วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
ภูมิบ้านภูมิเมือง : เมืองร้อยเอ็ด ภูมิแห่งชัยชนะของพระเจ้าจิตรเสน

ภูมิบ้านภูมิเมือง : เมืองร้อยเอ็ด ภูมิแห่งชัยชนะของพระเจ้าจิตรเสน

วันอาทิตย์ ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557, 06.00 น.
Tag :
  •  

กู่พระโกนา

การพบจารึกอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤตบนฐานศิวลึงค์ที่แหล่งโบราณคดีดอนขุมเงิน ต. เด่นราษฎร์ กิ่งอำเภอหนองฮี จ.ร้อยเอ็ด นั้นเป็นจารึกที่กล่าวถึงพระนามพระเจ้าจิตรเสน (มเหนทรวรมัน) กษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๒ หรือกว่า ๑,๓๐๐ ปีมาแล้วนั้น เป็นหลักฐานที่ทำให้พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้มีฐานะเป็นชุมชนสำคัญ ไม่เช่นนั้นแล้ว พระเจ้าจิตรเสนคงไม่แผ่อำนาจเข้ามาครอบครอง และสถาปนาจารึกของพระองค์ไว้ ในพื้นที่จ.ร้อยเอ็ด   อาทิตย์นี้จึงได้ตามรอยสำนักศิลปากรที่ ๑๐ ไปยังแหล่งปราสาทขอมหรือกู่สำคัญในพื้นที่ร้อยเอ็ด โยตามรอยจากจารึกที่มีข้อความและลักษณะรูปอักษรเหมือนกับกลุ่มจารึกของพระเจ้าจิตรเสน กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยขอมโบราณ ที่เคยขุดพบที่บริเวณปากน้ำมูล จ.อุบลราชธานี สำหรับเนื้อหาของจารึกนี้ได้กล่าวถึงพระเจ้าจิตรเสนว่าเป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าศรีสารวเภามะ เป็นพระ เชษฐาของพระเจ้าศรีภววรมัน และเมื่อพระเจ้าจิตรเสนขึ้นครองราชย์นั้นได้รับการอภิเษกเป็นพระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน แท่นฐานศิวลึงค์นี้ที่พระเจ้าจิตรเสนสร้างขึ้นนี้เป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะ นับเป็นการค้นพบครั้งแรกของประเทศไทยและอาจมีเพียงชิ้นเดียว อีกทั้งยังเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ และยังพบ แท่นฐานโคอุสภะ และชิ้นส่วนจมูกวัว เป็นต้นที่เชื่อว่าทุ่งกุลาดำที่เชื่อว่าเป็นดินแดนแห้งแล้งจนร้องไห้นี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเจนละมาก่อน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ ระหว่าง พ.ศ. ๑๒๐๐-๑๒๒๔ เนื่องจากระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒, ๑๓, ๑๔ และ ๑๕ สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม จะเน้นการสร้างด้วยอิฐศิลาและการก่อสร้างด้วยไม้เป็นหลัก ส่วนพุทธศตวรรษที่ ๑๖ และ ๑๗ เริ่มใช้อิฐน้อยลงและไม่ใช้อิฐเลย ด้วยเหตุนี้แนวความคิดการสร้างสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างเครื่องไม้และวัตถุถาวรประเภทหินในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ นั้นยังแสดงให้เห็นว่ามีหลักฐานที่บอกถึงการเปลี่ยนแปลงการนับถือศาสนาจากพราหมณ์มาเป็นนับถือศาสนาพุทธ ด้วยพบพระพิมพ์แบบศิลปะทวาราวดีจำนวน ๓ องค์อีกด้วย

กู่กระโดน


เมืองร้อยเอ็ดแห่งนี้มีเรื่องจากตำนานอุรังคธาตุ เล่าไว้ว่าบริเวณนี้เดิมเป็นเมืองขนาดใหญ่ของอาณาจักรกุลุนทะชื่อเมืองสาเกต มีพระเจ้ากุลุนทะเป็นกษัตริย์ครองสืบๆกันมา จนถึงสมัยพระยาศรีอมรนีซึ่งมีพระโอรสชื่อสุริยกุมาร อายุ๑๖ ปี พระโอรสองค์นี้เป็นนักรบที่สามารถรวบรวมเมืองต่างๆ เข้ามาอยู่ในอำนาจได้๑๑หัวเมืองได้แก่เมืองเชียงเหียน เมืองฟ้าแดด เมืองสีแก้ว  เมืองเปือย  เมืองทอง เมืองหงส์  เมืองบัว  เมืองคอง เมืองเชียงขวง เมืองเชียงดี และเมืองไพ  ดังนั้นการมีเมืองอยู่ในอำนาจ๑๑ เมือง จึงเป็นที่มาของทางเข้าและประตูเข้าสู่เมืองหลวง ๑๑ ประตู สมัยโบราณ นิยมเขียน ๑๑ เป็น๑๐-๑ คือ สิบ กับหนึ่งจึงเรียกร้อยเอ็ด  สำหรับหลักฐานที่มีโบราณสถานนั้นได้พบอยู่หลายแห่งเช่น เมืองโบราณที่อำเภอพนมไพรมีคูเมืองและสระรอบๆ เนินดินแล้งยังมีสระโชติ (สระขี้ลิง)ตรงกลาง รอบสระโชติเป็นเนินสูงมีเสมาหินศิลปขอมจมอยู่ สันนิษฐานว่าขอมเป็นผู้สร้างแต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังพบกู่หรือปราสาทขอมอยู่หลายแห่งในอำเภอเกษตรวิสัย-อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอธวัชบุรี-เป็นต้น ซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญที่น่าสนใจทุกแห่งได้แก่ กู่กาสิงห์  กู่โพนระฆัง กูโพนวิท  กู่กระโดน กู่เมืองบัว   กู่พระโกนา พระธาตุบ่อพันขัน  กู่คันธนาม  ปรางค์กู่ เป็นต้น สร้างด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีประตูเข้าออกเป็นสี่ด้าน ภายในมีศิลาแลงวางทับกันเป็นชั้นๆ มีภาพสลักหน้าจั่วและโบราณวัตถุสำคัญมากมาย จนไม่น่าเชื่อว่าดินแนดนี้คือ ภูมิแห่งชัยชนะที่พระเจ้าจิตรเสนนั้นครอบครองและมีการสร้างปราสาทหินขึ้นไว้มากมาย

กู่คันธนาม

ยอดปรางค์ของกู่โพนระฆัง

แท่นศิวลึงค์ที่มีอักษรปัลลวะของพระเจ้าจิตรเสน

พระธาตุบ่อพันขัน

ปรางค์กู่

จารึกทีี่ฐานของศิวลึงค์ของพระเจ้าจิตรเสน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'ทักษิณ'หมดทางแล้ว! 'เสรีพิสุทธ์' ชี้ยัดคุกได้เลย

'สว.จิระศักดิ์-สว.วุฒิชาติ'ปิดบ้านเงียบ! กกต.-ดีเอสไอ แปะหมายเรียกหน้าบ้าน

หวดไทยพร้อมลุย! สู้ศึกชิงแชมป์โลกที่คาซัคฯ

'จุลพันธ์'พร้อมคุย'อนุทิน'ทำประชามติ กม.คอมเพล็กซ์ ไม่ใช่เป็นการเสนอขึ้นมาลอยๆ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved