วันพฤหัสบดี ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
‘ญี่ปุ่น’พบมาตรการคุมโควิด‘สวมหน้ากาก’กระทบพัฒนาการของเด็ก

‘ญี่ปุ่น’พบมาตรการคุมโควิด‘สวมหน้ากาก’กระทบพัฒนาการของเด็ก

วันศุกร์ ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2566, 20.02 น.
Tag : ญี่ปุ่น โควิด พัฒนาการเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หน้ากากอนามัย
  •  

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566 เว็บไซต์ นสพ.The Mainichi ของญี่ปุ่น เสนอข่าว Prolonged mask wearing among Japan day care staff casts shadow over kids' development ระบุว่า การที่ครูพี่เลี้ยงผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้องสวมหน้ากากปิดปาก-จมูกอย่างต่อเนื่องยาวนานในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 อีกด้านหนึ่งได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อพัฒนาการเด็กด้วย

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โคมาซาวา วาโกะ (Komazawa Wako Nursery School) ในเขตเซตะกายะ (Setagaya) ของกรุงโตเกียว พบว่า การสวมหน้ากากเป็นเรื่องยากที่จะสื่อสารความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนด้วยการเคลื่อนไหวของริมฝีปากและแก้มเพื่อผู้พูดสวมหน้ากาก ทำได้เพียงการแสดงอารมณ์ผ่านดวงตาและน้ำเสียงเท่านั้น โดยในช่วงต้นเดือน ธ.ค. 2565 ในขณะที่ครูพี่เลี้ยงซึ่งสวมหน้ากากกำลังสอนเด็กวัย 3 ขวบ ให้ออกเสียง “ปะ-ปิ-ปุ-เปะ-โปะ (การฝึกออกเสียงพยางค์ในภาษาญี่ปุ่น)” พบว่า ไม่สามารถแสดงตัวอย่างให้เด็กเห็นได้เพราะริมฝีปากถูกหน้ากากปิดไว้


ครูพี่เลี้ยงรายนี้ กล่าวว่า เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากการสังเกตริมฝีปากของผู้พูด จึงเป็นเรื่องยากที่จะให้เรียนรู้จากการได้ยินเพียงอย่างเดียว อีกทั้งการสวมหน้ากากบางครั้งยังทำให้เด็กๆ รู้สึกว่าครูกำลังเตือนในสิ่งที่เด็กๆ ไม่ควรทำ เพราะเด็กๆ จะมองเห็นตนแต่สายตาที่จ้องมองเท่านั้น รวมถึงในช่วงแรกๆ ที่เกิดสถานการณ์โรคระบาดแล้วต้องให้เด็กใส่หน้ากากด้วย ยังพบว่า เด็กบางคนมีอาการหวาดกลัว แต่บางคนก็ดูก้าวร้าวทันทีหรือไม่ก็ส่งเสียงดัง

ไม่เพียงแต่ศูนย์เด็กเล็กแห่งนี้เท่านั้น ยังมีรายงานอีกมากมายทั่วญี่ปุ่นที่พบว่า มาตรการควบคุมโรคระบาดส่งผลกระทบเชิงลบต่อพัฒนาการของเด็ก เช่น พบพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ โดยในเดือน ก.ย. 2565 ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยนาโกยาและสถาบันอุดมศึกษาอีกหลายแห่ง พบว่า สมดุลของเด็กลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โรคระบาด

ผลการศึกษาดังกล่าวใช้การสุ่มตัวอย่างเด็กอายุ 9-15 ปี ในเมืองโอกาซากิ จังหวัดไอจิ โดยให้ทดสอบร่างกายด้วยการทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รวมถึงทำแบบสอบถามเกี่ยวกับชั่วโมงการนอนและพฤติกรรมอื่นๆ ในชีวิต ในห้วงเวลา 2 ปี นับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2563 เป็นต้นมา ก่อนจะนำไปเปรียบเทียบกับงานวิจัยอื่นๆ ที่ดำเนินการศึกษาก่อนสถานการณ์โรคระบาด

สิ่งที่ทีมวิจัยพบ เช่น เมื่อเด็กถูกขอให้ก้าวเท้า 2 ก้าวแล้วยืนด้วยเท้า 2 ข้างพร้อมกับ อัตราส่วนของระยะก้าวต่อความสูงของเป้าหมายลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 จึงสรุปได้ว่า สถานการณ์โรคระบาดนี้ทำให้ความสามารถในการทรงตัวของเด็กลดลง ศูนย์สุขภาพและการพัฒนาเด็กแห่งชาติในกรุงโตเกียว เผยแพร่ผลการศึกษาในเดือน พ.ย. 2565 ยังพบอาการที่คล้ายกับผู้ที่มีเป็น “โรคคลั่งผอม (Anorexia Nervosa)” ซึ่งพฤติกรรมการกินจะผิดปกติ เพิ่มขึ้น 1.6 เท่าในกลุ่มผู้ป่วยนอก และ 1.5 เท่าในกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาล เมื่อเที่ยวกับช่วงก่อนโควิด-19 ระบาด ทำให้มองเห็นได้ว่า สถานการณ์โรคระบาดก่อให้เกิดอารมณ์วิตกกังวล

พยาบาลสาธารณสุขที่คุ้นเคยกับสถานการณ์ในสถาบันการศึกษาในกรุงโตเกียว เปิดเผยว่า ตนเห็นนักเรียนชั้นประถมมีอารมณ์ไม่มั่นคงมากขึ้น ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ขณะที่ มาซาโกะ เมียววะ (Masako Myowa) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสมองและอารมณ์ของเด็ก มหาวิทยาลัยเกียวโต อธิบายว่า วัยเด็กนั้นสมองกำลังพัฒนาและไวต่ออิทธิพลของสิ่งแวดล้อม หากพวกเขาไม่สามารถรับสิ่งที่ต้องการบอกผู้อื่นได้ พวกเขาอาจรู้สึกโดดเดี่ยว ไม่มั่นคง และไม่รู้สึกภูมิใจในตนเอง ข้อค้นพบนี้ยังอาจเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาที่เพิ่มขึ้นในปีการศึกษา 2564 ในชั้นประถมและมัธยมศึกษาตอนต้น

รายงานข่าวทิ้งท้ายว่า ในขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นขอให้ประชาชนสวมหน้ากากปิดปาก-จมูกแม้กระทั่งอยู่ในบ้าน เว้นแต่อยู่ห่างกันมากๆ หรือไม่มีการสนทนาใดๆ แต่ เมียววะ ให้ความเห็นว่า เมื่อจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงจนเหลือน้อย ผู้คนควรได้รับอนุญาตให้ใช้ชีวิตโดยไม่ต้องสวมหน้ากาก ดำเนินวิถีชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็ก มีแนวโน้มว่าผู้ใหญ่สามารถช่วยเด็กให้มีพัฒนาการได้หากเพิ่มการสัมผัสทางกาย เช่น การกอด และเด็กก็มีโอกาสที่จะได้เห็นญาติพี่น้องและคนอื่นๆ ด้วยตนเอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 'หมอยง'เผยเหตุผล 'นักเรียนอนุบาล-ประถมตอนต้น' ควรเลิกใส่'หน้ากากอนามัย'

- 006

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • เกาะติด! รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ทั่วโลก เกาะติด! รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ทั่วโลก
  • เกาะติด! รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ทั่วโลก เกาะติด! รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ทั่วโลก
  • ตะลึง! ญี่ปุ่นพบเด็กป่วย\'โรคสมองเฉียบพลัน\'หลังติดเชื้อโควิด เสียชีวิตกว่า10% ตะลึง! ญี่ปุ่นพบเด็กป่วย'โรคสมองเฉียบพลัน'หลังติดเชื้อโควิด เสียชีวิตกว่า10%
  • เกาะติด! รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ทั่วโลก เกาะติด! รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ทั่วโลก
  • ‘ไกด์ผี-ทัวร์ศูนย์เหรียญ’ภัยคุกคามไทย ฟื้นท่องเที่ยวหลังโควิด แฉลามหลายชาติไม่แค่ทัวร์จีน ‘ไกด์ผี-ทัวร์ศูนย์เหรียญ’ภัยคุกคามไทย ฟื้นท่องเที่ยวหลังโควิด แฉลามหลายชาติไม่แค่ทัวร์จีน
  • เกาะติด! รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ทั่วโลก เกาะติด! รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ทั่วโลก
  •  

Breaking News

กรมอุตุฯเตือน 45 จังหวัด ระวังลมแรง-พายุฤดูร้อน 'ภาคเหนือ'ฝุ่นละออง-หมอกควันสะสมมาก

อภัยภูเบศร แนะใช้ 3 สมุนไพร เป็นเกราะป้องกันสารอันตราย

เปิดเส้นทางคิวไทยลุ้นไปครูซิเบิ้ล

คุณแหน : 30 มีนาคม 2566

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved