วันพฤหัสบดี ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
Life&Health : การดูแลเบาหวานแบบง่ายๆ

Life&Health : การดูแลเบาหวานแบบง่ายๆ

วันพุธ ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2561, 06.00 น.
Tag : การดูแล เบาหวาน
  •  

โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่ององค์การอนามัยโลก รายงานว่าในปี พ.ศ.2557 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวน 422 ล้านคนและมีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานจำนวน 1.5 ล้านคน ซึ่งในปัจจุบันประชากรวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คน คาดว่าป่วยเป็นโรคเบาหวาน

สำหรับประเทศไทยมีรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราการตายด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี ภาพรวมของประเทศในปี2556-2558 อัตราตายด้วยโรคเบาหวานต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 8.80, 15.48 และ 19.59ตามลำดับ เห็น และจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ปี 2557 พบว่าความชุกของโรคเบาหวานเพิ่มสูงขึ้นเป็น 4.8 ล้านคน


ข้อมูลจาก นพ.หลักชัย วิชชาวุธ นายแพทย์ชำนาญการกลุ่มงานศัลยศาสตร์โรงพยาบาลราชวิถี เปิดเผยว่า โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดขึ้นจากผิดปกติของเซลล์ร่างกายที่ไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานได้ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งโดยปกติบุคคลทั่วไป จะมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหารมาแล้ว 6 ชั่วโมงไม่เกิน 126 มก./ดล. ซึ่งหากสูงกว่านี้คุณมีโอกาสที่จะเป็นโรคเบาหวานได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน คือ...

1.การมีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักที่มากกว่าปกติ

2.กรรมพันธุ์

3.อายุ ถ้าอายุมากขึ้นทำให้มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้

4.ความดันโลหิตสูง

5.การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ จำพวกน้ำตาล แป้ง และไขมันมากเกินไป

6.ขาดการออกกำลังกาย

สังเกตอาการเบื้องต้นของโรคเบาหวาน คือ ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวัน และกลางคืน กระหายน้ำมากกว่าปกติ น้ำหนักลดลง รู้สึกอ่อนเพลียง่าย มีอาการชาที่ปลายมือและปลายเท้า ถ้ามีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อทำการรักษาโรคเบาหวานนอกจากจะเป็นโรคเรื้อรังที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ยากแล้ว อาจจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ ได้ ดังนั้นผู้ป่วยควรดูแลตนเองให้ดี และป้องกันการเกิดบาดแผลในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพราะเมื่อเป็นแล้วแผลจะหายช้ากว่าปกติ ซึ่งแผลอาจเกิดอาการแทรกซ้อน และนำไปสู่การติดเชื้อและลุกลามจนทำให้เนื้อเยื้อตาย และต้องตัดทิ้งได้

ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยเบาหวานเกิดเป็นแผล ควรจะทำความสะอาดแผลด้วยสบู่โดยใช้น้ำอุ่นหรือน้ำเกลือ และทำความสะอาดรอบๆ บาดแผลด้วยความเบามือ ไม่ควรล้างแผลด้วยแอลกอฮอล์ เพราะมีฤทธิ์ในการทำลายโปรตีนในเนื้อเยื้อได้ จากนั้นเช็ดให้แห้ง ใส่ยาทำแผลและปิดแผลด้วยผ้าปิดแผลสะอาดที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ไม่ควรใช้พลาสเตอร์ปิดแผลโดยตรงและควรทำความสะอาดแผลอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน ซึ่งหากมีแผลมีอาการแดง หรือบวมขึ้นหลังจากทำแผลควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

วิธีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบง่ายๆ เพื่อป้องกันการเกิดแผลของผู้ป่วยเบาหวานมีข้อแนะนำดังนี้

l ระมัดระวังไม่ให้เกิดแผลตามส่วนต่างๆ

l ควรใส่ถุงเท้าและรองเท้าสำหรับใส่ในบ้าน เพื่อป้องกันการเดินเหยียบหรือเตะสิ่งของ ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลได้

l เมื่อเวลาจะใส่รองเท้า ควรเคาะรองเท้าก่อนใส่เพื่อป้องกันเศษต่างๆ ในรองเท้าที่ทำให้เกิดแผลโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานจะมีอาการมือเท้าชา ซึ่งทำให้ไม่รู้สึกเจ็บหากเหยียบ หรือเกิดแผล

l การตัดเล็บ ควรตัดเล็บในแนวเส้นตรงไม่ควรตัวเล็บตามความโค้งของเล็บเพื่อป้องกันการตัดเข้าโดนเนื้อซึ่งอาจทำให้เกิดแผลได้

โรงพยาบาลราชวิถี เป็นศูนย์รับ-ส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ ปัจจุบันโรงพยาบาลมีพื้นที่อำนวยความสะดวกค่อนข้างจำกัด จึงทำให้เกิดความแออัดที่ห้องตรวจอย่างมากและขณะนี้โรงพยาบาลกำลังสร้างอาคารศูนย์การแพทย์โรงพยาบาล เพื่อขยายพื้นที่ในการรองรับและรักษาผู้ป่วยที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคตเมื่ออาคารศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลเสร็จก็จะสามารถเปิดรักษาผู้ป่วยได้มากขึ้น และลดระยะเวลาของการรอรับการรักษาของผู้ป่วยได้ ดังนั้น ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมแบ่งปันน้ำใจสมทบทุนซื้อเครื่องมือแพทย์ผ่านมูลนิธิรพ.ราชวิถี บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารพ.ราชวิถี ประเภทบัญชี ออมทรัพย์เลขที่บัญชี 051-2-16322-1 หรือ สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร.02–3547997-9หรือ http://www.rajavithihospitalfoundation.org

ดั้งนั้น ผู้ป่วยเบาหวานต้องให้ความสำคัญในเรื่องอาหารการกินในแต่ละมื้อแต่ละวันแล้ว สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือไม่ให้เกิดแผลจากการใช้ชีวิตประจำวันที่อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อและทำให้เกิดการลุกลามจนเป็นแผลใหญ่ที่ยากต่อการรักษา หากเกิดแผลในผู้ป่วยเบาหวานแล้ว การดูแลแผลของผู้ป่วยจะต้องเน้นในเรื่องของความสะอาด มากกว่าคนปกติทั่วไป หากมีปัญหาให้รีบพบแพทย์ที่ดูแลโดยด่วนอย่าปล่อยให้สายจนเกินแก้

ผศ. (พิเศษ) ดร.อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์

ประธานกรรมการ มูลนิธิคุณแม่คุณภาพ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ร่างกายสุดล้า! 'น้องพิงค์'ขอแพ้บายร่วงไทยแลนด์โอเพ่น

จับตาเคาะ 15,000 ล้าน! 'คลัง'จ่อชง ครม.ออกซอฟท์โลน 3 จว.ชายแดนใต้

ผิดสัญญา! 'ปูติน-ทรัมป์'เบี้ยวโต๊ะเจรจาสงครามยูเครน ทั้งที่เสนอเอง

ด่วน!เกิดเหตุ‘ชายคลั่ง’จับตัวประกันย่าน‘ถ.อิสรภาพ’ ยิงสวนตำรวจ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved