วันศุกร์ ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
ไข้หัดสุนัข หรือ Canine Distemper

ไข้หัดสุนัข หรือ Canine Distemper

วันอาทิตย์ ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559, 06.00 น.
Tag : ไข้หัดสุนัข Canine Distemper
  •  

เมื่อไม่กี่วันมานี้ มีข่าวการป่วยและตายของสุนัขเป็นจำนวนมากในเขตอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งจากการตรวจสอบจากอาการแล้ว เบื้องต้นพบว่ามีสาเหตุจากไข้หัดสุนัข  ซึ่งมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดธรรมดา มีขี้มูกขี้ตาแฉะ ไม่กินอาหาร อ่อนแรง เดินโซเซไปมาและตายในที่สุด โรคนี้เป็นแล้วมีโอกาส “ตาย” สูงมาก วันนี้เรามาทำความรู้จักโรคนี้กันครับ

สาเหตุ

โรคไข้หัดสุนัขนี้ เป็นโรคติดต่อที่ “ร้ายแรงมาก” ในสุนัข และสัตว์ป่าในตระกูลสุนัขหลายชนิด เช่น หมาป่า และหมาจิ้งจอก เกิดจากไวรัสที่มีชื่อว่า “Canine Distemper Virus”

การติดต่อ


โรคนี้พบได้ใน “ทุกช่วงอายุ” โดยเฉพาะสุนัขตัวที่ “ไม่เคย” ได้รับวัคซีนป้องกันโรคมาก่อน  จะมีผลอย่างมากในลูกสุนัขเล็กๆ
โดยเฉพาะในช่วงอายุ 2-6 เดือน

สุนัขจะรับเชื้อจาก “การสัมผัสตรง” โดยการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของสัตว์ป่วย เช่น น้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ หรือปัสสาวะ โดยการกินหรือการหายใจสูดเอาละอองเชื้อไวรัสเข้าไป

แหล่งแพร่เชื้อส่วนใหญ่ มักได้รับเชื้อมาจากแหล่งซื้อขายสุนัขที่ไม่สะอาด ที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น ที่ชามน้ำ ชามอาหาร ของเล่น กรงและอุปกรณ์รองนอนต่างๆ รวมถึงติดต่อผ่านการสัมผัสจากผู้เลี้ยง ซึ่งเรียนว่าผู้เลี้ยงเป็นพาหะนำเชื้อที่สำคัญโดยที่เราไม่รู้ตัวเลย การจับสัตว์ป่วยแล้วไปจับสัตว์เลี้ยงของเรา จึงเป็นการนำโรคไปยังสุนัขของเราโดยตรง

นอกจากนี้ ในแม่สุนัขตั้งท้อง ก็สามารถแพร่ไปยังลูกผ่านทางรกได้อีกด้วย ซึ่งต่อไปจะส่งผลให้เกิดการแท้งลูกตายแรกเกิด หรือคลอดออกมาได้แต่อ่อนแอ และเสียชีวิตในเวลาต่อมาด้วย

เมื่อสุนัขได้รับเชื้อแล้ว ไวรัสไข้หัดสุนัขจะไปเพิ่มจำนวนที่ต่อมน้ำเหลือง ก่อนที่จะแพร่ไปทั่วร่างกาย ดังนั้นจึงทำให้ระบบภูมิคุ้มกันถูกกดจึงเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่ายขึ้น โดยทั่วไปโรคนี้มีระยะฟักตัวเฉลี่ยประมาณ 1-2 สัปดาห์ภายหลังการติดเชื้อและเริ่มแสดงอาการป่วย

อาการ

สุนัขป่วยด้วยไข้หัดสุนัขมักจะมีอาการเหมือนสุนัขป่วยทั่วไป คือ มีไข้ ซึม เบื่ออาหาร แต่จะแสดงอาการหลักๆ 4 ระบบของร่างกาย คือ

1.ระบบทางเดินหายใจ คือ มีขี้มูกขี้ตาเกรอะกรัง เยื่อบุตาอักเสบ มีอาการปอดติดเชื้อแทรกซ้อน 

2.ระบบทางเดินอาหาร หลายราย มีอาการอาเจียน และท้องเสีย ร่วมด้วย

3.ระบบปกคลุมร่างกาย พบตุ่มหนองใต้ท้อง (คล้ายคนที่เป็นอีสุกอีใส) และเกิดการหนาตัวของฝ่าเท้า และจมูก

4.ระบบประสาท เมื่อเชื้อไวรัสไข้หัดกระจายเข้าสู่สมองแล้ว สุนัขจะแสดงอาการทางประสาท เช่น ชัก กระตุก มีอาการคล้ายการเคี้ยวหมากฝรั่ง (น้ำลายเป็นฟอง) ตะกุย หรือร้องคราง หากสุนัขแสดงอาการทางระบบประสาทแล้ว โดยส่วนใหญ่มักเสียชีวิต

สิ่งที่สำคัญ ไข้หัดสุนัขนี้ยัง “กด” ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคต่ำลง จึงมีการติดเชื้อแทรกซ้อนทำให้อาการเลวร้ายขึ้น ส่วนในรายที่มีการติดเชื้อไข้หัดสุนัขแล้วรอดชีวิต จะพบว่าสุนัขตัวนั้นจะยังคงมีเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกาย และสามารถแพร่เชื้อต่อได้นานหลายเดือนหลังจากหายป่วยแล้ว

การรักษา

เนื่องจากไข้หัดสุนัขเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่มียาที่รักษาโดยเฉพาะ การรักษาที่ให้มักเป็นการป้องกันโรคแทรกซ้อนโดยการให้ยาปฏิชีวนะ  การรักษาตามอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การให้ยาลดน้ำมูก ลดไข้ ลดอาเจียน ท้องเสีย รวมถึงให้ยาระงับการชัก การให้ยาเพื่อบำรุงร่างกาย เช่นให้ยาบำรุงประสาท การให้สารน้ำและสารอาหารรวมถึงวิตามินต่างๆ ตลอดจนการใช้ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน สารต้านไวรัส และ interferon เพื่อเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อช่วยยับยั้งการแพร่กระจายเชื้อไวรัสไม่ให้กระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย

การป้องกัน

ไข้หัดสุนัขจะเป็นโรคที่น่ากลัว โอกาสเสียชีวิตสูง ไม่มีวิธีรักษาเฉพาะ สิ่งที่ดีที่สุดคือการป้องกันโรค ซึ่งผู้เลี้ยงสุนัขควรให้ความสำคัญ นั่นคือการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หัดสุนัข เพราะให้ผลในการป้องกันโรคได้ค่อนข้างดี เราสามารถเริ่มทำวัคซีนครั้งแรกเมื่อลูกสุนัขอายุ 6-8 สัปดาห์ขึ้นไป

ส่วนในกรณีเพิ่งรับลูกสุนัขใหม่เข้ามา ควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย คุณหมออาจยังไม่ฉีดวัคซีนให้ทันที เนื่องจากลูกสุนัขที่เปลี่ยนสถานที่อยู่ใหม่ อาจมีความเครียด ซึ่งจะทำให้ระดับภูมิคุ้มกันตกลงและไวต่อการติดโรค คุณหมออาจแนะนำให้แยกเลี้ยงออกจากสุนัขตัวเดิมในบ้าน และให้กินวิตามินบำรุงร่างกาย และเพื่อสังเกตอาการก่อนอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หากแข็งแรงดีแล้ว จึงค่อยเริ่มทำวัคซีนป้องกันโรคนี้กันครับ

อย่าลืมนะครับ ไข้หัดสุนัขเป็นโรคที่อันตราย แต่สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงได้ ด้วยการฉีดวัคซีนเป็นประจำครับ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ยก 7 เหตุผล'ทักษิณ' ต้องกลับไปรับโทษก่อน 1 ปี และรอการรับอภัยโทษครั้งใหม่

พระลูกวัดฟันเปรี้ยง‘ทิดแย้ม’ทำแต่กิจของสงฆ์ ไม่ว่างนั่งปั่นบาคาร่า ลั่นยัง‘สึก’ไม่สำเร็จ

ชาวบราซิลช็อก! สัตว์กลายป็นสีฟ้า หลังพบสารเคมีรั่วไหลลงในทะเลสาบ

กรมประมงจัดอบรมปั้นผลผลิตลูกปลาชะโอน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved