วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
ภูมิบ้าน ภูมิเมือง :  ‘ศรีสะเกษ’ ภูมิวิถีชนเผ่าและภาษาอีสานใต้

ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ศรีสะเกษ’ ภูมิวิถีชนเผ่าและภาษาอีสานใต้

วันอาทิตย์ ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559, 06.00 น.
Tag : ชนเผ่า ภาษาอีสานใต้ ศรีสะเกษ
  •  

คณะจากกระทรวงวัฒนธรรมและจังหวัดศรีสะเกษ

วิถีวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นเป็นต้นทุนทางสังคมที่ทำให้เกิดความรักท้องถิ่นของตนได้ฉันใด ย่อมเป็นเรื่องดีต่อการสร้างความภูมิใจฉันนั้น ทำให้ต่อยอดจนมองเห็นอนาคตที่จะต้องส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและการท่องเที่ยววิถีไทยให้เกิดขึ้น อาทิตย์นี้ได้ตามรอยไปกับงานถนนวัฒนธรรมที่กระทรวงวัฒนธรรมโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้ร่วมกับพื้นที่ส่งเสริมให้จัดขึ้นในหลายจังหวัด เดือนมิถุนายนนี้งานถนนวัฒนธรรมจัดขึ้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ ซึ่งเป็นพื้นที่มีความหลากหลายทางมิติวัฒนธรรมด้วยเป็นเมืองที่มีชนเผ่าดั้งเดิมอยู่ร่วมกัน จึงเป็นสีสันของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ร่วมวิถีวัฒนธรรมและภาษาในสังคมหรือพื้นที่เดียวกัน  ชนเผ่าในศรีสะเกษที่รู้จักกันเป็นอย่างดีนั้น มีชนเผ่ากูย  เขมร เยอ ลาว จีนและไทย โดยเฉพาะชนเผ่ากูยหรือส่วย นั้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ.๒๒๔๕-๒๓๒๖) ชาวกูยมีถิ่นเดิมอยู่บริเวณตอนเหนือของเมืองกำปงธม  แล้วย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ในบ้านเคาะโดยพื้นเพบรรพบุรุษสันนิษฐานว่า เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านตาฮีง เดิมนั้นเรียกว่าอาแดะ(บ้านหม้อ)จากการมีอาชีพปั้นเครื่องปั้นดินเผาเป็นหลัก แม้หมู่บ้านนี้จะหายสาบสูญไปแล้วก็ยังเหลืองานปั้นเครื่องปั้นดินเผาในถิ่นอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกันปัจจุบันพบชาวกูยในจังหวัดบุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ สาละวัน ทางตอนใต้ของลาวและอพยพข้ามลำน้ำโขงเข้าสู่ภาคอีสานทางด้านแก่งสะพือ อ.โขงเจียม ส่วนชนเผ่าเขมรถือเป็นคนเก่าที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนในศรีสะเกษตั้งแต่ครั้งยุคเขมรพระนคร (พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘) ในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (พ.ศ.๑๕๔๕-๑๕๙๓) และพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ (พ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๖๑) โดยกษัตริย์เขมรนั้นได้เกณฑ์ชาวเขมร จากประเทศเขมรและชาวกวยในเขตอีสานใต้ให้เป็นผู้สร้างปราสาทและสร้างเมืองในเขตอีสานตลอดจนถนนหนทางจากนครธมไปยังเมืองต่างๆ จึงมีปราสาทอยู่จำนวนมากและ ชาวเขมรที่ถูกเกณฑ์แรงงานนั้นจึงตั้งหลักแหล่งอยู่ในแถบอีสานใต้ ปัจจุบันชาวเขมรได้ผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมชาวกวยจนเรียกเผ่าเขมรว่า “เขมรส่วย” และเรียกกลุ่มชาวกวยที่อยู่ใกล้กับลาว “ลาวส่วย” สำเนียงภาษาเขมรถิ่นไทยนั้นจึงมีการพูดกันอยู่ในบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และขยายต่อไปยังบางอำเภอของอุบลราชธานี นครราชสีมา ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว 

ชาวเผ่าต่างๆ ท่ี่มาร่วมงาน

นอกจากนี้ศรีสะเกษยังมีชนเผ่าอื่นอีกคือ ชาวเยอเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่แถบอีสานใต้และอีสานเหนือบางส่วน รวมถึงพื้นที่ทั้งฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงด้วย ชาวลาวที่เข้ามาตั้งหลักฐานในศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียง ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ได้เผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมทางภาษา สามารถเข้าไปถึงชุมชนชาวพื้นเมืองที่เป็นชาวกวย เขมร และเยอ จนปัจจุบันภาษาลาวนั้นกลายเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารส่วนใหญ่ในศรีสะเกษ แต่ลาวบางพวกยังติดสำเนียงส่วย ที่ออกเสียงกลางเป็นเสียงตรี จึงมีแยกเรียกชาวลาวในจังหวัดอื่นว่า “ส่วยศรีสะเกษ” ส่วนชาวจีนในศรีสะเกษเกือบทั้งหมดเป็นจีนแต้จิ๋ว ส่วนใหญ่เป็นญาติพี่น้องกัน ชาวจีนกลุ่มแรกมาอยู่ที่ศรีสะเกษ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ โดยเดินทางจากนครราชสีมาด้วยกองคาราวานเกวียน และบางกลุ่มด้วยการล่องเรือตามลำน้ำมูลมาขึ้นฝั่งที่เมืองราษีไศล แล้วเดินทางต่อด้วยเกวียนมาศรีสะเกษ ชาวจีนมีอาชีพค้าขายโดยเปิดร้านขายของ ดังนั้นไม่ว่าชนเผ่าใดไปเปิดร้านขายของแล้วจะถูกเรียกว่า เจ๊ก หมดไม่ว่าจะเป็นลาว ส่วย เยอ เขมร หรือไทยก็ตาม ถ้าเปิดร้านขายของในชนบทแล้วถูกเรียกว่าเจ๊กหมด ดังนั้นความหลากหลายจากชนเผ่าต่างๆในศรีสะเกษจึงทำให้มีวิถีวัฒนธรรมร่วมที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะจนเป็นเสน่ห์แห่งชาติพันธุ์และภาษาที่น่าสนใจยิ่ง

 การแสดงท่ี่หลากหลายวัฒนธรรม

ชนเผ่าต่างๆ ในศรีสะเกษ

ชาวกุยกับอาหาร

ชาวกูยยังติดหมากแบบโบราณ

ชาวกูยหรือส่วย

ชาวกูยหรือส่วย

ชาวเขมรศรีสะเกษ

ชาวเยอ

ชาวลาว

ภาษากูย

ลูกหลานชนเผ่ารุ่นใหม่

อาหารของชาวเยอ


เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'กันเนอร์-ไนซ์'เติมหวานน้ำตาลไม่ตก ออกเดทฮีลใจแฟนซีรีส์ 'Knock Out หมัดน็อกล็อกหัวใจ'

ก.เกษตรฯกระชับความร่วมมือค้าสินค้าเกษตรไทย-อาร์เจนติน่า

'สมเด็จพระสังฆราช'ประทานพระวโรกาสให้'ภูมิธรรม'เข้าเฝ้าเพื่อความเป็นสรรพสิริมงคล

'เกาหลีใต้'รวบชาวเกาหลีเหนือ หลังแอบข้ามพรมแดนหวังลี้ภัย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved