วันอังคาร ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข  (Canine blood parasites)

โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข (Canine blood parasites)

วันอาทิตย์ ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559, 06.00 น.
Tag : โรคพยาธิเม็ดเลือด สุนัข Canine blood parasites
  •  

ช่วงที่ผ่านมา มีการแชร์ในโลกโซเชียลอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับข่าวการเสียชีวิตของ “แฟรี่” เจ้าสุนัขพันธุ์เยอรมันเชพเพิร์ด ซึ่งเป็นสุนัขดมกลิ่นหาวัตถุระเบิด ของกองพันสุนัขทหาร หน่วยอโณทัย จ.ปัตตานี ที่เสียชีวิตลง ด้วยโรคพยาธิเม็ดเลือด ซึ่งโรคในกลุ่มนี้เป็นโรคในสุนัขที่มี “เห็บ” เป็นตัวนำ  การที่สุนัขมีเห็บมากๆ นั้นเป็นการบ่งให้เห็นถึงคุณภาพชีวิตของสุนัข เรื่องนี้ไม่เพียงแต่สุนัขที่ทำหน้าที่สำคัญแบบนี้เท่านั้นแต่สุนัขบ้านเองก็มีความสำคัญมาก เพราะชี้ให้เห็นว่าเราอาจไม่ได้ดูแลสุนัขของเราเท่าที่ควร เนื่องจากโรคนี้เป็นอันตรายถึงชีวิตด้วย

เรื่องราวเกี่ยวกับ “เห็บ” ที่เป็นพาหะนำโรคนี้ ทั้งเรื่องวงจรชีวิต และการกำจัดเห็บนั้น เราเคยคุยกันไปแล้ว วันนี้จะมาคุยเรื่อง “โรคพยาธิเม็ดเลือดที่เกิดจากเห็บ” กันครับ


โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข  เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวและริกเก็ตเซีย ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่พบในเม็ดเลือดของสุนัข ทั้งเม็ดเลือดแดง (ได้แก่ Babesia spp และ Anaplasma spp.)และในเม็ดเลือดขาว (ได้แก่ Ehrlichia spp. และ Hepatozoon spp.)โรคนี้เกิดได้โดยมี “เห็บ” เป็นพาหะ  ซึ่งเป็นโรคที่ร้ายแรงและทำให้สัตว์เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะสุนัขเด็กและสุนัขอายุมากที่มีความแข็งแรงต่ำ

การติดต่อ

สุนัขติดต่อได้โดยถูกเห็บที่มีเชื้อในน้ำลาย “กัด” เชื้อในน้ำลายเห็บจะถูกปล่อยผ่านเข้ากระแสเลือด ไปยังเม็ดเลือด และเนื้อเยื่อต่างๆ  ในบางชนิดอาจติดต่อโดยการ “กิน” เห็บที่มีเชื้อเข้าไป

อาการของโรค จะแบ่งตามชนิดของการติดเชื้อดังนี้

1.Ehrlichia spp. พบได้ในสุนัขทุกเพศ ทุกวัย และทุกสายพันธุ์ เกิดโดยสุนัขถูกเห็บที่มีเชื้อในน้ำลายกัด อาการที่พบ มี 2 ระยะ คือ แบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง

แบบเฉียบพลัน  จะมีไข้สูง ซึม เบื่ออาหาร อาจพบภาวะตับหรือไตอักเสบ จนถึงมีอาการทางประสาท เช่น ชัก เกร็ง และเสียชีวิตได้ภายใน 1-3 วัน หลังจากที่พบภาวะไข้สูง  มักพบเลือดกำเดาไหลและพบจุดเลือดออกตามร่างกาย จนถึงตาบอด หากสุนัขร่างกายแข็งแรง ร่างกายอาจพัฒนาภูมิคุ้มกันมาทำลายเชื้อได้เอง แต่ถ้าภูมิคุ้มกันไม่ดีพอสุนัขก็จะพัฒนาเข้าสู่อาการแบบเรื้อรัง

แบบเรื้อรัง  สุนัขจะมีอาการซึม มีไข้สูง เลือดกำเดาไหลมาก ปัสสาวะเป็นเลือด หายใจลำบาก ไขกระดูกทำงานบกพร่อง เกิดภูมิคุ้มกันที่ทำลายตัวเอง ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำ ไตวาย ตับอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และเสียชีวิตได้

2.Babesia spp. ในลูกสุนัขจะแสดงอาการรุนแรงกว่าในสุนัขโตอาการที่พบบ่อย ได้แก่ ไข้สูง โลหิตจาง ซึม เบื่ออาหาร ในรายที่อาการรุนแรง จะมีอาการดีซ่านร่วมด้วย เยื่อเมือกที่เหงือก ตาขาว และใบหูจะซีดเหลือง ปัสสาวะเป็นสีส้มแดงหรือน้ำตาล จากการแตกของเม็ดเลือดแดง เกิดภาวะตับและม้ามโต บางรายอาจมีอาการทางระบบประสาท เกร็ง ชัก และเสียชีวิตได้ในที่สุด

3.Hepatozoon spp. เกิดจากสุนัขกินเห็บที่มีเชื้อเข้าไป นอกจากนี้เชื้อยังถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกขณะตั้งครรภ์ได้อีกด้วย อาการที่แสดงออกมักไม่ชัดเจน เช่น เจ็บปวดกล้ามเนื้อ ท่าทางการเดินผิดปกติไป มีมีน้ำมูก น้ำตา ท้องเสีย เบื่ออาหาร กินน้ำมาก ปัสสาวะมาก และอาจมีภาวะปอดอักเสบร่วมด้วย

4.Anaplasma spp.  ติดโดยถูกเห็บที่มีเชื้อนี้กัด  ระยะแรกมักจะไม่แสดงอาการ แต่เชื้อจะแฝงอยู่ในร่างกายของสุนัข และแสดงออกเมื่อร่างกายมีสภาพภูมิคุ้มกันต่ำลง  อาการหลักที่พบจะคล้ายกับชนิดอื่นคือ มีไข้ ซึม เบื่ออาหาร เยื่อเมือกซีก เลือดออกจมูก เกล็ดเลือดต่ำ เกิดจุดเลือดออกตามร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณข้อ ข้ออักเสบ อาจพบอาการอื่นด้วยเช่น อาเจียน ท้องเสีย ไอ หายใจลำบาก บางรายอาจมีอาการทางระบบประสาทเนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น ชัก เดินโซเซ ร่วมด้วย

การรักษา

หากตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและรีบทำการรักษา ก็จะยังพอช่วยได้ครับ สัตวแพทย์อาจจะให้ยาฆ่าพยาธิเม็ดเลือด ยาปฏิชีวนะ ร่วมกับการรักษาตามอาการอื่นๆ เพื่อความคุมภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น แต่ในบางครั้งอาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จะมีการแฝงของเชื้ออยู่ในร่างกายแต่ไม่แสดงอาการของโรคจนกว่าร่างกายจะอ่อนแอ แต่หากร่างกายสุนัขมีสุขภาพแข็งแรงก็จะไม่แสดงอาการป่วยใดๆ

การป้องกัน

การรักษานั้นจะประสบผลสำเร็จก็ต่อเมื่อได้รับการร่วมมืออย่างดีจากเจ้าของสัตว์ โดยการควบคุมเห็บซึ่งการกำจัดเห็บที่ถูกต้อง จะต้องทำทั้งที่ “บนตัวสุนัข” และ “ที่สิ่งแวดล้อมที่สุนัขอาศัยอยู่”  เนื่องจากหลังจากที่เห็บกินเลือดเต็มที่แล้ว ก็จะออกจากตัวสุนัขเพื่อไปลอกคราบ แล้วจึงกลับเข้าตัวสุนัข (อาจเป็นตัวเดิมหรือตัวใหม่ก็ได้) เพื่อกินเลือดต่อ ซึ่งสาเหตุนี้เองที่ทำให้เชื้อแพร่กระจายไปยังสุนัขตัวอื่น  ขอย้ำว่า เห็บที่ออกจากตัวสุนัขมาลอกคราบที่สภาพแวดล้อมนั้น สามารถมีชีวิตอยู่ได้ “หลายเดือน” โดยที่ “ไม่ได้กินเลือดสุนัข” เลยนะครับ

การกำจัดเห็บนั้น มีหลายรูปแบบ ทั้งในรูปของ ยาฉีด ยากิน ยาหยอดหลัง สเปรย์พ่นตัว ปลอกคอกำจัดเห็บ ยาผสมน้ำแช่ตัวสัตว์ แชมพูหรือแป้งกำจัดเห็บ ที่ใช้กับตัวสัตว์ ร่วมกับการกำจัดเห็บที่อยู่ตามสิ่งแวดล้อมด้วย นอกจากนี้ การตรวจสุขภาพสุนัขประจำปีด้วยการเจาะเลือดตรวจก็จะช่วยให้เราทราบแต่เนิ่นๆ ได้ครับ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร

ฝ่ายประชาสัมพันธ์และส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ไทยหวัง! ลุ้นส่งออกไก่หลังบราซิลเจอไข้หวัดนก กรมปศุสัตว์ย้ำระบบป้องกันโรคแน่นหนา

'หมอวรงค์'เตือน 'สมศักดิ์'อุ้มชั้น14ระวังเจอร้องปปช.ผิดม.157

น่ากังวล! 'กอบศักดิ์' ชี้ 2 ปัญหาใหญ่ฉุดเศรษฐกิจไทย แม้ จีดีพี ไตรมาสที่ 1 สวยหรู

ระทึกเช้านี้! นักเรียนวิ่งกระเจิง ไฟไหม้อาคาร'มัธยมวัดหนองจอก' ดับเพลิงรุดเข้าควบคุม

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved