วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
ฮ่องกงพบคนติด‘ไวรัสบี’รายแรก เชื้ออันตรายโอกาสตายสูง เตือนปชช.ถูก‘ลิง’กัดรีบไปพบแพทย์ทันที

ฮ่องกงพบคนติด‘ไวรัสบี’รายแรก เชื้ออันตรายโอกาสตายสูง เตือนปชช.ถูก‘ลิง’กัดรีบไปพบแพทย์ทันที

วันพฤหัสบดี ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2567, 16.48 น.
Tag : ลิงกัด ไวรัสบี ฮ่องกง
  •  

ฮ่องกงพบคนติด‘ไวรัสบี’รายแรก เชื้ออันตรายโอกาสตายสูง เตือนปชช.ถูก‘ลิง’กัดรีบไปพบแพทย์ทันที 

4 เม.ย. 2567 นสพ.The Standard ของฮ่องกง รายงานข่าว HK logs first ever human B virus case after man wounded by wild monkeys ระบุว่า ชายวัย 37 ปี ถูกระบุว่าเป็นผู้ติดเชื้อไวรัสบี (Virus B) รายแรกของฮ่องกง ในกรณีถูกลิงกัดในเขตเมือง ผู้ป่วยรายนี้ได้รับบาดเจ็บจากลิงในสวนสาธารณะกำซาน (Kam Shan Country Park) เมื่อปลายเดือน ก.พ. 2567 และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหยานไฉ (Yan Chai) เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2567 เนื่องจากมีไข้และระดับการรับรู้ตัวลดลง ตามการระบุของสมาชิกในครอบครัว


ต่อมาในวันที่ 3 เม.ย. 2567 ผลตรวจตัวอย่างน้ำไขสันหลังของชายคนดังกล่าวปรากฏผลเป็นบวกต่อไวรัสบี ตามการเปิดเผยของหน่วยงานบริการห้องปฏิบัติการสาธารณสุขของศูนย์คุ้มครองสุขภาพ (CHP) ขณะที่ผู้ป่วยรายนี้ยังคงต้องพักอยู่ในห้อง ICU และการสอบสวนทางระบาดวิทยายังคงดำเนินอยู่ ทั้งนี้ CHP ขอเตือนประชาชนงดสัมผัสหรือให้อาหารลิงป่าเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส

สื่อฮ่องกงกล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมามีรายงานผู้ติดเชื้อวไวรัสบีในสหรัฐอเมริกา แคนาดา จีน และญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการกัดหรือข่วนจากลิง ในขณะที่การติดต่อจากคนสู่คนนั้นพบได้น้อยมาก โดยไวรัสบีสามารถพบในน้ำลาย ปัสสาวะ และอุจจาระของลิงแสม (Macaque) ซึ่งเป็นลิงป่าชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในฮ่องกง ผู้ติดเชื้ออาจมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในระยะแรกจนอาจลุกลามไปสู่การติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง

โห ปักเหลือง (Ho Pak-leung) นักจุลชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยฮ่องกง กล่าวว่า เป็นเรื่องยากมากที่มนุษย์จะติดเชื้อไวรัสบี มีการบันทึกผู้ป่วยทั่วโลกเพียงประมาณ 50 รายนับตั้งแต่ตรวจพบไวรัสครั้งแรกในปี 2475 และมีผู้ป่วยร้อยละประมาณ 40 เสียชีวิตจากไวรัสชนิดนี้ โดยความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสบีนั้นต่ำมากหากไม่มีบาดแผลบนร่างกาย ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ โจเซฟ จาง เคย์เอียน (Joseph Tsang Kay-yan) เตือนว่า เมื่อไวรัสบีเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง อัตราการเสียชีวิตอาจสูงถึงร้อยละ 80 และหากผู้ป่วยไม่ได้รับยาต้านไวรัสทันเวลา อาจส่งผลให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบและไขสันหลังอักเสบได้

กรมเกษตร ประมงและการอนุรักษ์ แห่งหน่วยงานบริหารเกาะฮ่องกง เตือนประชาชนหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารต่อหน้าลิงและสบตาลิงโดยตรง เนื่องจากอาจถูกมองว่าเป็นพฤติกรรมยั่วยุ เมื่อลิงเข้าใกล้ ควรชะลอความเร็วและรักษาระยะห่างที่เหมาะสมจากพวกมัน และงดเว้นจากการเข้าใกล้หรือสัมผัสพวกมัน และในกรณีที่ถูกลิงกัดหรือข่วน ควรขอความช่วยเหลือจากแพทย์ทันที

ขณะที่ในประเทศไทย ข้อมูลจากบทความ “โรค Monkey-B มาใหม่อีกแล้วเหรอ?” ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี 2564 อธิบายเกี่ยวกับเชื้อไวรัสบีจากลิงไว้ว่า B Virus, herpes B, monkey B virus, herpesvirus simiae, และ herpesvirus B เชื้อนี้ได้รับการจำแนกไว้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2475 โดยเป็นเชื้อในวงศ์เดียวกับที่โรคเริมที่คุ้นเคยมากกว่า (Herpes simplex, HSV-1, HSV-2)

ซึ่งไวรัสในกลุ่มนี้ก็จะเป็นไวรัสที่มีความสามารถในการติดเชื้อที่เซลล์ประสาท โดยจะสังเกตได้ว่าในโรคเริมนั้นเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด กลับมาเป็นซ้ำใหม่ได้เมื่อผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำลงเนื่องจากเชื้อจะอาศัยอยู่ในปมประสาท ไม่ได้อยู่ในเลือด และมีกระบวนการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย สำหรับโรคเริม อาการนั้นก็จะเป็นตุ่มน้ำพอง แต่สำหรับ B virus นั้นอาการในมนุษย์นั้นรุนแรงกว่ามาก

ปกติแล้ว Monkey B พบได้ในลิงกลุ่มแม็กแคก (Macaque) ซึ่ง ก็คือ ลิงทุกชนิดที่พบในประเทศไทย ที่เราคุ้นชื่อกันดีเช่น ลิงแสม ลิงวอก ลิงกัง เป็นต้น (ยกเว้นลิงลม) โดยเป็นเชื้อที่แฝงอยู่ในร่างกายลิงไม่แสดงอาการ หรือแสดงอาการคล้ายกับโรคเริมในคน แต่ถ้าหากมนุษย์ หรือลิงในกลุ่มอื่น เช่น ชิมแปนซี ได้รับเชื้อนี้เข้าไปแล้วจะก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

โดยหากได้รับเชื้อเข้าไปผ่านทางการถูกกัดหรือข่วน การสัมผัสน้ำลาย, ปัสสาวะ, อุจจาระ หรือ เนื้อเยื่อเส้นประสาท ที่มีเชื้อไวรัสนี้อยู่ผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล, ดวงตา, จมูก หรือปาก หรืออาจผ่านทางการถูกเข็มหรือของมีคมที่มีเชื้อนี้อยู่ จิ้มหรือบาดที่ผิวหนัง อย่างไรก็ตาม มีรายงานการแพร่เชื้อระหว่างมนุษย์ (คนสู่คน) เพียงครั้งเดียวในปี 2530  โดยผู้ที่ติดเชื้อจะแสดงอาการภายใน 1 เดือนหลังได้รับเชื้อ อาการเริ่มต้นจะคล้ายไข้หวัด อาทิ มีไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหัว

จากนั้นจะเริ่มมีตุ่มน้ำพองบริเวณที่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย และพัฒนาอาการที่หนักขึ้นหายใจลำบาก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และในท้ายที่สุดไวรัสจะกระจายไปที่สมองและไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทรุนแรงและเสียชีวิตได้หลังติดเชื้อที่ก้านสมอง โดยอัตราการเสียชีวิตของโรคนี้หากไม่ได้มีการไม่ได้มีการรักษานั้นสูงมากที่ร้อยละ 70-80 และผู้รอดชีวิตก็จะมีอาการทางระบบประสาทต่อเนื่องอีกด้วย

สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นนั้นคือการล้างแผลที่สัมผัสกับลิงด้วยการถูสบู่หรือสารละลายไอโอดีน 15 นาที และล้างด้วยการเปิดน้ำสะอาดไหลผ่านแผลอีก 15 นาที จากนั้นให้รีบไปพบแพทย์ ทั้งนี้ การที่จะได้รับเชื้อเข้าไปสำหรับประชานทั่วไปที่ไม่ได้มีการสัมผัสใกล้ชิดกับลิงนั้น มีโอกาสน้อยมาก แต่สำหรับผู้ที่ต้องทำงานใกล้ชิดก์บลิง เช่น สัตวแพทย์ นักวิจัย บุคลากรศูนย์วิจัยที่เลี้ยงลิง หรือพนักงานสวนสัตว์นั้นถือว่ามีความเสี่ยงหากมิได้มีการตรวจโรคลิงที่อยู่ในการดูแล หรือมีมาตรการป้องกัน

อาทิ การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสม มีการเรียนรู้ด้านจับบังคับลิง การปฐมพยาบาล และการส่งตัวอย่างที่สงสัยอย่างเหมาะสม และอย่าลืมว่าในไทยนั้นมีจุดที่มีความเสี่ยงมากอยู่อีกจุดหนึ่งซึ่งมักถูกมองข้ามนั่นคือ การที่มีลิงอยู่ใกล้ชิดกับชุมชนในหลายแห่ง บางแห่งก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือศาสนสถานอีกด้วย หลายแห่งนั้นถึงกับมีการจัดเป็นบริเวณให้อาหารลิงไว้ ถึงแม้ยังไม่พบโรคนี้ในลิงในธรรมชาติในทวีปเอเชียซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ อย่างไรก็ตาม ผู้ทีมีโอกาสเสี่ยงก็ควรได้รับการสื่อสารความเสี่ยงหรือเตรียมความพร้อมในกรณีที่เกิดเหตุอยู่เสมอ

ขอบคุณเรื่องจาก 

https://www.thestandard.com.hk/breaking-news/section/4/215029/HK-logs-first-ever-human-B-virus-case-after-man-wounded-by-wild-monkeys

https://vs.mahidol.ac.th/Th/anc27-07-64.html

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ระทึกซ้ำ! \'แอร์อินเดีย\'บินกลับฮ่องกงฉุกเฉิน พบปัญหาทางเทคนิคกลางอากาศ ระทึกซ้ำ! 'แอร์อินเดีย'บินกลับฮ่องกงฉุกเฉิน พบปัญหาทางเทคนิคกลางอากาศ
  • เตือน! คนฮ่องกงห้ามโหลดเกม \'Reversed Front : Bonfire\' เหตุมีเนื้อหาล้มล้างคอมมิวนิสต์ เตือน! คนฮ่องกงห้ามโหลดเกม 'Reversed Front : Bonfire' เหตุมีเนื้อหาล้มล้างคอมมิวนิสต์
  • ‘ปานามา’อาจเลิกสัญญาบ.ฮ่องกง หลังถูก‘ทรัมป์’เพ่งเล็งปล่อย‘จีน’มีอิทธิพลเหนือคลอง ‘ปานามา’อาจเลิกสัญญาบ.ฮ่องกง หลังถูก‘ทรัมป์’เพ่งเล็งปล่อย‘จีน’มีอิทธิพลเหนือคลอง
  • สหรัฐฯจะระงับพัสดุส่งจากจีน-ฮ่องกงชั่วคราว สหรัฐฯจะระงับพัสดุส่งจากจีน-ฮ่องกงชั่วคราว
  • ‘ฮ่องกง’เตือนเลี่ยงชายแดนไทยจุดเชื่อมต่อ‘เมียนมา-ลาว’ เผยอุบายใหม่ลวงบังคับเป็นแก๊งคอลฯ ‘ฮ่องกง’เตือนเลี่ยงชายแดนไทยจุดเชื่อมต่อ‘เมียนมา-ลาว’ เผยอุบายใหม่ลวงบังคับเป็นแก๊งคอลฯ
  • ‘ฮ่องกง’ส่งชุดเฉพาะกิจเยือน‘กรุงเทพฯ’ ประสานทางการ‘ไทย-จีน’ช่วยเหยื่อค้ามนุษย์ ‘ฮ่องกง’ส่งชุดเฉพาะกิจเยือน‘กรุงเทพฯ’ ประสานทางการ‘ไทย-จีน’ช่วยเหยื่อค้ามนุษย์
  •  

Breaking News

ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

เชียงรายอ่วม!ฝนหนักทำน้ำท่วม 15 อำเภอ ปภ.เร่งสำรวจความเสียหายช่วย ปชช.

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved