วันเสาร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน : ดื่มชาเขียวจริงหรือที่ว่ามีประโยชน์

วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน : ดื่มชาเขียวจริงหรือที่ว่ามีประโยชน์

วันอาทิตย์ ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558, 06.00 น.
Tag :
  •  

ในบรรดาชาทั้งหมดนั้นชาเขียวถือว่าเป็นกระแสความนิยมจากผู้คนทั่วโลกเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งดูจากอัตราการบริโภคชาเขียวที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทั้งในประเทศตะวันออกและตะวันตก โดยชาเขียวแบ่งได้สองประเภทคือ ชาเขียวแบบญี่ปุ่น วิธีการของญี่ปุ่นไม่ต้องคั่วใบชา ชาเขียวจึงคงสารอาหารโปรตีน วิตามินอีสูง น้ำตาลเล็กน้อย และ ชาเขียวแบบจีน จะมีวิธีการคั่วด้วยกระทะร้อน ทำให้วิตามินเอ วิตามินอีที่มีอยู่ในใบชาสูญเสียไปเกือบหมด ส่วนปริมาณของแคลเซียม เหล็ก และวิตามินซี สูญเสียไปประมาณครึ่งหนึ่งทำให้ชาจีนไม่เป็นที่นิยมมากนัก จากการศึกษาและรายงานทางการแพทย์ต่างยืนยันว่า ชาเขียวมีสรรพคุณในการบำบัดรักษาโรค เพราะสารแคซิทิน (cateclihns) ซึ่งเป็นสารแทนนินชนิดหนึ่งในชาเขียวมีฤทธิ์เป็นสารต้านการเกิดมะเร็ง ยับยั้งการสร้างไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งรุนแรงได้ อีกทั้งชาเขียวยังมี Polyphenols สามารถออกฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ขจัดสารพิษในตับ และพัฒนาการของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ ซึ่งขนาดในการรับประทานชาเขียวที่เหมาะสม วันละ 750 มก. สำหรับ

ผู้ที่ต้องการล้างพิษเพื่อความสดชื่น และวันละ 1,500 มก. สำหรับผู้ที่ต้องการล้างพิษเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกาย ซึ่งกลไกการทำงานและประโยชน์ของชาเขียวเห็นได้จากข้อต่างๆ เหล่านี้


1.ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของชาเขียวช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจ ชะลอความชราและลดกระบวนการทำลายสารพันธุกรรมและยับยั้งการก่อมะเร็ง

2.ความจำเพาะเจาะจงในการกระตุ้นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ขจัดสารพิษในตับของชาเขียว ช่วยเพิ่มกระบวนการขจัดสารพิษที่ได้รับจากอาหาร ยา และสารพิษอื่นๆ ได้ดีขึ้น ทำให้สุขภาพของตับดีขึ้นด้วย

3.ความสามารถในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งของชาเขียว ช่วยลดการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ เนื้องอก และเซลล์มะเร็งได้

4.ชาเขียวช่วยให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้มีการพัฒนาการทำงานได้ดีขึ้น จึงลดการแทนที่จากแบคทีเรียที่ไม่ดีได้ ส่งผลให้การเผาผลาญอาหารได้ดีขึ้น

5.ช่วยลดโคเรสเตอรอล LDL และเพิ่ม HDL ซึ่งเป็นไขมันที่ดี ชาเขียวจึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไขมันอุดตันหลอดเลือด

6.ชาเขียวยังสามารถยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นปาก ป้องกันฟันผุ และบรรเทาอาการเหงือกอักเสบ

7.ชาเขียวยังช่วยควบคุมน้ำหนักโดยออกฤทธิ์ร่วมกับ Caffeine ในการเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานในระหว่างวันของร่างกายให้มากขึ้นด้วย

แต่ใช่ว่าชาเขียวจะมีแต่ประโยชน์ถึงการวิจัยต่างๆ มากมายจะระบุว่า สาร EGCG ในคาเทซิน ซึ่งมีอยู่ในชาจะสามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งได้ถึง 50% แต่พบว่าสาร EGCG เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งในสัตว์อีกชนิดหนึ่ง เพราะความสลับซับซ้อนของเอนไซม์และฮอร์โมนของสัตว์ที่แตกต่างกัน ฉะนั้นการดื่มชาเพื่อสุขภาพที่แท้จริงจึงควรอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะพอดี เพราะถ้าดื่มชาที่เข้มข้นเกินไปหรือมากเกินไปก็เกิดโทษได้เช่นกัน

1.ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไทรอยด์ ถ้าดื่มชามากกว่าปกติจะมีอาการกระสับกระส่าย ใจเต้นเร็ว มือสั่นอยู่แล้ว การดื่มชาจะทำให้มีอาการเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น

2.หญิงมีครรภ์ ควรงดดื่มเพราะจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์

3.ในรายที่เป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรงดดื่มชา เพราะกาเฟอีนจะทำให้หัวใจทำงานไม่ปกติ คือ เต้นเร็วขึ้น (หากชอบดื่มชาก็อาจเลือกชาชนิดที่สกัดกาเฟอีนออกแล้วก็ได้)

4.คนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา เพราะชาจะกระตุ้นให้ผนังกระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยซึ่งมีสภาพเป็นกรดมากกว่าปกติ ทำให้อาการอักเสบยิ่งรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตามในกรณีที่เป็นโรคกระเพาะแต่เลิกดื่มชาไม่ได้ การเติมนมก็มีประโยชน์เพราะนมยับยั้งแทนนินไม่ให้ออกฤทธิ์กระตุ้นน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร

5.การดื่มชาแทนอาหารเช้าจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร จึงควรเติมนมหรือน้ำตาลอาจเพิ่มคุณค่าได้บ้าง และควรรับประทานอาหารชนิดอื่นร่วมด้วย

6.การดื่มชาในปริมาณที่เข้มข้นมากๆ จะทำให้เกิดอาการท้องผูก และนอนไม่หลับ

7.ไม่ควรดื่มชาที่ร้อนจัดมากๆ เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร ระคายเคืองต่อเซลล์ จะทำให้เกิดโรคมะเร็งสูง

8.การดื่มชาเขียวในปริมาณสูงอาจมีผลในการลดการดูดซึมวิตามิน B1 และธาตุเหล็กได้

9.ในกรณีที่ดื่มชาเพื่อต้องการเสริมสุขภาพและป้องกันมะเร็ง การเติมนมในชาก็ไม่ได้ผล เพราะฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเกิดจากสารแทนนิน แต่การเติมนมลงไปนมจะไปจับกับสารแทนนินไม่ให้ออกฤทธิ์

จะเห็นว่าชาเขียวมีคุณประโยชน์และข้อเสียมากมายต่อสุขภาพ ดังนั้นถ้าคุณคิดจะดื่มเครื่องดื่มสักชนิดหนึ่ง ชาเขียวก็น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งคุ้มค่ากับการลงทุนเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการดื่มชาเขียวก็ควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม
จึงจะได้คุณประโยชน์อย่างเต็มที่

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

สินค้าเกษตรไทยในตลาดโลก สร้างรายได้ต่อเนื่อง ปี68'ม.ค.-มี.ค.'พุ่งกว่าแสนล้าน

ชาวศรีสวัสดิ์ล้นทะลักหอประชุม ร่วมเวทีความคิดเห็นสร้างสะพานข้ามเขื่อนศรีนครินทร์

ฟ้าผ่า'ปราสาทนครวัด' กัมพูชา เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บเพียบ ขณะทำพิธีบวงสรวง

แซ่บสะเทือนโลก! 'ลิซ่า-ไทล่า'ปล่อยเพลง'When I'm With You' แดนซ์ไฟลุกสมฉายาสะโพกแห่งชาติ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved