้างปัญหาใหญ่กับประเทศในภายหลัง แม้จะทราบว่าปัญหาแรกของสถานการณ์โรคระบาดคือสุขภาพไม่ใช่เศรษฐกิจ แต่นโยบายการฉีดวัคซีนนี้ สร้างความหวังในการแก้ปัญหาทั้ง 2 ไปพร้อมกัน เช่นเดียวกับ ฟิทรา ไฟซาล ฮัสเทียดี (Fithra Faisal Hastiadi) นักเศรษฐศาสตร์จาก University of Indonesia และโฆษกกระทรวงพาณิชย์ของอินโดนีเซีย กล่าวว่า เมื่อพูดถึงสาธารณสุขย่อมหมายถึงเศรษฐกิจด้วย

เพราะสาธารณสุขนั้นมีผลต่อเศรษฐกิจ ทั้ง 2 ส่วนไม่แตกต่างกันอย่างแท้จริง บางคนอาจบอกว่าเมื่อเน้นด้านสาธารณสุขจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่ในทางกลับกัน การดูแลสุขภาพก็ไม่อาจทำได้หากไม่ทำให้เศรษฐกิจกลับมาเดินเครื่องได้ใหม่ ในแง่นี้รัฐบาลจึงต้องทำทั้ง 2 ด้าน กลยุทธ์การฉีดวัคซีนที่อินโดนีเซียดำเนินการ จะช่วยให้ประชาชนหลายล้านคนได้กลับมาทำงาน เพราะเมื่อดูภาคส่วนที่มีคนว่างงานมากที่สุดคือการท่องเที่ยวและคมนาคมขนส่ง แต่ภาคส่วนนี้เหล่าส่งผลทวีคูณที่สุดในแง่ผลผลิตทางเศรษฐกิจ ดังนั้นหากคนทำงานในอาชีพภาคส่วนเหล่านี้ได้รับการฉีดวัคซีนและกลับไปทำงาน เป้าหมายที่อินโดนีเซียจะฟื้นฟูเศรษฐกิจในปี 2564 ย่อมมีทางเป็นไปได้

รายงานข่าวทิ้งท้ายว่า การฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วอาจช่วยปลอบประโลมใจชาวอินโดนีเซียหลายพันคนที่ศูนย์เสียญาติผู้ใหญ่ไปจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 หรืออีกนับสิบล้านคนที่อาศัยอยู่ในครอบครัวขยายซึ่งในบ้านมีประชากรหลายช่วงวัยอาศัยอยู่รวมกัน ขณะที่ บูดิ กุนาดี ซาดิกิน (Budi Gunadi Sadikin) รัฐมนตรีสาธารณสุขของอินโดนีเซีย ระบุว่า ผู้สูงอายุควรรอวัคซีนของไฟเซอร์และแอสราเซเนกา เพราะมีผลการทดสอบกับประชากรวัยดังกล่าวแล้ว

ทั้งนี้ ยังไม่มีสัญญาณว่าประชากรวัย 60 ปีขึ้นไปในอินโดนีเซียจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 เมื่อใด บูดิแมน คาดว่า คงไม่มีเรื่องนี้ปรากฏจนกว่าจะถึงไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 ส่วน มัลฮอลแลนด์ มองว่า แผนนี้จะทำให้ผู้สูงอายุในอินโดนีเซียเสี่ยงกับการเสียชีวิตอีกหลายพันคน เพราะแม้คนหนุ่ม-สาวจะได้รับวัคซีน แต่ก็ยังเสี่ยงได้รับเชื้อแบบไม่มีอาการและนำพาเชื้อกลับไปที่บ้าน การฉีดวัคซีนให้ประชากรวัยหนุ่ม-สาว จึงไม่ช่วยลดอัตราการสียชีวิตลง

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'อินโดนีเซีย\'ผวา! ภูเขาไฟปะทุรุนแรง พ่นเถ้าถ่านสูง 18 กม. 'อินโดนีเซีย'ผวา! ภูเขาไฟปะทุรุนแรง พ่นเถ้าถ่านสูง 18 กม.
  • ดับแล้ว 6 ราย! \'อินโดนีเซีย\'เร่งค้นหาอีก 30 ชีวิตหลังเรือเฟอร์รี่ล่ม ดับแล้ว 6 ราย! 'อินโดนีเซีย'เร่งค้นหาอีก 30 ชีวิตหลังเรือเฟอร์รี่ล่ม
  • ‘แอมเนสตี้’เรียกร้อง‘อินโดนีเซีย’กดดัน‘กัมพูชา’เอาจริงปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์-ค้ามนุษย์ ‘แอมเนสตี้’เรียกร้อง‘อินโดนีเซีย’กดดัน‘กัมพูชา’เอาจริงปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์-ค้ามนุษย์
  • สุดสลด! นักท่องเที่ยวบราซิลพลัดตกภูเขาไฟอินโดนีเซียเสียชีวิตแล้ว สุดสลด! นักท่องเที่ยวบราซิลพลัดตกภูเขาไฟอินโดนีเซียเสียชีวิตแล้ว
  • \'อินโดนีเซีย\'ประกาศเตือนภัยสูงสุด ภูเขาไฟเลโวโตบี ลากิ-ลากิปะทุรุนแรง \'บาหลี\'ยกเลิกเที่ยวบินแล้ว 'อินโดนีเซีย'ประกาศเตือนภัยสูงสุด ภูเขาไฟเลโวโตบี ลากิ-ลากิปะทุรุนแรง 'บาหลี'ยกเลิกเที่ยวบินแล้ว
  • อินโดนีเซียจับ4คนไทย-เมียนมาขนยาบ้าข้ามชาติ มูลค่ากว่า425ล้านดอลลาร์ อินโดนีเซียจับ4คนไทย-เมียนมาขนยาบ้าข้ามชาติ มูลค่ากว่า425ล้านดอลลาร์
  •  

Breaking News

เป็นทหาร VS เป็นไกด์!? ทหารไทยสาดสปีคแนะนำนทท. สำเนียงสุดเป๊ะ (ชมคลิป)

เปิดผล‘ดัชนีสร้างชาติ’2025-26 ‘ไทย’พุ่งอันดับ 3 อาเซียน ติดท็อป 46 โลก สะท้อนรากฐานมั่นคง

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved