วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
โรคแมวข่วน Cat Scratch Fever, Cat Scratch Disease

โรคแมวข่วน Cat Scratch Fever, Cat Scratch Disease

วันอาทิตย์ ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558, 06.00 น.
Tag :
  •  

สวัสดีครับ สัปดาห์นี้ ก็ยังเป็นเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “เจ้าแมวเหมียว” กันต่อครับ  ท่านที่เลี้ยงแมวหลายท่านอาจเคยได้ยินกิตติศัพท์ของ “โรคแมวข่วน”กันมาบ้างแล้ว บางคนอาจสงสัยว่า “แมวข่วน” นั้น ถึงกับเป็นโรคกันเลยหรือ วันนี้ผมมีข้อมูลจาก ผศ.น.สพ.ดร. ชาญณรงค์  รอดคำ จาก ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เกี่ยวกับโรคนี้มาฝากกันครับ 


● โรคแมวข่วนคืออะไร 

โรคแมวข่วน หรือ Cat Scratch disease เป็นโรคในแมวที่สามารถติดต่อจากแมวสู่มนุษย์ได้ด้วย

● มีสาเหตุจากอะไร 

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า บาร์โทเนลล่า เฮนเซลเล่(Bartonella henselae) ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมลบ อาศัยอยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดงของแมว มีรูปร่างเป็นแท่งสั้น โค้งงอเล็กน้อย สามารถก่อโรคได้ในมนุษย์ (Zoonoses) เมื่อคนถูกแมวกัดหรือข่วน หรือถูกแมวเลียที่บาดแผลได้

● อาการที่พบ

ในแมว  ภายหลังการติดเชื้อ แมวจะมีเชื้อในกระแสโลหิตในระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือนถึงหลายปี อาการของโรคในแมว อาจพบว่ามีไข้ เบื่ออาหาร ม่านตาอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้ผิวหนังอักเสบ และเหงือกอักเสบ แต่ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการป่วยใดๆ แต่จะเป็นตัวแพร่โรคสู่คนได้

ในคน คือ มีรอยโรคบนผิวหนัง มีไข้ และมีอาการของต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (Lymphadenopathy) รวมถึงตับอักเสบ ในรายที่รุนแรงอาจเกิดการติดเชื้อทั่วร่างกายได้

● สัตว์ชนิดใดเป็นโรคแมวข่วนได้บ้าง

แมวทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยง หรือสัตว์ป่าก็สามารถติดเชื้อ Bartonella henselae ได้ตามธรรมชาติ แมวที่มีเชื้อมักไม่แสดงอาการป่วย แต่จะเป็นพาหะนำเชื้อมาสู่คนได้ 

● สัตว์ติดต่อโรคกันได้อย่างไร 

เชื่อกันว่าหมัดแมว (Ctenocephalides felis) เป็นพาหะนำเชื้อจากแมวตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่ง แต่เชื้อไม่ติดต่อโดยตรงระหว่างแมวกันเองจากการข่วนหรือกัดกัน

● การติดต่อจากแมวสู่คน 

คนสามารถติดโรคแมวข่วนนี้ได้ จากการถูกแมวที่มีเชื้อกัด ข่วน หรือเลียบาดแผล เนื่องจากเมื่อแมวตัวที่มีเชื้อในกระแสเลือด แล้วแมวเกา กัด หรือข่วนตัวเองจนมีเลือดออก เชื้อในกระแสเลือดก็จะติดอยู่ตามซอกเล็บ เขี้ยวและฟันของแมว เมื่อแมวเลีย กัด หรือข่วนเจ้าของจนเกิดแผล เชื้อก็สามารถเข้าสู่บาดแผลได้

อาการที่พบคือ พบผื่นแดง ตุ่มพอง แผลหลุมที่บริเวณบาดแผล อาจพบต่อมน้ำเหลืองโต โดยทั่วไป โรคนี้สามารถหายเองได้ภายใน 4-8 สัปดาห์ แต่ในคนที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง จะมีความเสี่ยงสูงมากต่อการติดเชื้อโรคนี้ แล้วทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด มีไข้ เกิดการติดเชื้อที่ตา ระบบประสาท หรือมีตุ่มนูนที่ผิวหนัง นอกจากนี้ยังพบรายงานการ ติดเชื้อแทรกซ้อนที่หัวใจ และตับอีกด้วย

● การตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อ

สามารถทำได้โดยการตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ (antibody detection) การตรวจหาตัวเชื้อบาร์โทเนลล่าโดยการเพาะเชื้อ การใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส (Polymerase Chain Reaction, PCR) และเทคนิคทาง
อณูชีววิทยาอื่นๆ  

อย่างไรก็ตาม การตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อในแมวนั้น ไม่สามารถบอกได้ว่า ในขณะนั้นแมวกำลังติดเชื้ออยู่หรือไม่ ในขณะที่วิธีการเพาะเชื้อ การใช้ PCR  และเทคนิคทางอณูชีววิทยาอื่นๆ สามารถบอกได้ว่าแมวกำลังติดเชื้อหรือมีเชื้ออยู่ในกระแสเลือด 

การตรวจการติดเชื้อบาร์โทเนลล่าในแมวมีความจำเป็นในหลายกรณี เช่น การตรวจเมื่อต้องการทำการถ่ายเลือด (Blood transfusion)โดยการตรวจในแมวตัวให้เลือด (Blood donor) และตรวจเพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยงในการติดเชื้อสู่คน โดยในโปรแกรมการถ่ายเลือดหากพบว่าตัวให้เลือดสามารถติดเชื้อบาร์โทเนลล่าจะไม่มีการนำมาใช้เป็นตัวให้เลือด เนื่องจากการรักษาให้ผลที่ไม่แน่นอนในการกำจัดเชื้อจากกระแสเลือด

● เมื่อไรที่เราควรไปพบแพทย์

หากโดนแมวข่วน แล้วมีอาการดังต่อไปนี้ให้ไปปรึกษาแพทย์ อาทิ แผลกัดหรือข่วนหายช้า รอบรอยกัดหรือข่วนแดงขึ้นและกว้างขึ้น ต่อมนํ้าเหลืองบริเวณรักแร้หรือขาหนีบบวมและปวดอยู่เป็นเวลานาน ปวดกระดูกหรือปวดข้อ หรือมีอาการอ่อนเพลียอย่างผิดสังเกตและเป็นไข้นานหลายวันครับ

● เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้ย่างไร

การป้องกันโรคแมวข่วนนั้น สามารถทำได้ง่าย โดยการ

1.ป้องกันไม่ให้แมวมีหมัด เพราะหมัดเป็นตัวนำเชื้อโรคบาร์โทเนลล่ามาสู่แมว 

2.เมื่อแมวข่วนให้ทำการล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ และใช้ยาฆ่าเชื้อทาแผลให้เร็วที่สุด 

3.หลีกเลี่ยงจากภาวะที่ทำให้แมวข่วนเช่น เช่นการเล่นกับแมวอย่างรุนแรง เป็นต้น 

4.หากโดนแมวข่วน แล้วมีอาการดังต่อไปนี้ให้ไปปรึกษาแพทย์ เช่น แผลกัดหรือข่วนหายช้า รอบรอยกัดหรือข่วนแดงขึ้นและกว้างขึ้น ต่อมนํ้าเหลืองบริเวณรักแร้หรือขาหนีบบวมและปวดอยู่นาน ปวดกระดูกหรือปวดข้อ หรือมีอาการอ่อนเพลียอย่างผิดสังเกตและเป็นไข้นานหลายวันครับ

จะเห็นว่าโรคนี้สามารถป้องกันได้ไม่อยากเลยนะครับ หากปฏิบัติได้ดังนี้แล้ว รับรองได้ว่าเราสามารถอยู่กับแมวได้อย่างมีความสุข และห่างไกลจากโรคแมวข่วนนี้ แน่นอนครับ

อาจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'สุริยะ'รับมีงบกระจุกจริง แต่ยังไม่ได้อนุมัติ เหตุมีเอกสารคำขอไม่ตรงกัน

(คลิป) 'รัชดา ธนาดิเรก'คายเรื่องลับ ยุคลุงตู่!! เล่าหมดเปลือก ปมดราม่า

ชมสด! การออกผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 16 กรกฎาคม 2568

'สุริยะ'มั่นใจ! รักษาเก้าอี้'สส.ศรีสะเกษ'ได้แน่ มอบ'มนพร-สมศักดิ์'ดูแลเลือกตั้ง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved