หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี เกิดที่บ้านสี่กั๊กพระยาศรี ริมถนนเจริญกรุง ตำบลพาหุรัด อำเภอพาหุรัด (ขณะนั้น) กรุงเทพมหานคร เป็นโอรสของ พันโทหม่อมเจ้าสมภพ เกษมศรี และหม่อมเยื้อน เกษมศรี ณ อยุธยา หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2540 รวมอายุได้ 82 ปี
ด้านการศึกษา หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ เป็นผู้สอน โดยท่านมีความประทับใจในผลงานออกแบบบ้านของหม่อมเจ้าโวฒยากรมาก เป็นแรงบัลดาลใจให้ออกแบบบ้านในเวลาต่อมา ส่วนวิชาสถาปัตยกรรมไทย ท่านเรียนกับพระพรหมพิจิตร ในปีสุดท้าย เรียนวิชาออกแบบกับอาจารย์นารถ โพธิประสาท
ประวัติการทำงาน
ภายหลังเมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับอนุปริญญา ในปีพ.ศ.2481 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ทำงานออกแบบทางด้าน สถาปัตยกรรม และศิลปกรรม อย่าสม่ำเสมอ มาตลอดระยะเวลา 50 ปี รวมถึงทั้งได้พัฒนาความรู้ทางด้านการออกแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานสถาปัตยกรรมไทย จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และยอมรับนับถือในวงการสถาปัตยกรรม
หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา ในปี พ.ศ. 2481 จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านได้เข้ารับราชการที่กรมโยธาธิการ โดยได้รับมอบหมายให้ออกแบบอาคารราชการหลายหลังได้ขึ้นไปปฏิบัติงานที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อรัฐบาลมีนโยบายจะย้ายเมืองหลวงไปที่นั่น ได้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างเมรุสำหรับเผาคนที่ตายเพราะพิษไข้ป่าเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นท่านก็ได้ทำงานส่วนตัวไปพร้อมๆ กัน โดยออกแบบบ้านซึ่งเป็นที่นิยมชมชื่นของเจ้าของบ้านเป็นอันมากและในปัจจุบันนี้ บ้านเหล่านั้นเป็นแบบอย่างของบ้านที่มีคุณค่าในแง่วิชาการซึ่งมักถูกนำไปกล่าวถึงและอ้างอิงอยู่เสมอ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 ทางกรมศิลปากรได้ขอตัว หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ จากกรมโยธาธิการ ให้ไปสังกัดอยู่กองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ช่วงเวลานี้ท่านได้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างวิหารพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดชลบุรี พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ ปราสาทจำลอง ซึ่งนำไปแสดง ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ในปี พ.ศ. 2501 ได้เป็นที่กล่าวขวัญและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางถึงศิลปการก่อสร้างอันงดงามของไทย ซึงพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาทนั้น ได้ปรากฏบนรูปธนบัตรชนิด 5 บาท เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2512 อีกด้วย นอกจากนั้นยังได้ออกแบบเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์วัดเทพศิรินทราวาส ซึ่งใช้เป็นเมรุในการพระราชพิธีตลอดมาจนถึงทุกวันนี้
ในปี พ.ศ. 2494 ทางกรมศิลปากรได้ขอตัวหม่อมราชวงศ์มิตรารุณ จากกรมโยธาธิการ ให้ไปสังกัดอยู่กองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ช่วงเวลานี้ท่านได้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างวิหารพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดชลบุรี พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ ปราสาทจำลอง ซึ่งนำไปแสดง ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ในปี พ.ศ. 2501 ได้เป็นที่กล่าวขวัญและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางถึงศิลปการก่อสร้างอันงดงามของไทย ซึ่งพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาทนั้น ได้ปรากฏบนรูปธนบัตรชนิด 5 บาท เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2512 อีกด้วย นอกจากนั้น ท่านยังได้ออกแบบเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์วัดเทพศิรินทราวาส ซึ่งใช้เป็นเมรุในการพระราชพิธีตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
อีกทั้ง ท่านยังได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์พิเศษ สอนสถาปัตยกรรมไทย ให้กับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทั้งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศิลปากร ในระหว่างนี้ท่านได้มีโอกาสรับใช้เบื้องพระยุคลบาทออกแบบ เขียนแบบ และควบคุมการก่อสร้างที่ประทับแบบพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ตำหนักที่ประทับและที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ต่อมา
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2504 ตัวท่านนั้นได้ขอลาออกจากราชการเพื่อปฏิบัติงานส่วนตัว แต่เมื่อทรงทราบได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มาปฏิบัติราชการ ในพระราชวัง สังกัดสำนักพระราชวัง ในตำแหน่งหัวหน้ากองมหาดเล็ก และปฏิบัติราชการในฐานะสถาปนิกพิเศษประจำสำนักพระราชวัง ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยตั้งแต่ออกแบบ เขียนแบบ และควบคุมการก่อสร้างพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร ทั้งยังพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบพระตำหนักเพิ่มเติม ได้แก่ พระตำหนักสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี รวมทั้งหอพระประจำราชนิเวศน์ด้วย นอกจากนั้นยังโปรดฯ ให้เป็นผู้ควบคุมตกแต่งสถานที่พระราชนิเวศน์แห่งนี้ทั้งหมด
ส่วนที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ซ่อมแซมสระสรงที่ตำหนักที่ประทับ ต่อมาเมื่อมีพระราชประสงค์สร้างพระตำหนักเพิ่มเติม เป็นที่ประทับของพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เป็นผู้ออกแบบและควบคุมทั้งหมด
ส่วนที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เมื่อทรงมีพระราชประสงค์จะต่อเติมพระตำหนักส่วนใด ก็จะโปรดเกล้าให้หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เป็นผู้เขียนแบบและต่อเติมขึ้น พร้อมทั้งเขียนแบบการตกแต่งภายในทั้งหมด ส่วนที่พระบรมมหาราชวัง หม่อมราชวงศ์มิตรารุณได้รับผิดชอบ ในการบูรณะปฏิสังขรณ์ที่นั่งองค์ต่าง ๆ
ในช่วงนี้ เมื่อหม่อมราชวงศ์มิตรารุณ พอจะมีเวลาว่างมากขึ้น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ได้ทูลขอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้หม่อมราชวงศ์ มิตรารุณไปช่วยงานด้านพระศาสนาออกแบบอาคารต่าง ๆ ในวัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี งานที่สำคัญ ได้แก่ พระมหามณฑปพระพุทธบาท “ภปร” “สก” ศาลานาคเลนน้ำนานาชาติ นอกจากงานออกแบบในวัดญาณสังวรารามแล้ว ยังได้ออกแบบพระอุโบสถ เจดีย์ ที่วัดตรีทศเทพฯ ศาลาที่ระลึกครบ 150 ปี ของวัดบวรนิเวศวิหาร
นอกเหนือจากงานออกแบบสถาปัตยกรรมแล้ว ท่านยังได้ออกแบบตรามหาวิทยาลัยมหิดล ตรามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตราสวนหลวง ร.9
และเมื่อหม่อมราชวงศ์มิตรารุณ มีอายุครบ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิบัติราชการต่อไปอีกจนถึงอายุ 65 ปี หลังจากนั้นจึงขอรับใช้เบื้องพระยุคลบาทโดยมิขอรับเงินเดือน และไปปฏิบัติราชการทุกวัน ภายหลังได้ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้างอาคารหลายๆ หลัง ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ได้แก่ วัดญาณสังวราราม วัดตรีทศเทพฯ วัดบวรนิเวศน วิหาร วัดถ้ำผาปล้อง จังหวัดเชียงใหม่
ในปี พ.ศ. 2530 หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี ยังได้ออกแบบเมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ซึ่งใช้เป็นเมรุในพระราชพิธีต่อมาจนทุกวันนี้
จะเห็นได้ว่า เมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับอนุปริญญา ในปีพ.ศ.2481 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ทำงานออกแบบทางด้าน สถาปัตยกรรม และศิลปกรรม อย่าสม่ำเสมอ มาตลอดระยะเวลา 50 ปี รวมถึงทั้งได้พัฒนาความรู้ทางด้านการออกแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานสถาปัตยกรรมไทย จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และยอมรับนับถือในวงการสถาปัตยกรรมจนทุกวันนี้
ผลงานดีเด่นระหว่างปฏิบัติราชการกรมศิลปากร
- วิหารพระพุทธสิหิงค์จังหวัดชลบุรี
- เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์วัดเทพศิรินทราวาส
-ร่วมกับหม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างพระตำหนักภูพิงครา ชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งตกแต่งภายในพระตำหนัก และจัดตกแต่งสวนรอบพระตำหนักเรือนรับรอง สำหรับผู้ติดตาม (State visit) ในพระบรมมหาราชวัง พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่
-ออกแบบศาลาไทย โดยนำเค้าโครงจากพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ไปแสดงณ ประเทศเบลเยี่ยม กรุงบรัสเซลส์ในงาน World Exposition ปี พ.ศ. 2501
- ตกแต่งภายในห้องไทย ที่เจดีย์ชเวดากอง ประเทศพม่า
ผลงานส่วนตัว
- เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบบ้านพักอาศัยทั้งในแบบสากล และแบบบ้านไทย
- ออกแบบตึกจงกลนี วัฒนวงศ์ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- ออกแบบอาคารไทยลายทอง เป็นการนำอาคารแบบไทยมาปรับปรุงใช้เป็นอาคารพาณิชย์ อาคารไทยลายทอง โรงแรมมณเฑียร ถนนสุรวงศ์
- เป็นผู้มีความสามารถในการออกแบบตกแต่งภายในทั้งในแบบไทย และแบบสากล โดยนำเค้าโครงจากของแบบโบราณมาดัดแปลงให้เป็นแบบสมัยใหม่ และมีความสามารถทางออกแบบบ้าน อาคารอยู่อาศัยทางศิลปกรรมแบบไทยเข้าประยุกต์ในอาคารที่ทุกคนยอมรับ
รางวัลและเกียรติคุณ
2513 : ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2523 : ปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์(สาขาวิชาการออกแบบภายใน) มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีการศึกษา 2522
2530 : รางวัล ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีการศึกษา 2522
2537 : ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัญฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้รับยกย่องให้เป็นสถาปนิกดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
2538 : ได้รับยกย่องเป็นปูชนียบุคคลด้านสถาปัตยกรรม กรรมการวันอนุรักษ์มรดกไทย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี