เทคนิคขี่จักรยานในสภาพผิวถนนแบบต่างๆ
กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย เดินหน้าส่งเสริมวัฒนธรรมจักรยานอย่างยั่งยืนภายใต้โครงการ “Active Campus Network” ร่วมมือกับนิตยสาร a day ผนึกกำลังเครือข่ายมหาวิทยาลัย 12 แห่งทั่วประเทศ สร้างวัฒนธรรมจักรยานอย่างยั่งยืนโดยเริ่มต้นภายในมหาวิทยาลัย ก่อนจะขยายวงกว้างสู่สังคมไทยต่อไปในอนาคต ล่าสุด...จัดค่ายจักรยานให้แก่นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในเครือข่าย ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เพื่อร่วมฟังประสบการณ์การดำเนินโครงการจักรยานและเรียนรู้ทักษะพื้นฐานในการปั่นจักรยานที่ถูกต้อง พร้อมปฏิบัติจริงในทริปเส้นทางชุมชนและธรรมชาติโดยรอบมหาวิทยาลัย
ผศ.แชล่ม บุญลุ่ม ประธานสาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ผู้นำค่ายจักรยาน “Active Campus Network” ของ มรภ.หมู่บ้านจอมบึง ในครั้งนี้ กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เห็นความสำคัญของการปั่นจักรยานที่สามารถช่วยให้สังคมและคุณภาพชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ในทุกมิติ เราจึงส่งเสริมให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไปในพื้นที่ใกล้เคียง ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและหันมาใช้จักรยานในชีวิตประจำวันมากขึ้น ผ่านโครงการและกิจกรรมจักรยานต่างๆ ที่เราจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยมีกำลังคนนโยบาย และแรงสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการดำเนินโครงการจักรยานให้ประสบความสำเร็จได้ และเราหวังว่าเยาวชนจากแต่ละมหาวิทยาลัยเครือข่ายได้รับประสบการณ์อันมีคุณค่าจากค่ายจักรยานในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ของจักรยาน ทักษะพื้นฐานการปั่นจักรยาน วิธีการดำเนินโครงการจักรยานเชิงลึก ปัจจัยความสำเร็จของโครงการจักรยานที่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ไปจนถึงการจัดทริปปั่นจักรยานในเส้นทางจริง ทั้งหมดนี้ เพื่อสร้างเครือข่ายสังคมจักรยานที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต”
ผศ.แชล่ม บุญลุ่ม
ซาการียา หะยีอาแว ประธานชมรมจักรยานและนักศึกษาปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง กล่าวว่า “เส้นทางการปั่นจักรยานยังเปรียบได้กับการใช้ชีวิตที่เราต้องก้าวเดินไปให้ถึงจุดหมายด้วยความมานะอดทน ในฐานะประธานชมรมจักรยานของมหาวิทยาลัยเจ้าภาพที่จัดเวิร์กช็อปครั้งนี้ ผมรู้สึกว่า ค่ายจักรยานนี้เป็นโอกาสอันดีที่เยาวชนจากชมรมจักรยานในมหาวิทยาลัยเครือข่ายมาร่วมแชร์ความรู้ด้านจักรยาน ประสบการณ์การทำโครงการจักรยานของชมรม และข้อดีข้อเสียของกิจกรรมที่เคยจัดกันไป เพื่อนำมาปรับใช้กับมหาวิทยาลัยของตนเองต่อไปในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้น เครือข่าย Active Campus Network ยังได้กลายเป็นจุดนัดพบของเยาวชนนักปั่นที่มีอุดมการณ์เดียวกันในการขับเคลื่อนให้จักรยานเป็นมากกว่าพาหนะทางเลือกในสังคม”
สำหรับโครงการ Active Campus Network (แอ๊กทีฟ แคมปัส เนตเวิร์ก) ประกอบไปด้วยเครือข่ายมหาวิทยาลัย ทั้ง 12 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กิจกรรมภายใต้โครงการ Active Campus Network ที่ผ่านมาประกอบไปด้วยเวิร์กช็อปมอบองค์ความรู้เรื่องจักรยาน เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและกูรูจักรยานจากหลากหลายสาขาร่วมติวเข้มอย่างครบเครื่อง อาทิ ความรู้เรื่องกฎระเบียบและความปลอดภัยในการใช้จักรยานที่ถูกต้อง การปั่นจักรยานกับสุขภาพ และการรณรงค์เรื่องจักรยาน เป็นต้น โดยมีเยาวชนและอาจารย์ทั้ง 12 สถาบันเข้าร่วมอบรม เพื่อเตรียมพร้อมนำความรู้ที่ได้จากการเวิร์กช็อปไปคิดต่อยอดเป็นโปรเจกท์เพื่อขยายเครือข่ายการใช้จักรยานมหาวิทยาลัยของตนเองให้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
ซาการียา หะยีอาแว (ขวาสุด) ช่วยให้ความรู้แก่เพื่อนๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรม
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี