ช่วงนี้ในโลกโซเชียลต่างก็พูดปัญหาของลิปทาปากที่มีส่วนผสมของ “ปิโตรเลียมเจลลี่” ที่ส่งผลให้ริมฝีปากหมองคล้ำ หรือเกิดอาการแพ้ โดยเฉพาะเฟซบุ๊คแฟนเพจ “อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์” โดย รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ก็ได้ปลุกกระแสการหลีกเลี่ยงเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของปิโตรเลียมเจลลี่ขึ้นมาเหมือนกัน
รู้หรือไม่ว่า “ปิโตรเลียมเจลลี่” (petroleum jelly) หรือที่ในฉลากอาจจะใช้คำอื่นๆ ที่ต่างออกไป เช่น ปิโตรลาทัม (Petrolatum), ไวท์ ปิโตรลาทัม (White Petrolatum), มิเนรัล ออยล์ (Mineral Oil), พาราฟินเหลว (Liquid Paraffin) หรือ น้ำมันพาราฟิน (Paraffin Oil) ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นอนุพันธ์ผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ในโลกความงามได้นำเอาปิโตรเลียมเจลลี่มาเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางอย่างแพร่หลาย ซึ่งจะผ่านกระบวนการกลั่นสารตกค้างต่างๆ ออกก่อนนำมาใช้ โดยในช่วงยุค 1880 เริ่มมีการนำปิโตรเลียมเจลลี่มาใช้อย่างแพร่หลายในอเมริกา เพราะมีราคาถูกและนำมาแปรรูปได้หลายผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่โลชั่นไปถึงผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิด แน่นอนว่าหากไม่ได้มีกรรมวิธีการสกัดมาอย่างบริสุทธิ์มากเพียงพอแล้ว มันจะมีผลร้ายแรงชนิดที่เราอาจคาดไม่ถึง
แม้ว่าจะมีคุณสมบัติในการกักเก็บความชุ่มชื่น ทำหน้าที่คล้ายฟิล์มที่เคลือบผิว แต่การเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำและไม่หลุดออกง่าย ก็จะทำให้สิ่งตกค้างและแบคทีเรียโดนล็อกอยู่ในผิว ทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนได้ ที่สำคัญไม่ได้เป็นสารที่ทำให้เกิดความชุ่มชื่นด้วยตัวเอง จึงไม่ได้มีคุณสมบัติในการบำรุงผิวแต่อย่างใด
ดร.ณิชา สมันตรัฐ ผู้เชี่ยวชาญที่ผ่าน American board ด้าน Naturopathic Medicine หรือการแพทย์ธรรมชาติบำบัด และเป็นผู้ก่อตั้ง NICHE Natural Health ศูนย์ Naturopathic Medicine แห่งแรกของเอเชีย บอกถึง 4 เหตุผลที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปิโตรเลียมเจลลี่ในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว พร้อมแนะนำทางเลือกในการใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ แทนปิโตรเลียมเจลลี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งปลอดภัยต่อสุขภาพในระยะยาว
1.การปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง Environmental Working Group (EWG) หรือองค์กรที่ดูแลเรื่องสารเคมีในเครื่องสำอาง อาหาร และ สิ่งแวดล้อม ได้จัดอันดับว่า White Petrolatum มีการปนเปื้อนของสารที่ชื่อว่า Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAHs) ซึ่งสารตัวนี้มีข้อกังวลที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพหลายอย่าง ทั้งในยุโรปและอเมริกาจัดให้ PAHs เป็นสารก่อมะเร็ง รวมทั้งมีงานวิจัยชี้ถึงการสะสมสารพิษในร่างกายทำให้เกิดมีผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบฮอร์โมน ระบบประสาทรับกลิ่น ระบบหัวใจ ระบบทางเดินอาหารและตับ นอกจากนั้นยังเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
2.รบกวนการทำงานของระบบฮอร์โมน ความที่ปิโตรเลียมเจลลี่เป็นสิ่งแปลกปลอมสำหรับร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับเข้ามาแล้ว ร่างกายไม่มีกระบวนการนำไปใช้และขับออก จึงเป็นที่มาของการสะสมในร่างกายเมื่อสะสมนานๆ เข้า อีกระบบหนึ่งที่ได้รับการรบกวนอย่างมาก คือระบบฮอร์โมน โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศหญิง เอสโตรเจน ปิโตรเลียมเจลลี่ ถูกจัดเป็น xenoestrogens เป็นสารที่ทำงานเลียนแบบฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้การผลิตฮอร์โมนตามธรรมชาติในร่างกายของเราผิดเพี้ยนไป โดยมีงานวิจัยชี้ว่าผลิตภัณฑ์ที่มาจากปิโตรเลียมทำให้เกิดระดับเอสโตรเจนในร่างกายสูงผิดปกติ ส่งผลให้มีลูกยาก มีปัญหาเรื่องประจำเดือน เร่งการแก่เร็ว ปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง และเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งบางชนิด
3.เกิดโรคแทรกซ้อนจากเชื้อรา ด้วยคุณลักษณะของปิโตรเลียมเจลลี่เป็นสารกันน้ำ(waterproof barrier) จึงเป็นเสมือนฟิล์มเคลือบผิว ทำให้ผิวหายใจไม่ออก หากใช้ในเครื่องสำอางจะทำให้เกิดการอุดตันได้ง่าย นอกจากนั้นความอุ่นและความชื้นที่ถูกเคลือบไว้ใต้ปิโตรเลียมเจลลี่ กลายเป็นที่เจริญเติบโตชั้นดีของเจ้าเชื้อรา ซึ่งมีงานวิจัยที่ทำในเด็กแรกเกิดที่มีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง ให้ผลว่ามีการเกิดความเสี่ยงในการเติบโตของเชื้อราไปถึงอวัยวะภายใน
4.ส่งผลกระทบต่อปอดในอนาคต นอกเหนือจากเหตุผลด้านบน เหตุผลสุดท้ายนี้ถึงแม้อัตราการเกิดจะน้อยกว่า แต่ไม่ได้น่ากลัวน้อยไปกว่ากันเลย มีการสำรวจพบเคสที่มีปัญหา Lipoid pneumonia หรือการเกิดการอักเสบในปอดเนื่องมาจากการมีน้ำมันเข้าไปในหลอดลม ซึ่งมีกรณีที่เกิดจากการสูดดมปิโตรเลียมเจลลี่เข้าไป บางคนชอบทาที่จมูก หรือโพรงจมูก เมื่อโดนอุณหภูมิร่างกายทำให้ละลาย และสะสมเป็นน้ำมันอยู่ในปอด เกิดเป็นการอักเสบขึ้นมาในที่สุด
ดร.ณิชา กล่าวเสริมว่า การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ ถือเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและผิวพรรณ ทั้งอุดมด้วยวิตามินจากธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ไม่มีสารปนเปื้อน หรือสิ่งตกค้างที่ทำให้ผิวเกิดการอุดตัน ได้แก่ ขี้ผึ้ง (Beeswax) ใช้ทดแทนปิโตรเลียมเจลลี่ได้เป็นอย่างดี ช่วยปกป้องผิว และใช้เป็นลิปบาล์มได้ดี, เชีย บัตเตอร์ (Shea Butter) เปรียบเป็นซูเปอร์ฟู้ดของผิวเลยทีเดียว อุดมด้วยวิตามินเอ วิตามินอี และไขมันที่ช่วยบำรุงผิว ลดการอักเสบของผิวและเพิ่มการผลิตของคอลลาเจลในผิวหนัง, โกโก้ บัตเตอร์ (Cocoa Butter) แหล่งสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี ตัวน้ำมันของโคโค บัตเตอร์ ที่ช่วยในการชะลอวัยของผิวได้อีกด้วย
โคโคนัทออยล์ (Coconut Oil) น้ำมันนี้เป็นตัวโปรดของใครหลายๆ คน นอกจากความชุ่มชื้นยังได้สารต้านการอักเสบด้วย เหมาะสำหรับผิวแห้ง, อัลมอนด์ออยล์ (Almond Oil) เป็นน้ำมันที่ไม่มีกลิ่นและบำรุงผิวได้ดี เหมาะกับนำมาผสมกับเอสเซนเชียล ออยล์, โจโจบาออยล์ (Jojoba Oil) อีกหนึ่งทางเลือกธรรมชาติ มีลักษณะใกล้เคียงกับน้ำมันในผิวเรา เหมาะกับผู้ที่มีผิวมัน
ดังนั้น หากต้องการถนอมเรียวปากให้เนียนนุ่ม ชุ่มชื้น ไม่หมองคล้ำ รวมทั้งหมดกังวลเรื่องสารอันตรายปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเป็นได้ทั้งสารที่ทำให้แพ้ หรือแม้แต่สารก่อมะเร็ง ก็ควรเลือกลิปบาล์มที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมี เช่น ขี้ผึ้ง หรือลิปบาล์มของเบิร์ตส์ บีส์ (Burt’s Bees) ที่ส่วนผสมเป็นขี้ผึ้ง (Beeswax) 100% ปราศจากสารเคมีใดๆ มีคุณสมบัติในการเก็บกักความชุ่มชื่นไว้บนผิวได้อย่างดีเยี่ยม รวมทั้งมีส่วนผสมจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น เชียบัตเตอร์, อัลมอนด์ออยล์, โกโก้บัตเตอร์ และโคโคนัทออยล์ ที่มีคุณสมบัติในการปลอบประโลมและบำรุงริมฝีปากได้อย่างอ่อนโยนที่สุด
อัพเดทข้อมูลข่าวสารและช็อปออนไลน์ได้ที่ www.facebook.com/BurtsBeesTH และ www.burtsbees.co.th สำหรับสาวกสมาร์ทโฟนสามารถอัพเดทและช็อปผ่าน burtsbeesthailand แอพพลิเคชั่น ทั้งบนระบบแอนดรอยด์และไอโอเอส และร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเบิร์ตส์บีส์ ด้วยการถ่ายรูปลงเฟซบุ๊ค หรืออินสตาแกรม พร้อมติดแฮชแทกช์ #BurtsBeesTH
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี