วันศุกร์ ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
เฮลท์ตี้ ไลฟ์สไตล์ ช่วยห่างไกลโรคกระดูกพรุน

เฮลท์ตี้ ไลฟ์สไตล์ ช่วยห่างไกลโรคกระดูกพรุน

วันศุกร์ ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559, 06.00 น.
Tag : เฮลท์ตี้ ไลฟ์สไตล์ ช่วยห่างไกลโรคกระดูกพรุน
  •  

นักวิ่งรุ่นใหม่ร่วมกิจกรรมพิเศษ “Fit Your Bone Running Workshop”

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทยฯ และกลุ่มบริษัทดัชมิลล์ ได้จัดกิจกรรมพิเศษ “Fit Your Bone Running Workshop” เพื่อสร้างการรับรู้เรื่องโรคกระดูกพรุน และเนื่องในวันสากลโรคกระดูกพรุน(World Osteoporosis Day) โดยมีกูรูด้านการวิ่งและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคกระดูกพรุน มาให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อประโยชน์สำหรับนักวิ่งรุ่นใหม่

พญ.วิภาวี ฉินเจนประดิษฐ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทยฯ เผยถึงสถานการณ์โรคกระดูกพรุนในประเทศไทยว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ บวกกับไลฟ์สไตล์ของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนมากขึ้น เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ พักผ่อนน้อยไม่ออกกำลังกาย และได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ บางรายมีโรคประจำตัวและใช้ยาบางชนิดก็กระตุ้นให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้เร็วขึ้น วิธีสังเกตอาการเตือนของโรคกระดูกพรุนไม่ชัดเจนจนกว่าผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยการหกล้ม หรือกระแทกไม่รุนแรง แต่เกิดกระดูกหัก หรือมาพบแพทย์เพราะมีปัญหาว่าตัวเตี้ยลง หลังค่อมหรือหลังโก่งกว่าเดิม ซึ่งมักจะพบได้ในกรณีที่เป็นกระดูกพรุนและเกิดการหักชนิดทรุดตัวของกระดูกสันหลัง


พญ.วิภาวี ฉินเจนประดิษฐ์


“ถ้าหากเรามีปัจจัยเสี่ยง อย่างแรก มีประวัติกระดูกหักง่าย หรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะในผู้หญิง ก็ควรไปพบคุณหมอเพื่อตรวจเช็คดู อย่างที่สองคือ กลุ่มคนที่อายุเพิ่มขึ้น ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ผู้ชาย 60-65 ปี อาจจะต้องไปตรวจเช็คมวลกระดูกทุก 2 ปี เพื่อดูปริมาณมวลกระดูก เพราะอายุเป็นปัจจัยที่สำคัญ สาม ในผู้หญิงที่ประสบภาวะหมดประจำเดือนเร็ว ตั้งแต่อายุ 45 ปี กลุ่มนี้ก็จะมีความเสี่ยง หรือคนที่หมดประจำเดือนจากการตัดรังไข่สองข้าง และสี่ มีประวัติกระดูกหักโดยไม่สมเหตุสมผลเช่น ล้มในท่ายืนแล้วกระดูกหัก ห้า ใช้ยาสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะบางชนิด ยากันชัก ยาทดแทนฮอร์โมนไทรอยด์เป็นเวลานาน และสุดท้ายกลุ่มคนที่ไม่ดื่มนมเพื่อเพิ่มแคลเซียมและไม่ออกกำลังกาย หรือคนที่ตัวผอมมากๆ พวกนี้ก็จะเสี่ยงที่จะกระดูกบางก็อาจจะต้องไปตรวจเร็วหน่อย”

ทั้งนี้ สิ่งที่คุณหมอด้านกระดูกแนะนำ นอกจากปัจจัยเสี่ยงด้านเพศ อายุ เชื้อชาติ โรคประจำตัว ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ป้องกันไม่ให้มวลกระดูกเสื่อมเร็ว ก็คือ การออกกำลังกาย เพราะการสร้างกระดูกใหม่จะสัมพันธ์กับแรงที่มากระทำที่กระดูก

“การออกกำลังกายจะให้ประโยชน์ในสองด้าน หนึ่งคือช่วยให้ร่างกายมีความคล่องแคล่ว ช่วยในการทรงตัว สร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อและยังกระตุ้นให้เกิดการสร้างมวลกระดูกมากขึ้น หมอแนะนำการออกกำลังกายที่มีแรงผ่านกระดูก มีแรงต้านแรงกระแทก จะมีหลายประเภท เช่น บาสเกตบอล เทนนิส ฟุตบอล ยิม แอโรบิคแดนซ์ อะไรก็ได้ที่เราใช้ขากระแทกลงไป


ครูดิน-สถาวร จันทร์ผ่องศรี

“ส่วนการออกกำลังกายที่ใช้แรงกระแทกน้อยหน่อย เช่น จักรยาน ว่ายน้ำ กลุ่มนี้จะมีประโยชน์ต่อหัวใจ หลอดเลือด แต่ถ้าพูดเฉพาะในแง่ของกระดูกก็เพิ่มมวลกระดูกน้อย เพราะมีแรงกระแทกน้อย ถ้ากลุ่มคนที่ออกกำลังกายที่ใช้แรงกระแทกน้อย จะต้องทดแทนด้วยการเวทเทรนนิ่งร่วมด้วย เพื่อให้เรามีมวลกระดูกที่แข็งแรงด้วย แนะนำว่าเมื่ออายุน้อยๆ ให้เล่นกีฬาที่มีแรงกระแทกเยอะ เพราะจะกระตุ้นให้สร้างมวลกระดูก ส่วนผู้ใหญ่วัยทำงานให้เล่นกีฬาที่ใช้แรงกระแทกน้อยลง เช่น การวิ่ง ซึ่งปัจจุบันเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยม และเห็นว่ากลุ่มคน 30-40 ปี หันมาวิ่งมากขึ้น ซึ่งถือว่าจะช่วยชะลอความเสื่อมของมวลกระดูกได้ระดับหนึ่ง”

ขณะที่ ครูดิน-สถาวร จันทร์ผ่องศรี โค้ชนักวิ่งอดีตนักวิ่งมาราธอนทีมชาติไทย ให้คำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นวิ่งว่า หากต้องการวิ่งเพื่อสุขภาพ แนะนำว่าอย่าวิ่งเกิน 3 กม. แต่นักวิ่งสมัยนี้มักจะวิ่งระยะไกลกว่านั้น โดยมุ่งหวังความเป็นเลิศ ดังนั้น สิ่งที่นักวิ่งต้องตระหนักถึงให้มาก คือ เป้าหมายในการวิ่ง สร้างแรงจูงใจ เช่น การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย สถิติเวลา หาข้อมูลที่ถูกต้องจากแหล่งที่เชื่อถือได้ วางแผนการซ้อมมีวินัยในการฝึกซ้อม

ดังนั้น ไม่ว่าคุณมีความเสี่ยงหรือไม่มีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนก็ตาม ควรหันมาใส่ใจสุขภาพของตัวเองตั้งแต่วันนี้ ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้มี เฮลท์ตี้ ไลฟ์สไตล์ รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ร่วมกับการออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เพราะสาเหตุของกระดูกพรุนส่วนหนึ่งเกิดจากวิถีการใช้ชีวิตที่ไม่สมดุล เช่น การไม่ออกกำลังกาย กินอาหารแคลเซียมต่ำไม่ค่อยได้วิตามินดี หรือดื่มชา กาแฟในปริมาณมากเกินไป ก็เพิ่มให้มีความเสี่ยงให้เกิดโรคกระดูกพรุนมากขึ้น เคล็ดลับการป้องกันโรคกระดูกพรุนง่ายๆ คือ การดื่มนมและผลิตภัณฑ์นม เพราะมีแคลเซียมธรรมชาติ รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูงร่วมกับออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่ดีและกระดูกที่แข็งแรงในระยะยาว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

เก่าไป ใหม่มา!! 'ไพบูลย์'เผย'ลุงป้อม'ลงนามแต่งตั้ง'ทีมเศรษฐกิจ'ดึง'คนรุ่นใหม่'ร่วม

รู้ตัวแล้ว! ชายไทยที่ถูกจับใน'ญี่ปุ่น' พบเป็นอัยการอาวุโสจันทบุรี

‘มติแพทยสภา’พักใบอนุญาต 2 หมอ 3 กับ 6 เดือน รอ 15 วัน‘สภานายกพิเศษ’ส่งความเห็นกลับ

'นายกฯไทย-เวียดนาม'เป็นพยานเอ็มโอยู 8 ฉบับ เห็นพ้องร่วมมือมั่นคงยกระดับเศรษฐกิจ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved