วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
เพราะความจนจึงทนเสี่ยงบินไกลขายแรง! สื่อญี่ปุ่นมอง‘คนงานไทย’ผู้ขับเคลื่อนภาคเกษตรอิสราเอล

เพราะความจนจึงทนเสี่ยงบินไกลขายแรง! สื่อญี่ปุ่นมอง‘คนงานไทย’ผู้ขับเคลื่อนภาคเกษตรอิสราเอล

วันพุธ ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2566, 21.33 น.
Tag : คนงานไทย เศรษฐกิจของอิสราเอล อิสราเอล
  •  

เพราะความจนจึงทนเสี่ยงบินไกลขายแรง! สื่อญี่ปุ่นมอง‘คนงานไทย’ผู้ขับเคลื่อนภาคเกษตรอิสราเอล

วันที่ 18 ตุบาคม 2566 นสพ.Nikkei Asian Review ของญี่ปุ่น เสนอรายงานพิเศษ How Thai workers became integral to Israel's economy ว่าด้วย “แรงงานข้ามชาติชาวไทย” ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของอิสราเอล และกลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การสู้รบระหว่างกองทัพอิสราเอลกับกลุ่มติดอาวุธฮามาส ในดินแดนฉนวนกาซาของปาเลสไตน์


Boonchai Saeyang ชายวัย 35 ปี หนึ่งในแรงงานชาวไทยที่มีโอกาสเดินทางกลับถึงแผ่นดินเกิดเมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2566 เล่าว่า ยังมีเพื่อนร่วมชาติอีกหลายคนที่ตัดสินใจไม่กลับบ้าน ด้วยแรงกดดันจากภาระภาระหนิ้สินทำให้คนเหล่านั้นขออยู่ที่อิสราเอลเพื่อรอดูสถานการณ์ โดย Boonchai เป็นเพียงหนึ่งในคนไทยหลายพันคนที่เดินทางไปอิสราเอลในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาภายใต้ระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ ที่ทำให้อิสราเอลมีแรงงานที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับภาคเกษตรกรรม

แรงงานข้ามชาติหลายสิบคนถูกสังหารหรือลักพาตัวนับตั้งแต่กลุ่มฮามาสโจมตีอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2566 ยอดผู้เสียชีวิตของคนไทยซึ่งประกอบด้วยกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งในประเทศ เพิ่มขึ้นเป็น 29 คน เมื่อนับถึงวันที่ 16 ต.ค. 2566 นอกจากนั้นคาดว่าน่าจะมีคนไทย 18 คน ถูกจับเป็นตัวประกัน รัฐบาลไทยให้คำมั่นจะส่งแรงงานที่ต้องการกลับบ้าน และตั้งเป้าหมายนำแรงงานกลับประเทศ 4,000 คนภายในสิ้นเดือน ต.ค. 2566 โดยมีคนไทยกว่า 7,000 คนรอเดินทางกลับบ้าน

ที่ประเทศอิสราเอล ข้อมูลจากทางการ ณ เดือน ก.ค. 2566 มีแรงงานข้ามชาติที่ถูกกฎหมายประมาณ 119,000 คน และที่ทำงานอย่างผิดกฎหมายมากกว่า 25,000 คน ขณะที่ในภาคเกษตรกรรม มีแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมาย 22,862 คน และอีก 7,493 คนเป็นแรงงานที่ไม่มีเอกสารที่ถูกต้อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่อยู่เกินวีซ่า ภาคส่วนนี้นำเข้าแรงงานเกือบทั้งหมดจากประเทศไทย แม้ว่าจะมี “ผู้เข้ารับการฝึกอบรม”  2-3 พันคนจากทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกาที่ทำงานในภาคเกษตรกรรมของอิสราเอลโดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษางาน

ประวัติศาสตร์ของชาวไทยที่ทำงานในอิสราเอลต้องย้อนกลับไปหลายทศวรรษ งานวิจัยของนักวิชาการด้านมานุษยวิทยา มาทาน คามิเนอร์ (Matan Kaminer) พบว่า “ผู้เข้ารับการฝึกอบรม” และ “อาสาสมัคร” ทางการเกษตรหลายร้อยคนจากประเทศไทยเดินทางมาถึงอิสราเอลในช่วงทศวรรษ 1980 (ปี 2523-2532) และหลายพันคนไปที่นั่นภายในปี 2535 โดยมีการไหลบ่าเข้ามามากเป็นพิเศษภายหลังเหตุการณ์ “Intifada” หรือการลุกฮือของชาวปาเลสไตน์ในปี 2530 ทำให้รัฐบาลอิสราเอลต้องหาแรงงานจากที่อื่นแทนการพึ่งพาแรงงานชาวปาเลสไตน์

ในโพสต์บน Facebook เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2566 ออร์นา ซากิฟ (Orna Sagiv) เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย ให้คำมั่นว่า แรงงานไทยที่ติดค้างอยู่ในสถานการณ์การโจมตีของกลุ่มฮามาสจะได้รับการปฏิบัติและความคุ้มครองเช่นเดียวกับทุกคนในอิสราเอล ซึ่ง คามิเนอร์ กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือต้องจัดลำดับความสำคัญของสวัสดิภาพของคนงาน แม้ว่าเจ้าของฟาร์มจะกังวลเกี่ยวกับการรักษาพนักงานไว้ก็ตาม หากการตอบสนองต่อสถานการณ์ได้รับการจัดการไม่ดี ก็อาจเป็นไปได้ที่จะส่งผลต่อการเดินทางเข้ามาทำงานของแรงงานข้ามชาติในอิสราเอลได้ในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากประวัติการละเมิดสิทธิแรงงานของภาคส่วนนี้

ภายใต้แรงกดดันจากสหรัฐอเมริกา และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ที่ขับเคลื่อนประเด็นสิทธิแรงงาน กระบวนการจัดส่งแรงงานจึงได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 2554 เมื่อทั้ง 2 ชาติได้ลงนามในข้อตกลงที่เรียกว่า “โครงการความร่วมมือไทย-อิสราเอลในการจัดหาคนงาน (TIC)” ซึ่งเริ่มดำเนินการในปี 2556 ข้อตกลงนี้ได้ตัดนายหน้าแรงงานฝ่ายไทยออกไป กำหนดค่าธรรมเนียมคงที่ และกำหนดให้องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานแห่งสหประชาชาติ (IOM) รับผิดชอบการจัดหางานและการฝึกอบรมในประเทศไทย ขณะที่ในฝั่งอิสราเอล หน่วยงานด้านกำลังคนที่แต่งตั้งโดยรัฐบาล 13 แห่ง มีหน้าที่รับผิดชอบในการสรรหาคนงานและสวัสดิการ

งานวิจัยในปี 2562 ที่จัดทำโดย รีเบคกา รัจจ์แมน (Rebeca Raijman) กับ นอนนา คัชนิโรวิช (Nonna Kushnirovich) ระบุว่า ข้อตกลง TIC ซึ่งอนุญาตให้คนไทยทำงานในอิสราเอลได้สูงสุดห้าปีสามเดือนเฉพาะในภาคเกษตรกรรมเท่านั้น ช่วยลดค่าธรรมเนียมที่คนงานจ่ายจากโดยเฉลี่ย 9,000 เหรียญสหรัฐ (มากกว่า 3 แสนบาท) เหลือประมาณ 2,100 เหรียญสหรัฐ (ราว 7.5 หมื่นบาท) ทั้งนี้ สัดส่วนของวีซ่าเพื่อทำงานในภาคเกษตรกรรมยังคงที่ประมาณ 1 ใน 4 ของวีซ่าทำงานต่างประเทศทั้งหมด

ข้อตกลงทวิภาคีผูกขาด หมายความว่า อุตสาหกรรมการเกษตรของอิสราเอลเป็นภาคส่วนที่มีลักษณะเหมือนกันมากที่สุดในแง่ของแรงงานข้ามชาติ งานวิจัยข้างต้นชี้ว่า  เกือบ 100% ของแรงงานข้ามชาติในภาคส่วนนั้นมาจากประเทศไทย ทั้งนี้ในปี 2563 ทั้ง 2 ประเทศได้ลงนามข้อตกลงใหม่สำหรับ TIC ที่ไม่รวมถึงการเข้าร่วมของ IOM แต่ยังคงรักษาข้อกำหนดที่คล้ายกัน

“ผู้อพยพชาวไทยส่วนใหญ่ในอิสราเอลเป็นผู้ชาย และ 84% มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ของประเทศไทย เนื่องจากอัตราความยากจนสูงในพื้นที่เหล่านี้ พวกเขาจึงกลายเป็นผู้ส่งออกกำลังคนที่โดดเด่นไปต่างประเทศ ซึ่งพบว่าคนงานส่วนใหญ่ไปอิสราเอลเพื่อรับค่าจ้างที่ค่อนข้างสูงมากกว่า 1,000 เหรียญสหรัฐ (มากกว่า 35,000 บาท) ต่อเดือน” ‘ผลการศึกษาของ รัจจ์แมน และ คัชนิโรวิช ระบุ

ความเห็นของเจ้าหน้าที่ในกรมการจัดหางานของประเทศไทย ซึ่งมีหน้าที่ดูแลการฝึกอบรมแรงงานไทยที่จะไปทำงานในต่างประเทศ มองว่า กระบวนการนี้เป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ประโยชน์ เพราะคนที่ไปทำงานสามารถกลับบ้านมาพร้อมเงินก้อนใหญ่เมื่อนำกลับมาแลกเป็นเงินบาท พวกเขาสามารถนำเงินนั้นไปชำระหนี้ทั้งหมดและยังสร้างบ้านหลังใหม่ให้กับครอบครัวได้ด้วย และนั่นกลายเป็นคุณค่าทางสังคมที่ทุกคนต้องการ

อย่างไรก็ตาม กรณีการปฏิบัติมิชอบของคนงานไทยในฟาร์มของอิสราเอลยังคงสร้างความเสียหายให้กับภาคส่วนนี้อย่างต่อเนื่อง ภาพรวมการย้ายถิ่นฐานของไทยไปยังอิสราเอลในปี 2563 โดยองค์กรเพื่อสิทธิแรงงาน Kav LaOved ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ในอิสราเอล ระบุว่า ว่า ร้อยละ 83 ของแรงงานได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด หลายคนไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมาย และต้องเผชิญกับสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย รวมถึงความยากลำบากในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ย้อนไปในปี 2558 องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่าง ฮิวแมน ไรท์ วอทซ์ หรือรายงานปัญหาการค้ามนุษย์ทั่วโลกโดยกระทรางการต่างประเทศสหรัฐฯ ในปี 2565 ก็ระบุในทำนองเดียวกัน

ยาเฮล เคอร์แลนเดอร์ (Yahel Kurlander) อาสาสมัครจาก Aid for Farm Workers ซึ่งเป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นใหม่เพื่อช่วยเหลือคนงานไทยในอิสราเอล เปิดเผยว่า มีแรงงานไทยที่ขึ้นทะเบียนไว้ประมาณ 5,000 คน และที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนอีก 1,000 คนในพื้นที่ใกล้ฉนวนกาซา ในพื้นที่หลายแห่งที่มีการอพยพคนงานออกไป พวกเขาถูกกดดันให้ไปทำงานทันที และในพื้นที่อื่นๆ โดยนายจ้างได้ชี้แจงว่าผู้ที่ต้องการอยู่ต่อจะต้องทำงาน แต่ตนก็ยังขอมองโลกในแง่ดีอย่างระมัดระวัง

“สถานการณ์ปัจจุบันอาจเป็นตัวเร่งให้เกิดการปรับปรุง เนื่องจากมีแนวโน้มว่าจะเกิดการขาดแคลนแรงงาน โดยชาวปาเลสไตน์จะถูกปิดมากขึ้น และคนไทยบางส่วนก็ถูกขัดขวางไม่ให้เดินทางกลับ เมื่อมีความต้องการคนงานอย่างมาก พวกเขาสามารถขอเงินเพิ่ม และขอสิทธิเพิ่มเติมได้” เคอร์แลนเดอร์ กล่าว

ขอบคุณเรื่องจาก
https://asia.nikkei.com/Politics/Israel-Hamas-war/How-Thai-workers-became-integral-to-Israel-s-economy

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'อิสราเอล\'ทิ้งบอมบ์! ถล่มคาเฟ่ริมทะเลกาซาซิตี้เละเป็นจุณ เด็ก-สตรีดับสยอง74ราย 'อิสราเอล'ทิ้งบอมบ์! ถล่มคาเฟ่ริมทะเลกาซาซิตี้เละเป็นจุณ เด็ก-สตรีดับสยอง74ราย
  • \'เนทันยาฮู\'แฉเดือดขบวนการลับปู3เส้นทางเตรียมล้างบาง ลั่นตะวันออกกลางล่มสลายแน่ถ้าไม่มี\'อิสราเอล\' 'เนทันยาฮู'แฉเดือดขบวนการลับปู3เส้นทางเตรียมล้างบาง ลั่นตะวันออกกลางล่มสลายแน่ถ้าไม่มี'อิสราเอล'
  • \'อิสราเอล\'จ่อถล่ม\'กาซา\'อีกรอบ เมิน\'ทรัมป์\'วอนจบสงคราม \'เนทันยาฮู\'กร้าวตะวันออกกลางต้องยิ่งใหญ่ 'อิสราเอล'จ่อถล่ม'กาซา'อีกรอบ เมิน'ทรัมป์'วอนจบสงคราม 'เนทันยาฮู'กร้าวตะวันออกกลางต้องยิ่งใหญ่
  • จับตา! \'อิสราเอล\'เล็งอพยพประชาชนในกาซาครั้งใหญ่ที่สุด จับตา! 'อิสราเอล'เล็งอพยพประชาชนในกาซาครั้งใหญ่ที่สุด
  • \'ฮุน มาเนต\'ยันไทยขอเปิดชายแดนก่อน ลั่นไม่ได้เป็นฝ่ายเริ่มปิดด่าน 'ฮุน มาเนต'ยันไทยขอเปิดชายแดนก่อน ลั่นไม่ได้เป็นฝ่ายเริ่มปิดด่าน
  • โผล่จากบังเกอร์ใต้ดิน! ผู้นำสูงสุดอิหร่านตบหน้าสหรัฐฯ เย้ยโจมตี3โรงงานนิวเคลียร์ล้มเหลว โผล่จากบังเกอร์ใต้ดิน! ผู้นำสูงสุดอิหร่านตบหน้าสหรัฐฯ เย้ยโจมตี3โรงงานนิวเคลียร์ล้มเหลว
  •  

Breaking News

ฝ่ายค้านรวมพลัง!! ประสานมือ 5 พรรค 'อนุทิน'ลั่นพร้อมตรวจสอบ'รัฐบาล'เต็มที่

พด.เร่งใช้ปลาหมอคางดำผลิตน้ำหมักชีวภาพ

ก.เกษตรฯถกแก้ปัญหาเครือข่ายคนลุ่มน้ำมูล

ทัวร์จอดเต็มบ้าน! 'สส.จิรัฏฐ์'เบะปาก แซะ'สมาคมแม่บ้านทหารอากาศ' ชาวเน็ตรุมถล่ม'ไร้มารยาท-ดูถูก'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved