วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
'พลับพลึง'เป็นมากกว่าไม้ประดับ

'พลับพลึง'เป็นมากกว่าไม้ประดับ

วันจันทร์ ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557, 14.01 น.
Tag :
  •  

'พลับพลึง'เป็นไม้ประดับที่มักปลูกไว้ริมรั้วนอกบ้าน จัดเป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว อวบน้ำ ดอกช่อ กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ปลายเกสรสีแดง ชอบดินชื้นแฉะ ขยายพันธ์โดยใช้ส่วนหัวใต้ดิน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crinum asiaticum L. อยู่ในวงศ์ AMARYLLIDACEAE  กาบใบสีเขียวของพลับพลึงจะมีคุณสมบัติเหมือนใบตอง คือใช้ทำงานฝีมือ งานประดิษฐ์ดอกไม้

และคนอีสานแท้ๆมักจะเรียกพลับพลึงว่า 'ว่านชน' เนื่องจากเมื่อพลัดตกหกล้มหรือไปชนกระแทกอะไรมาก็ให้ใช้ว่านนี้รักษา ประโยชน์ทางยาของพลับพลึงนั้น เป็นที่รู้กันโดยหมอยาในหลายท้องที่นิยมใช้แบบเดียวกันนั่นคือใช้พลับพลึงในการแก้ฟกช้ำดำเขียว แก้อักเสบ เคล็ดขัดยอก ปวด บวม โดยวิธีใช้ก็แสนง่าย เพียงนำใบพลับพลึงมาย่างไฟให้ตายนึ่ง คือย่างพอให้ใบอ่อนตัวลง แล้วพันรอบอวัยวะที่เจ็บ หัก บวม ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก


นอกจากนี้ในมารดาหลังคลอดก็นิยมใช้ใบพลับพลึงในการทับหม้อเกลือ ที่ท้อง สะโพก เพื่อลดอาการอักเสบ ฟกช้ำ จากการคลอดลูก และเพื่อให้มดลูกเข้าอู่เร็ว หรือคนที่ปวดศีรษะ ก็สามารถนำใบพลับพลึงอังไฟ แล้วมาพันรอบศีรษะไว้ อาการปวดก็จะทุเลาลง  แต่ถึงแม้ประโยชน์ของเจ้าว่านชนจะมีมากมาย ก็ใช้ได้แค่ภายนอกเท่านั้น ไม่ใช้เป็นยากินเนื่องจากมีพิษ

ลักษณะพลับพลึง

ต้นพลับพลึง จำเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่ขึ้นเป็นกอ มีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นกลม เมื่อเติบโตเต็มที่จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12-15 เซนติเมตร และมีความสูงราว 90-120 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อที่ขึ้นบริเวณโคนต้น และการเพาะเมล็ด

ใบพลับพลึง ใบมีสีเขียวจะออกรอบๆ ลำต้น ลักษณะของใบมีลักษณะใบแคบ เรียวยาว ขอบใบจะเป็นคลื่น ปลายใบแหลม ใบหนาอวบน้ำ ความกว้างของใบประมาณ 10-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 60-90 เซนติเมตร

ดอกพลับพลึง ดอกเป็นช่อใหญ่ ดอกมีกลิ่นหอม แต่ละช่อมีดอกประมาณ 15-40 ดอก ก้านดอกชูขึ้นจากตรงกลางลำต้น มีความยาวประมาณ 90 เซนติเมตร และสูงราว 90-120 กลีบดอกมีสีขาวแคบเรียวยาวประมาณ 15 เซนติเมตร หนึ่งดอกมีกลีบ 6 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะโค้งเข้าหาด้านดอก ที่ดอกมีเกสรตัวผู้มี 6 ด้าน ชูสูงขึ้นจากดอก ที่ปลายเกสรมีสีแดง และจะทยอยออกดอกเรื่อยๆ

ผลพลับพลึง จะเป็นผลสีเขียวอ่อน ลักษณะของผลค่อนข้างกลม

สมุนไพรพลับพลึง เป็นพืชที่มีอายุยืนยาวนับสิบปี มีความแข็งแรงทนทาน ไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวน เป็นพืชที่ดูแลง่าย ไม่ต้องมีการบำรุงรักษามากนัก และยังเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้เร็วอีกด้วย โดยสายพันธุ์ของพลับพลึง ก็ได้แก่ พลับพลึงด่าง (Crinum variegates), พลับพลึงแดง (Crinum augustum), พลับพลึงเตือน (Crinum rubra), พลับพลึงแมงมุม (Hymenocallis caribaea), พลับพลึงใหญ่ (Crinum amabille) และ พลับพลึงทอง (Crinum asiaticum L.) ที่เป็นสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์มาจากต้น Poison Bulb

 สรรพคุณพลับพลึง โดยส่วนที่นำมาใช้ก็ได้แก่ ใบ ราก และเมล็ด 

- ใบพลับพลึง ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง

- ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ด้วยการใช้ใบมาอังไฟแล้วใช้พันรอบศีรษะไว้ อาการปวดศีรษะก็จะทุเลาลง

- ช่วยขับเสมหะ

- ช่วยทำให้คลื่นเหียนอาเจียน

- ใช้เป็นยาระบาย

- ใบใช้ลนไฟ ช่วยรักษาโรคไส้เลื่อนได้ (ใช้กันในแถบจังหวัดสุพรรณบุรี)

- ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะและน้ำดีได้

- ใช้รักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย กล้ามเนื้ออักเสบ

- ใบใช้ทำเป็นยาประคบ สูตรแก้ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ช่วยบำรุงผิว ด้วยการใช้ ใบพลับพลึง / ใบมะขาม / ใบส้มป่อย / ใบเปล้า / ใบหนาด / ขมิ้นชัน / ไพล / การบูร / ผิวมะกรูด / เกลือแกง นำมาตำผสมกันแล้วทำเป็นยาประคบ

- ใบใช้ทำเป็นยาประคบเพื่อคลายเส้น ด้วยการใช้ ใบพลับพลึง 8 บาท / ไพล 4 บาท / อบเชย 2 บาท / ใบมะขาม 12 บาท / เทียนดำ 1 บาท / เกลือ 1 บาท นำมาตำห่อผ้าแล้วนึ่งให้ร้อน นำมาใช้ประคบเส้นที่ตึงให้คลายได้

- ช่วยแก้อาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว อาการเคล็ดขัดยอก ข้อเท้าพลิกแพลงได้ ด้วยการใช้ใบพลับพลึงนำมานึ่งไฟให้ใบอ่อนตัวลง แล้วนำมาพันรอบบริเวณที่เจ็บ

- ใช้ทำเป็นยาย่างช่วยรักษาอาการเลือดตกใน ตกต้นไม้ หรือควายชน ด้วยการใช้ ใบพลับพลึง / ใบชมชื่น / ใบหนาด / ใบเปล้าใหญ่ / ใบส้มป่อย นำมาหั่นและตำแล้วนำไปทำยาย่าง

- ช่วยแก้อาการปวดกระดูก ด้วยการใบพลับพลึง ตำผสมกับข่า และตะไคร้ นำไปหมดไฟแล้วนำมาพอกบริเวณที่ปวดกระดูก

- ใบใช้ประคบแก้ถอนพิษได้ดี

- ใบพลับพลึง สามารถนำมาใช้กับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตรหรือการอยู่ไฟได้ ด้วยการใช้ใบประคบบริเวณหน้าท้อง จะช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ทำให้น้ำคาวปลาแห้ง ช่วยขับของเสียต่างๆ ออกจากร่างกายได้ นอกจากนี้ยัง
ช่วยขจัดไจมันส่วนเกินได้อีกด้วย

- ใบพลับพลึงมีสารในกลุ่มอัลคาลอยด์ที่ชื่อว่า Lycorine ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต่อต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคโปลิโอและโรคหัด

- ราก เมื่อนำไปเคี่ยวให้แหลกจนเป็นน้ำ แล้วกลืนเอาแต่น้ำเข้าไป จะช่วยทำให้อาเจียน

- รากพลับพลึง ใช้พอกแผลได้ ด้วยการนำรากมาตำแล้วพอกบริเวณบาดแผล

- รากพลับพลึง สามารถใช้รักษาพิษจากยางน่องได้

- ช่วยขับเลือดประจำเดือนให้ออกมาจนหมด

ประโยชน์ของพลับพลึง

- ใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงาม และให้กลิ่นหอม

- ในด้านของความเป็นศิริมงคล มีการปลูกต้นพลับพลึงไว้ในบ้าน เพื่อแก้เคล็ดช่วยขับไล่สิ่งที่ไม่เป็นมงคล ช่วยให้ชนะสิ่งไม่ดีทั้งปวงได้

- กาบใบสีเขียวของพลับพลึงมีคุณบัตรคล้ายใบตอง สามารถนำมาใช้ทำเป็นงานฝีมือ หรืองานประดิษฐ์ดอกไม้ได้ เช่น การทำกระทง งานแกะสลัก เป็นต้น

- ดอกพลับพลึง สามารถนำไปวัดหรือใช้บูชาพระได้ (ลั้วะ)

- ดอกพลับพลึงมีกลิ่นหอม ช่อใหญ่และยาว นิยมนำมาใช้จัดแจกัน ทำกระเช้าดอกไม้ หรือมอบให้เป็นช่อเดี่ยวๆ แทนดอกลิลลี่ก็ได้

นอกจากจะใช้พลับพลึงในทางยาก็จะใช้ในพิธีกรรมด้วย ดังจะเห็นได้จากพ่อหมอเมืองเลย นำใบพลับพลึงซอยใส่ขันน้ำมนต์ ใช้ประพรมตัวเพื่อไล่ผีและสะสางสิ่งอัปมงคล พร้อมทั้งนำต้นพลับพลึงไปปลูกแก้เคล็ดเพื่อใช้ขับไล่ความไม่เป็นมงคลต่างๆได้ และยังมีการบอกเล่าไว้ว่าชื่อว่าน “ชน” นี้มีที่มาจากคำว่า “ชนะ” ช่วยให้ชนะสิ่งที่ไม่ดีทั้งปวง พลับพลึงจึงเป็นไม้มงคลหนึ่งที่ควรมีไว้ประจำบ้าน

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : สมุนไพรอภัยภูเบศร, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), หมอชาวบ้าน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จับมือ วช. ผลิตภาพยนตร์เล่าเรื่องคนชายแดนใต้ มุ่งสู่สันติภาพด้วยมุมมองก้าวพ้นตัวตน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จับมือ วช. ผลิตภาพยนตร์เล่าเรื่องคนชายแดนใต้ มุ่งสู่สันติภาพด้วยมุมมองก้าวพ้นตัวตน
  • ประเทศไทยร่วมขับเคลื่อนนิทรรศการ SCSE 2025 ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองและอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ประเทศไทยร่วมขับเคลื่อนนิทรรศการ SCSE 2025 ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองและอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
  • กริฟฟิทท์ ฟู้ดส์ เติมเต็มโภชนาการและพลังใจผู้สูงวัย ณ มูลนิธิวัยวัฒนานิวาส กริฟฟิทท์ ฟู้ดส์ เติมเต็มโภชนาการและพลังใจผู้สูงวัย ณ มูลนิธิวัยวัฒนานิวาส
  • ยิปซีพยากรณ์\'ดวงรายวัน\'ประจำวันศุกร์ที่ 9​ พฤษภาคม พ.ศ. 2568 ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันศุกร์ที่ 9​ พฤษภาคม พ.ศ. 2568
  • \'ศุภมาส\' นำเสนอวิสัยทัศน์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง สู่สังคมที่ยั่งยืน 'ศุภมาส' นำเสนอวิสัยทัศน์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง สู่สังคมที่ยั่งยืน
  • \'วัน แบงค็อก\'เอาใจสายกิน!เปิดตัวแคมเปญให้เหล่านักชิมได้มิกซ์แอนด์แมทช์ความอร่อยได้อย่างไร้ขีดจำกัด 'วัน แบงค็อก'เอาใจสายกิน!เปิดตัวแคมเปญให้เหล่านักชิมได้มิกซ์แอนด์แมทช์ความอร่อยได้อย่างไร้ขีดจำกัด
  •  

Breaking News

'ไพศาล'ชี้แพทย์ 3 รายโดนฟันจริยธรรม! เสี่ยงคดี 157 ละเมิดอำนาจศาล

เซ็กซี่ขยี้ใจ! 'จันจิ จันจิรา'อวดหุ่นสวยแซ่บในชุดบิกินีริมหาด

ลีโอที่ 14 คือใคร ? เปิดประวัติ โป๊ปคนใหม่จากสหรัฐฯ

เปิดเนื้อหาฉบับเต็ม! 'กกต.-DSI'ออกหมายเรียก 53 สว. แจงคดีฮั้ว

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved