วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
แมว : จำเลยโรคท็อกโซพลาสโมซิส (ตอนที่1)

แมว : จำเลยโรคท็อกโซพลาสโมซิส (ตอนที่1)

วันอาทิตย์ ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558, 06.00 น.
Tag :
  •  

สวัสดีครับทุกท่าน แฟนคอลัมน์ petcare คงคุ้นกับชื่อเชื้อ Toxoplasma ซึ่งเป็นเชื้อโปรโตซัวที่อาจปนเปื้อนมากับเนื้อสุกร และนำโรคมาสู่คนได้ ซึ่งผมได้นำเสนอมาแล้วนะครับ

เชื้อนี้นอกจากจะแพร่ทางการกินเนื้อสุกรปนเปื้อนที่ไม่ผ่านการปรุงแล้ว มีการพูดกันว่า “น้องเหมียว” ก็สามารถเป็นตัวแพร่ของโรคนี้ได้ครับ.... แต่...อย่าเพิ่งตกใจไปครับ เรามาฟังข้อมูลที่ถูกต้องจาก อ.สพ.ญ.ดร.วรพร สุขุมาวาสี จากหน่วยปรสิตวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เกี่ยวกับโรคนี้ที่มากับแมวกันครับ


ในบรรดาโรคสัตว์สู่คนที่คนสามารถติดต่อจากแมวได้นั้น โรคท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) หรือโรคขี้แมว เป็นโรคที่ถูกขนานนามมากที่สุดอีกโรคหนึ่ง  โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ ที่มักได้ยินคำเตือนว่าควรระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม มีความเข้าใจผิดไม่น้อยเลย เกี่ยวกับโรคและบทบาทของแมวในการก่อโรคในคน เราลองมาทำความรู้จักโรคนี้กันครับ

1.โรคท็อกโซพลาสโมซิสมีสาเหตุจากอะไร โรคท็อกโซพลาสโมซิสมีสาเหตุจากการติดเชื้อ Toxoplasma gondii ซึ่งเป็นเชื้อปรสิตที่มีเซลล์เดียว (โปรโตซัว) อย่างที่เคยนำเสนอไปแล้ว

2.เหตุใดจึงพบเชื้อ Toxoplasma gondii ได้เกือบทุกภูมิภาคของโลก เนื่องจากเชื้อ T. gondii เป็นปรสิตที่สามารถปรับตัวได้เก่งมาก อีกนัยหนึ่งคือ เชื้อแทบจะไม่ทำให้เกิดโรคที่ชัดเจนในโฮสต์ที่ติดเชื้อเลย (หากโฮสต์มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง) อีกทั้งมีวงชีวิตที่สามารถเจริญได้ในสัตว์เลือดอุ่นเกือบทุกชนิด เช่น สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า สัตว์ปีก

3.เชื้อ Toxoplasma gondii เกี่ยวข้องกับแมวอย่างไร แมวและสัตว์ตระกูลแมวเป็นโฮสต์แท้ (definitive host) ซึ่งหมายความว่าเชื้อต้องอาศัยทางเดินอาหารของแมวในการทำให้วงชีวิตสมบูรณ์  เมื่อแมวกินเชื้อระยะติดโรค (sporulated oocyst จากสิ่งแวดล้อมหรือ cyst ในเนื้อเยื่อจากโฮสต์กึ่งกลาง) เข้าไปแล้ว เชื้อจะมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ แล้วปล่อยไข่ (oocyst) ปนออกมากับอุจจาระของแมว

4. อุจจาระของแมวที่มีไข่ของเชื้อ Toxoplasma (oocyst) จะทำให้สัตว์อื่นรวมทั้งคนติดเชื้อได้ทันทีหรือไม่ เชื้อนี้ไม่ได้ติดต่อทันที เพราะตัวอ่อนภายใน oocyst ต้องใช้เวลา 1-5 วันในการพัฒนาแบ่งตัวให้เป็นระยะติดโรค (sporulated oocyst) ซึ่งต้องอาศัยอุณหภูมิ ความชื้น และออกซิเจนในระดับที่เหมาะสมก่อน

5. แมวมีบทบาทสำคัญต่อการติดเชื้อ Toxoplasma ในคนหรือไม่ ถึงแม้ว่าแมวมีความสำคัญในวงชีวิตและระบาดวิทยาของการติดเชื้อ Toxoplasma ก็ตาม แต่แมวมักไม่มีบทบาทสำคัญต่อการติดเชื้อในคน เพราะสาเหตุหลักของการติดเชื้อในคนมักมาจากการบริโภคเนื้อดิบ หรือปรุงไม่สุกที่มีซิสต์ของเชื้ออยู่ เช่น เนื้อสุกร

6. เหตุใดแมวจึงมีบทบาทสำคัญทางระบาดวิทยาในการแพร่กระจายของเชื้อ Toxoplasma แมวที่กินเชื้อระยะติดโรคเข้าไป จะสามารถผลิตไข่ของเชื้อปนออกมากับอุจจาระได้หลายล้านฟอง ซึ่งทำให้สิ่งแวดล้อมมีการปนเปื้อนเชื้อ อีกทั้ง oocyst มีความทนทานอยู่รอดได้ในดินหรือน้ำเป็นเวลานานกว่า 18 เดือน สัตว์ต่างๆ รวมทั้งคนสามารถติดเชื้อได้จากการกินน้ำหรืออาหารที่มี oocyst ที่พัฒนาแล้ว

7. Toxoplasma ทำให้แมวป่วยเป็นโรคนี้หรือไม่ ถึงแม้ว่าการติดเชื้อ Toxoplasma แทบจะไม่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคในแมวก็ตาม  แต่อาการป่วยบางอย่าง สามารถพบได้ในบางครั้ง เช่น มีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปอดบวมทำให้หายใจลำบาก ตาอักเสบ ตับอักเสบทำให้มีภาวะดีซ่าน อาการทางระบบประสาท เช่น ชัก สั่น ส่วนอาการอีกกลุ่มหนึ่งที่อาจพบได้ แต่ไม่บ่อยนักนั่นคือ ต่อมน้ำเหลืองโต อาเจียน ท้องเสีย ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น

8. หากแมวมีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือไม่แข็งแรง การติดเชื้อ Toxoplasma จะทำให้เกิดปัญหาได้หรือไม่ เกิดได้เช่นเดียวกับในคน หากภูมิคุ้มกันไม่สามารถตอบสนองต่อการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เชื้อสามารถแพร่กระจายไปตามอวัยวะต่างๆ และทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงของอวัยวะภายใน และมีอาการผิดปกติได้

9. ถ้าแมวที่ตั้งท้องอยู่แล้วติดเชื้อ Toxoplasma จะมีปัญหากับลูกในท้องเหมือนกับในคนหรือไม่ หากแม่แมวไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อมาก่อน การติดเชื้ออาจทำให้แท้งหรือลูกแมวตายแรกคลอดได้

เชื้อนี้ในแมวยังไม่จบแค่นี้นะครับ สัปดาห์หน้าเรามาติดตามโรคนี้กันต่อ พร้อมกับมาดูวิธีป้องกันไม่ให้น้องเหมียวรวมถึงตัวเราเองติดโรคนี้กันด้วยครับ

เนื่องในวาระที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครบ 80 ปี แห่งการสถาปนา ได้จัดให้มีงานแถลงข่าว “80 ปี สร้างความสุขไม่สิ้นสุด” ในวันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ นี้ เวลา 14.00-15.00 น. ณ อาคารสัตววิทยวิจักษ์โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ งานนี้ท่านจะได้รู้ว่า ตลอด 80 ปีที่ก่อตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มานั้น เราสร้างความสุขให้แก่สังคมอย่างไร และเราจะทำต่อไปอย่างไม่สิ้นสุดครับ
 

อาจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'ภคมน ลิซ่า' สอน 'ณัฐวุฒิ' เก็บอาการหน่อย! บอกควรยืนข้างนายกฯ ไม่ใช่พ่อของนายกฯ

ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่! 'พานาโซนิค'เตรียมเลย์ออฟพนักงาน10,000ตำแหน่งทั่วโลก

เพื่อไทย ส่ง 'อนุสรณ์' ลุยช่วย 'อัศนี' เบอร์ 3 นายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่

วิชัยเวชฯ จับมือโรงเรียนบ้านด่านโง ร่วมใจปลูกป่า เนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved