วันจันทร์ ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
‘อิหร่าน’สั่งยุบ‘ตำรวจศีลธรรม’หลังปชช.ประท้วงยาวนานกว่า2เดือน-จ่อเลิกบังคับสตรีต้องคลุมผมด้วย

‘อิหร่าน’สั่งยุบ‘ตำรวจศีลธรรม’หลังปชช.ประท้วงยาวนานกว่า2เดือน-จ่อเลิกบังคับสตรีต้องคลุมผมด้วย

วันอาทิตย์ ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2565, 19.40 น.
Tag : อิหร่าน ตำรวจศีลธรรม ประท้วง บังคับสตรี คลุมผม
  •  

เมื่อัวนที่ 4 ธันวาคม 2565 เว็บไซต์ นสพ. Daily Mail ของอังกฤษ เสนอข่าว Iran ABOLISHES morality police after two months of protests triggered by the death of Mahsa Amini ระบุว่า ทางการอิหร่านตัดสินใจยุบหน่วยงานตำรวจศีลธรรม หรือที่เรียกในภาษาของอิหร่านว่า ซึ่งมีหน้าที่สอดส่องดูแลประชาชนให้ปฏิบัติตนตามหลักศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัดแล้ว หลังเกิดกรณี มาห์ซา อามินี (Mahsa Amini) หญิงชาวอิหร่านเชื้อสายเคิร์ด วัย 22 ปี เสียชีวิตขณะถูกจับกุมด้วยข้อหาละเมิดกฎการแต่งกายตามหลักศาสนา ทำให้ประชาชนไม่พอใจและออกมาชุมนุมประท้วงยาวนานกว่า 2 เดือน

โมฮัมหมัด จาฟาร์ มอนตาเซรี (Mohammad Jafar Montazeri) อัยการสูงสุดของอิหร่าน กล่าวว่า ตำรวจศีลธรรมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม พร้อมกับเปิดเผยด้วยว่า รัฐสภากำลังพิจารณายกเลิกข้อบังคับให้ผู้หญิงต้องสวมฮิญาบซึ่งเป็นผ้าคลุมผมแบบชาวมุสลิม ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณที่พบได้ยากว่า อิหร่านที่ปกครองแบบอิงหลักศาสนากำลังผ่อนปรน


ตำรวจศีลธรรมหรือที่เรียกในภาษาของอิหร่านว่า กัชท์-อี เออร์ชาด (Gasht-e Ershad) ก่อตั้งขึ้นในปี 2549 ในสมัยของประธานาธิบดี มาห์มูด อาห์มาดิเนจาด (Mahmoud Ahmadinejad) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมแห่งความสุภาพเรียบร้อยและการสวมฮิญาบ แต่หลังจากเกิดกรณีจับกุม อามินี เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2565 และทำให้เธอเสียชีวิต การชุมนุมประท้วงก็เริ่มขึ้น อนึ่ง สตรีชาวอิหร่านที่มีวิถีชีวิตแบบสมัยใหม่ มีแนวโน้มสวมฮิญาบน้อยลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะในย่านทางเหนือของกรุงเตหะราน เมืองหลวงของอิหร่าน

ในวันที่ 3 ธ.ค. 2565 สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นเผยแพร่คำกล่าวของ เอบราฮิม ไรซี (Ebrahim Raisi) ปธน. คนปัจจุบันของอิหร่าน ที่ระบุว่า รากฐานของความเป็นสาธารณรัฐและความเป็นอิสลามของอิหร่านเป็นที่ยึดมั่นในรัฐธรรมนูญ แต่ในรัฐธรรมนูญก็ยังมีวิธีดำเนินการแบบยืดหยุ่นได้ ทั้งนี้ อิหร่านกำหนดให้ผู้หญิงทุกคนต้องสวมฮิญาบมาตั้งแต่ปี 2526 หรือ 4 ปีหลังเหตุการณ์ปฏิวัติอิสลามเพื่อล้มล้างกษัตริย์ที่สหรัฐอเมริกาหนุนหลัง ประเด็นนี้เป็นข้อถกเถียงในอิหร่านตลอดมา ระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ต้องการให้บังคับ ส่วนฝ่ายปฏิรูปอยากให้เป็นแล้วแต่ความสมัครใจ

ถึงกระนั้น ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ระยะหลังๆ จะเห็นสตรีชาวอิหร่านแต่งกายด้วยกางเกงยีนส์รัดรูปและสวมผ้าคลุมผมแบบหลวมๆ และมีสีสันสดใส กระทั่งในเดือน ก.ค. 2565 กลุ่มอนุรักษ์นิยมที่มีแนวคิดสุดโค่ง เรียกร้องให้ทุกองคาพยพของรัฐ เข้มงวดกวดขันกับกฎการสวมฮิญาบมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ต่อมาในเดือน ก.ย. 2565 พรรคการเมืองของฝ่ายปฏิรูปได้เรียกร้องให้ยกเลิกกฎดังกล่าว

พรรคสหภาพของชาวอิหร่านผู้นับถือศาสนาอิสลาม (The Union of Islamic Iran People Party) ซึ่งก่อตั้งโดยญาติของอดีตประธานาธิบดี โมฮัมหมัด คาทานี (Mohammad Khatami) ผู้นำกลุ่มปฏิรูป เรียกร้องให้ทางการอิหร่านเตรียมองค์ประกอบทางกฎหมายเพื่อปูทางไปสู่การยกเลิกข้อบังคับการสวมฮิญาบ ขณะที่พรรคฝ่ายค้านยังเรียกร้องให้รัฐบาลยุติบทบาทของตำรวจศีลธรรมและอนุญาตให้การชุมนุมโดยสงบสามารถทำได้

ขณะที่ทางการอิหร่านกล่าวหาสหรัฐฯ และพันธมิตร อาทิ อังกฤษ อิสราเอล ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐศัตรูของอิหร่าน รวมถึงชาวเคิร์ดที่อยู่นอกประเทศ เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ทำการยุยงปลุกปั่นให้เกิดการประท้วง โดยยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุชุมนุมดังกล่าวยังไม่แน่ชัด อาทิ นายพลคนหนึ่งในกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม หนึ่งในเหล่าทัพของกองทัพอิหร่าน เปิดเผยว่า อยู่ที่ประมาณ 300 ราย ส่วนสภาความมั่นคงแห่งชาติของอิหร่าน ระบุว่ามากกว่า 200 ราย ด้าน IRNA สำนักข่าวของรัฐ ระบุว่า ผู้เสียชีวิตมีทั้งเจ้าหน้าที่ พลเรือน ผู้ประท้วงและกลุ่มแบ่งแยกดินแดน

องค์กรภาคประชาสังคม (NGO) ในกรุงออสโลของประทเศนอร์เวย์ ซึ่งทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในอิหร่าน กล่าวหาว่า กองกำลังฝ่ายความมั่นคงอิหร่านปราบปรามเหตุประท้วงจนมีผู้ชุมนุมเสียชีวิต 448 ราย ด้าน โวลเคอร์ เติร์ก (Volker Turk) ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ เปิดเผยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ในการปราบปรามการประท้วงที่อิหร่าน มีผู้ถูกจับกุม 14,000 คน มีทั้งบุคคลที่มีเชื่อเสียง นักกีฬาและสื่อมวลชน อีกทั้งยังรวมถึงเด็กด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- ประท้วงอิหร่านลาม 80 เมืองตายเกินครึ่งร้อย จับตา'สหรัฐ-อีลอน มัสก์'โผล่จุ้น

- ส่อบานปลาย! อิหร่านประท้วงเดือด ปมหญิงไม่สวมฮิญาบเสียชีวิตหลังถูกคุมตัว

- อิหร่าน'สั่งตัดสินประหารชีวิตผู้เข้าร่วมประท้วงต้านรัฐ

- 006

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • อิหร่านประหารชีวิต  อดีตรมต.ช่วยกลาโหม  ฐานเป็นสายลับให้อังกฤษ อิหร่านประหารชีวิต อดีตรมต.ช่วยกลาโหม ฐานเป็นสายลับให้อังกฤษ
  • \'อิหร่าน\'สั่งประหารชีวิต อดีตรมต.ช่วยกลาโหม ฐานเป็นสายลับให้อังกฤษ 'อิหร่าน'สั่งประหารชีวิต อดีตรมต.ช่วยกลาโหม ฐานเป็นสายลับให้อังกฤษ
  • ตร.\'เยอรมนี\'สลายม็อบต้านโลกร้อน ยึดหมู่บ้านร้างขวางรัฐขยายเหมืองถ่านหิน ตร.'เยอรมนี'สลายม็อบต้านโลกร้อน ยึดหมู่บ้านร้างขวางรัฐขยายเหมืองถ่านหิน
  • ไม่สนเคอร์ฟิว! ม็อบต่อต้านรัฐบาล\'เปรู\'เดินหน้าประท้วงต่อ ไม่สนเคอร์ฟิว! ม็อบต่อต้านรัฐบาล'เปรู'เดินหน้าประท้วงต่อ
  • พยาบาลนิวยอร์กหยุดงานประท้วง ขาดแคลนบุคลากร พยาบาลนิวยอร์กหยุดงานประท้วง ขาดแคลนบุคลากร
  • \'อิหร่าน\'ตัดสินจำคุกลูกสาวอดีต ปธน. 5 ปี ข้อหาต่อต้านรัฐบาล 'อิหร่าน'ตัดสินจำคุกลูกสาวอดีต ปธน. 5 ปี ข้อหาต่อต้านรัฐบาล
  •  

Breaking News

นายกฯทุกสมัย! ชาวพิจิตรตะโกนให้กำลังใจ'บิ๊กตู่'เยือนตลาดบางมูลนาก

'ม.เกษตรศาสตร์ฯ-บริษัทไอซีพีเอ็กซ์'วิจัยและพัฒนาโดรนการเกษตรตอบโจทย์เกษตรกรยุคใหม่

เพจดังสรุปบทสนทนาร้อนๆ 'คำบอกเล่าชายชาวต่างชาติวันนั้นเกิดอะไรขึ้น!?'

เรียกร้อง 3 ข้อ! 'ม็อบทะลุวัง'ยื่นหนังสือ'ปธ.ศาลฎีกา' จี้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved