วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
ยาน 'เสินโจว-18' หอบตัวอย่างทดลอง 34 .6 กิโลฯกลับโลก หนุนวิจัยการอาศัยในอวกาศ

ยาน 'เสินโจว-18' หอบตัวอย่างทดลอง 34 .6 กิโลฯกลับโลก หนุนวิจัยการอาศัยในอวกาศ

วันอังคาร ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567, 15.00 น.
Tag : สถานีอวกาศ ยานเสินโจว-18
  •  

ยาน 'เสินโจว-18' นำตัวอย่างทดลองน้ำหนักรวม 34.6 กิโลกรัม กลับมายังโลกแล้ว เพื่อเดินหน้าหนุนงานวิจัยการอาศัยในอวกาศ

5 พ.ย.67 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ไซแอนซ์ แอนด์ เทคโนโลยี เดลี (Science and Technology Daily) รายงานว่า ยานอวกาศเสินโจว-18 (Shenzhou-18) ได้เดินทางกลับสู่โลกพร้อมกับตัวอย่างการทดลองจากสถานีอวกาศหนัก 34.6 กิโลกรัม ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ วัสดุโลหะผสม และวัสดุนาโน ซึ่งจัดหาได้ยากบนพื้นโลก


ตัวอย่างที่นำกลับมาเหล่านี้จะช่วยยกระดับการพัฒนาเลเซอร์ไฟเบอร์จากอวกาศ เอื้อต่อการสร้างวัสดุจากนอกโลก และสำรวจโอกาสที่สิ่งมีชีวิตบนโลกจะแพร่กระจายไปทั่วจักรวาล

อนึ่ง แคปซูลส่งกลับของยานอวกาศเสินโจว-18 ซึ่งบรรทุกนักบินอวกาศของจีน 3 คน ได้เดินทางถึงพื้นโลกในช่วงเช้ามืดของวันจันทร์ (4 พ.ย.) หลังจากปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศระยะ 6 เดือนเสร็จสิ้น

ตัวอย่างการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่นำกลับมาโดยยานอวกาศลำดังกล่าวมีทั้งหมด 55 ประเภท ครอบคลุมโครงการวิทยาศาสตร์ด้านต่างๆ 28 โครงการ เช่น วิทยาศาสตร์ชีวภาพในอวกาศ วิทยาศาสตร์วัสดุในอวกาศ และวิทยาศาสตร์การเผาไหม้ภายใต้สภาวะเกือบไร้แรงโน้มถ่วง

ตัวอย่างด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ประกอบด้วย อาร์เคีย (archaea) ที่สร้างก๊าซทีเทน จุลินทรีย์ที่ต้านรังสี และจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในหิน ซึ่งคาดว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยวางรากฐานทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาความเป็นไปได้ของการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมนอกโลก และประเมินความสามารถของจุลินทรีย์ในการปรับตัวต่อความท้าทายต่างๆ ในนอกโลก

อีกส่วนหนึ่งของตัวอย่างที่นำกลับมาคือ โลหะผสมที่ทนต่ออุณหภูมิสูง สายใยแก้วนำแสง และสารเคลือบแก้วนำแสง โดยวัสดุนวัตกรรมเหล่านี้มีศักยภาพที่จะปฏิวัติการผลิตสิ่งต่างๆ เช่น ใบพัดสำหรับการบินในอวกาศรุ่นต่อไป เลเซอร์ไฟเบอร์ที่เหมาะกับการใช้งานในอวกาศ และการซ่อมแซมเครื่องมือแพทย์อย่างแม่นยำ

นอกจากนั้น ยานอวกาศยังนำอนุภาคนาโนที่ได้จากการเผาไหม้ก๊าซมีเทนกลับมาด้วย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์วัสดุระดับอนุภาคที่สำคัญสำหรับสภาพแวดล้อมนอกโลกในอนาคต (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :  ภารกิจสำเร็จ!!! เปิดภาพแคปซูล'เสินโจว-18' ส่ง 3 นักบินกลับสู่พื้นโลกปลอดภัย)

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ล้วงย่ามพระ!‘สุชาติ’เล็งตั้ง‘ธนาคารพุทธศาสนา’ ดูแลทรัพย์สิน-แยกเงิน‘สงฆ์-วัด’

ภูมิธรรม รับฟัง ‘เลขาฯกฤษฎีกา’ แนะ ครม. รักษาการนายกฯยุบสภาไม่ได้ บอกความเห็น ‘วิษณุ’ ก็ต้องฟัง

รุกฆาต! ดันนิรโทษกรรมสุดซอย ส้มแดงดีลลับ ปล่อยผี 'คดีทุจริต-ม.112คดีอาญาร้ายแรง'

'ภูมิธรรม'บ่ายเบี่ยง! บอกไม่ทราบชงถอนร่างเอนเตอร์เทนเมนต์ฯ พรุ่งนี้หรือไม่

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved