วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
นักวิจัยวอนเลิกต้ม'กุ้ง-ปู'แบบเป็นๆ หลังผลการศึกษาพบรับรู้ความเจ็บปวด

นักวิจัยวอนเลิกต้ม'กุ้ง-ปู'แบบเป็นๆ หลังผลการศึกษาพบรับรู้ความเจ็บปวด

วันพฤหัสบดี ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567, 19.13 น.
Tag : กุ้ง ปู ต้ม เจ็บปวด วิจัย
  •  

28 พ.ย. 2567 นสพ.New York Post สหรัฐอเมริกา รายงานข่าว How clawful! Crabs can feel pain when boiled and butchered for food prep: study อ้างผลวิจัยของนักสัตววิทยาจากมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์กของสวีเดน ที่พบว่า สัตว์น้ำเปลือกแข็งจำพวกกุ้งและปู สามารถรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้เมื่อพวกมันถูกนำไปต้มทั้งเป็น โดยการศึกษานี้ใช้การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้า (Electrophysiological) เพื่อตรวจจับการตอบสนองของร่างกายโดยธรรมชาติของปูชายฝั่งในขณะที่กระตุ้นด้วยสิ่งกระตุ้นที่เป็นอันตราย 2 ประเภท คือสิ่งกระตุ้นทางกลหรือสารเคมี และกรดน้ำส้ม

นักวิจัยพบว่าปูชายฝั่งแสดงการตอบสนองในระบบประสาทส่วนกลางซึ่งบ่งบอกถึงการตอบสนองต่อความเจ็บปวดตามมาตรฐาน ร่างกายของปูชายฝั่งทุกส่วนตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด ยกเว้นหนวดซึ่งตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางเคมีเท่านั้น หลักการความเจ็บปวดเหล่านี้ไม่เพียงใช้ได้กับปูชายฝั่งเท่านั้น แต่ยังใช้ได้กับสัตว์น้ำเปลือกแข็งจำพวกกุ้งด้วย ซึ่งข้อค้นพบดังกล่าวทำให้ เอเลฟเธอเรียส คาซิอูราส (Eleftherios Kasiouras) นักศึกษาปริญญาเอก ม.โกเธนเบิร์ก เรียกร้องให้ยุติการประกอบอาหารด้วยวิธีต้มปูและกุ้งแบบเป็นๆ


“เราเชื่อว่าการต้มสัตว์จำพวกกุ้งที่ยังมีชีวิตอยู่ควรได้รับการห้าม และควรใช้เทคนิคการปรุงอาหาร เช่น การช็อตด้วยไฟฟ้าทันทีที่จับสัตว์จำพวกกุ้งได้ มีหลักฐานมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งรวมถึงการวิจัยของเรา ที่ระบุว่าสัตว์จำพวกเดคาพอด (Decapod-สัตว์จำพวกกุ้งและปู) จะรู้สึกเจ็บปวด ดังนั้น เราจึงควรปฏิบัติต่อพวกมันเหมือนกับที่เราปฏิบัติต่อสัตว์ชนิดอื่นๆ” คาซิอูราส กล่าว

รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า ปูเป็นสัตว์บริโภคเพียงชนิดเดียวที่ไม่ได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายคุ้มครองสัตว์ ซึ่งหมายความว่าการฆ่าปูเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย โดยองค์กรคุ้มครองสัตว์ Crustacean Compassion กล่าวว่า มีวิธีฆ่าปูที่ผิดจริยธรรมหลายวิธี เช่น การต้ม การแยกชิ้นส่วน การฆ่าด้วยไฟฟ้า การแยกส่วน การเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การจมน้ำจืด และการแช่เย็นทั้งแบบแห้งและแบบเปียก

ขอบคุณเรื่องจาก

https://nypost.com/2024/11/27/science/crabs-can-feel-pain-when-boiled-for-food-prep-study/

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • น่าทึ่ง! นักวิจัยพบ\'แตนเบียน\'ส่งต่อแบคทีเรียมีประโยชน์ให้ลูกผ่าน\'พิษ\' น่าทึ่ง! นักวิจัยพบ'แตนเบียน'ส่งต่อแบคทีเรียมีประโยชน์ให้ลูกผ่าน'พิษ'
  •  

Breaking News

สุดกลั้น! 'นุ่น ดารัณ'เปิดบทเรียนเข้มงวดจนลูกหนีออกจากบ้าน

(คลิป) เมื่อลูกศิษย์ ไม่ได้ความเป็นธรรม 'ครูแพทย์จึงเสียน้ำตา' เมื่อ 'หมอตัวโต' ปกป้องนักการเมืองชั่วๆ

'สมชาย'เคลียร์ชัดๆ ไขกระจ่าง'วิษณุ'ไปศาลอาญาทำไม?

'นายกฯ'ยินดี พระสันตะปาปาลีโอที่ 14 ได้ตำแหน่งสันตะปาปาองค์ที่ 267

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved