พญ.มัธชุพร สุขประเสริฐ, ดร.นพ.โอบจุฬ ตราชู, กำจร พลางกูร, พญ.นิศารัตน์ ใจดี,
นพ.บุญแสง วุฒิพันธ์, ณรงค์ฤทธิ์ กาละพุฒ, นพ.สมิทธิ์ อารยะสกุล และ กุลนัดดา ปัจฉิมสวัสดิ์
เพราะการมีลูกคือความสุขที่ช่วยเติมเต็มชีวิตครอบครัว การวางแผนครอบครัวก่อนการตั้งครรภ์ไม่ได้เป็นเพียงการเตรียมความพร้อมของพ่อและแม่เท่านั้น แต่รวมถึงความสมบูรณ์พร้อมของลูกที่จะเกิดมาด้วย ทีมวิจัยจากศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กลุ่มบริษัทไบโอเทคโนโลยี TRG-LMGG บริษัท N-Health และรพ.สมิติเวช ได้ร่วมกันช่วยให้พ่อ-แม่สามารถมีลูกได้สมบูรณ์ที่สุด ด้วยนวัตกรรมNext Generation Sequencing (NGS) การตรวจยีนโรคทางพันธุกรรม 600 โรคจากพ่อแม่สู่ลูก พร้อมจัดงานแถลงข่าว Beyond Advance of Embryo Selection “กำหนดอนาคตลูกน้อยที่แข็งแรงและสมบูรณ์” ณ ห้องบัญชาล่ำซำ ชั้น 6 รพ.สมิติเวช สุขุมวิท เมื่อไม่กี่วัน ที่ผ่านมา
แพทย์หญิงนิศารัตน์ ใจดี ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท กล่าวว่า คุณหมอและนักวิจัยได้ลงทุนและลงแรงมากมาย และครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จอย่างมาก จากเดิมที่มีการตรวจโรคพันธุกรรม สามารถป้องกันได้เพียงไม่กี่โรคเท่านั้น แต่ปัจจุบันด้วยนวัตกรรมใหม่ Next Generation Sequencing(NGS) จะเป็นการตรวจโรคทางพันธุกรรม ที่สามารถตรวจได้ถึง 600 โรค เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับพ่อแม่ที่จะได้ลูกน้อยที่สมบูรณ์ที่สุด เพื่อเพิ่มความสุขและความมั่นใจให้กับพ่อแม่ด้วย
นพ.บุญแสง วุฒิพันธ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะผู้มีบุตรยากและผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช รพ.สมิติเวช สุขุมวิท กล่าวว่า สมัยก่อนการคัดเลือกตัวอ่อนจะคัดเลือกจากหน้าตา แล้วเลี้ยงตัวอ่อนเพื่อที่จะนำไปฝังตัว ซึ่งใช้เวลาหลายสิบปีกว่าจะมาถึงขั้นนี้ นับเป็นเรื่องที่ตื่นเต้นกันมากในตอนนั้น แต่ทั้งนี้ ตัวอ่อนที่ได้รับนั้น 50 เปอร์เซ็นต์ โคโมโซมผิดปกติ ซึ่งดูด้วยตาเปล่าไม่สามารถแยกออกเลยว่า ตัวอ่อนที่สวย ดูปกติ ดูดีหมด อาจจะมีโครโมโซมที่ผิดปกติก็เป็นได้ จึงคิดว่าถ้าเรารู้ถึงความผิดปกติของโครโมโซมก็น่าจะดีกว่านี้ จึงทำวิจัยในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น คุณแม่อายุมาก คุณแม่ผู้มีบุตรยาก ทำอย่างไรก็ไม่ตั้งครรภ์ หรือแท้ง ปรากฏว่าถ้าเราคัดเลือกเฉพาะตัวอ่อนที่มีโครโมโซมผิดปกติ เราพบว่าอัตราการตั้งครรภ์นั้นสูงขึ้นมาเล็กน้อย จึงพัฒนาโดยดูจากโครโมโซมทั้งหมดและพบว่าอัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้นมาอีก
นพ.บุญแสง วุฒิพันธ์
นพ.บุญแสง กล่าวด้วยว่า ล่าสุด ได้มีการพัฒนาในเรื่องของเทคโนโลยี ซึ่งเกิดจากแพทย์คนไทย โดย ดร.นพ.โอบจุฬ ตราชู อายุรแพทย์ที่ปรึกษาเชี่ยวชาญทางด้านพันธุศาสตร์การแพทย์ของศูนย์ห้องปฏิบัติการ บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ (N-Health) ซึ่งนอกจากจะรู้ถึงโครโมโซมแล้วนั้น ยังรู้ไปถึงยีนที่เกิดความผิดปกติ และสามารถวินิจฉัยพาหะได้ถึง 600 โรคด้วย โดยจะทำการคัดเลือกตัวอ่อนที่ปกติที่สุดใส่เข้าไปทำให้เกิดการตั้งครรภ์และหวังว่าเด็กที่เกิดมาก็จะมีโอกาสที่จะเสี่ยงน้อยที่สุด
ส่วน ดร.นพ.โอบจุฬ ตราชู อายุรแพทย์ที่ปรึกษาเชี่ยวชาญทางด้านพันธุศาสตร์การแพทย์ของศูนย์ห้องปฏิบัติการ บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ (N-Health) เผยว่า จากสถิติประชาชนทั่วไปพบว่า 7 ใน 100 คน มีโอกาสเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดสู่ลูกได้ ทำให้ลูกที่เกิดมาไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดจากโรคนั้นได้ และต้องใช้เงินจำนวนมากในการรักษา โดยโรคทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อยในคนเอเชีย ได้แก่ ธาลัสซีเมีย หูหนวก กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ในทารก เกลือแร่ต่ำในทารก ความพิการทางสมอง พัฒนาการช้า ตับวาย ปัญญาอ่อน ออทิสติก สำหรับนวัตกรรม Next Generation Sequencing (NGS) จัดเป็นนวัตกรรมแห่งวงการเวชศาสตร์เจริญพันธุ์ เพิ่มความสามารถตรวจหาโรคทางพันธุกรรมได้ครอบคลุมหลากหลายถึง 600 โรค ด้วยความรวดเร็วและแม่นยำ เพื่อให้ลูกน้อยที่เกิดมามีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ โดยการตรวจนั้นสามารถตรวจได้ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ตรวจก่อนการมีบุตร 2.ตรวจก่อนการฝังตัวของตัวอ่อน และ 3.ตรวจระหว่างตั้งครรภ์
ขณะที่ นีน่า-กุลนัดดา ปัจฉิมสวัสดิ์ พิธีกรรายการผู้หญิงถึงผู้หญิง และพิธีกรรายการ English On Tour ได้มาร่วมฟังข้อมูลของนวัตกรรมใหม่ล่าสุด กล่าวว่า ดีใจที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมา เพราะนีน่าเชื่อว่าจะเป็นความหวังของผู้หญิงทุกคน ผู้หญิงทุกคนถ้าคิดจะมีลูกสิ่งแรกที่อยากจะให้เกิดขึ้นก็คืออยากให้ลูกน้อยเกิดมาแข็งแรงสมบูรณ์ เพื่อสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างยาวนาน แล้วกลับมามองตัวเองแล้วรู้สึกว่าเราโชคดีที่เกิดมาร่างกายครบสมบูรณ์
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี