วันอาทิตย์ ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน : ผงซักฟอกภัยเงียบจากครัวเรือน

วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน : ผงซักฟอกภัยเงียบจากครัวเรือน

วันอาทิตย์ ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557, 06.00 น.
Tag :
  •  

แม้ว่าผงซักฟอกจะเป็นผลิตภัณฑ์เคมีสังเคราะห์ที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน ที่ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม แต่ในทางกลับกันผงซักฟอกก็มีผลเสีย ถึงแม้จะไม่ส่งผลโดยตรงต่อผู้ใช้มากนัก แต่สารลดแรงตึงผิวและสารลดความกระด้างของน้ำบางชนิดที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในผงซักฟอกส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อแหล่งน้ำและสัตว์น้ำ

อัลคิลเบนซีนซัลโฟเนต (alkyl benzene sulfonate, ABS) เป็นสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ที่ผู้ผลิตผงซักฟอกนิยมใช้สารกลุ่มนี้เป็นสารลดแรงตึงผิวประเภท anionic ที่มีโครงสร้างโมเลกุลแบบกิ่ง จึงทำให้จุลินทรีย์ในน้ำไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ (biodegradable) เมื่อผงซักฟอกที่มีสารลดแรงตึงผิวประเภทนี้ถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำจะทำให้สัตว์น้ำไม่สามารถดำรงชีวิตได้ น้ำเกิดการเน่าเสีย หากสารดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายของคนโดยการอุปโภคบริโภคน้ำ จะทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย ดังนั้นทางกระทรวงอุตสาหกรรมจึงประกาศห้ามผู้ผลิตใช้สารลดแรงตึงผิวประเภท ABS โดยให้เปลี่ยนมาใช้สารกลุ่มลีเนียอัลคิลเบนซินซัลโฟเนต (linear alkyl benzene sulfonate, LAS) แทน เนื่องจากมีโครงสร้างโมเลกุลแบบเส้นตรง จึงทำให้สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ แต่ก็ยังคงมีผู้ผลิตบางรายลักลอบใช้สาร ABS เนื่องจากมีราคาถูกกว่า LAS


นอกจากนี้ยังห้ามผู้ผลิตใช้สารลดความกระด้างของน้ำที่มีฟอสเฟตเป็นส่วนประกอบ เช่น โซเดียมไทรโพลิฟอสเฟต (sodium tripoliphosphate, STPP) โดยเมื่อผงซักฟอกที่มีส่วนประกอบดังกล่าวถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ จะทำให้พืชน้ำ (aquatic plants) สาหร่าย (algae) และแพลงก์ตอนพืช (phytoplankton) ซึ่งเป็นผู้ผลิต (producer) ในห่วงโซ่อาหาร (food chains) เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้สูญเสียภาวะสมดุลของสิ่งมีชีวิตในน้ำ เรียกว่า “ยูโทรฟิเคชั่น (Eutrophication)

Eutrophication คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในแหล่งน้ำเนื่องจากมีปริมาณธาตุอาหารพวกสารประกอบฟอสฟอรัสและไนโตรเจน ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตสำหรับแพลงก์ตอนพืชและสาหร่ายอยู่มาก ธาตุอาหารเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้พืชสีเขียวในลำน้ำมีการเจริญเติบโตแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว และสังเคราะห์แสงได้มากขึ้น ส่งผลให้ระบบนิเวศทางน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยปกติการสังเคราะห์แสงจะเกิดขึ้นได้เฉพาะตอนกลางวัน ส่วนตอนกลางคืนสาหร่ายและพืชสีเขียวจะใช้ออกซิเจนหายใจ และคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ ดังนั้นในช่วงเวลากลางวัน แหล่งน้ำที่เกิดปรากฏการณ์ eutrophication จะมีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำสูงเกินกว่าขีดความเข้มข้นสูงสุด แต่ตอนกลางคืนระดับออกซิเจนก็จะลดลงอย่างมากจนถึงศูนย์ ในกรณีเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำนั้นตาย

การเกิด eutrophication ในแหล่งน้ำที่ปราศจากการปนเปื้อนของมลพิษจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ในธรรมชาติ แต่ถ้าเกิดขึ้นในแหล่งน้ำที่ได้รับการปนเปื้อนจากสารอินทรีย์และธาตุอาหารจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของจุลินทรีย์บางชนิดจนเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “กระแสน้ำแดง (Red Tide)” ในทะเลและทะเลสาบ

ผงซักฟอกกับผลต่อสุขภาพ

1.ส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสกับสารระคายเคืองต่อผิวหนัง เช่น สารเคมีพวกกรดด่าง สารละลายอินทรีย์เคมี เมื่อสัมผัสบ่อยๆเป็นเวลานาน ไขมันที่เคลือบผิวหนังและสารยึดน้ำในชั้นของผิวหนัง ซึ่งทำหน้าที่รักษาความชื้นจะถูกทำลายไปทีละน้อยๆ จนขาดความต้านทาน เกิดการอักเสบ ผิวแห้งและแตก เสียคุณสมบัติในการป้องกันการซึมของสารเคมีเข้าสู่ผิว เกิดการระคายเคืองเมื่อถูกสารเคมีอีกแม้เพียงสบู่ ความร้อน ความเย็น หรือติดเชื้อก็จะเกิดได้ง่าย บริเวณใดที่อักเสบก็มักจะคันทำให้เกาหรือถูไถบ่อยๆ หนังบริเวณนั้นจะแปรสภาพหนาขึ้น

2.หากเข้าสู่ร่างกายทางปาก เช่น จากการปนเปื้อน ผงซักฟอกอาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ถ้ามีส่วนผสมของด่างก็อาจทำให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินอาหาร ทำให้ผิวหนังและเยื่อบุของทางเดินอาหารถูกกัดไหม้และอักเสบ เกิดอาการเจ็บในปากและลำคอ กระหายน้ำ คลื่นไส้อาเจียน อาเจียนเป็นเลือด กลืนลำบาก หายใจลำบาก ช็อก บางคนอาจมีการแตกทะลุของหลอดอาหารและกระเพาะ ทำให้กลายเป็นเยื่อบุช่องท้องอักเสบ หรือหลอดอาหารเกิดการตีบตันจากการอักเสบได้

ธนารักษ์    มั่งมีชัย
ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

เปิดด่านฉุกเฉิน! ช่วยหญิงเขมรป่วยมะเร็ง ส่งรพ.กรุงเทพจันทบุรี

ความผิดสำเร็จ!พฤติกรรม‘อุ๊งอิ๊ง’เอื้อประโยชน์เขมรชัดเจน รอฟังมติศาลรธน.1ก.ค.

'ป็อกบา'คืนสนาม!เซ็นร่วมทัพ โมนาโก 2 ปี

หุบปาก'โตโต้' !! 'พิชิต'ตอกกลับสส.ปชน. ไล่ไปจับผิดรัฐบาล ไม่ใช่มาจับผิดประชาชน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved