วันพฤหัสบดี ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ธรรมจักร’  ปฐมภูมิธงเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘ธรรมจักร’ ปฐมภูมิธงเผยแผ่พระพุทธศาสนา

วันอาทิตย์ ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561, 06.00 น.
Tag : ธงเผยแผ่พระพุทธศาสนา ปฐมภูมิ ธรรมจักร
  •  

ธงฉัพพรรณรังสีผืนใหญ่ที่สุดในโลก

สัญลักษณ์แสดงความเป็นพุทธศาสนาในอดีตนั้นคือ ธรรมจักร ซึ่งมีการค้นพบโบราณวัตถุชิ้นนี้ปรากฏในดินแดนที่นับถือพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับพระพุทธรูปที่มีฉัพพรรณรังสี หรือประภามณฑล อาทิตย์นี้ขอตามหาปฐมภูมิแห่งธงพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุที่วัดของศาสนาพุทธทั้งสายเถรวาทและสายมหายานในประเทศต่างๆ นั้นนิยมแสดง “ธงฉัพพรรณรังสี” ให้เป็นสัญลักษณ์แทนธรรมจักรให้เป็น “ธงพระพุทธศาสนา” ขึ้น แม้ว่าจะมีบางกลุ่มหรือบางสำนักเลือกใช้สีธงให้แตกต่างกันออก ไปก็เพื่อเน้นแนวทางคำสอนแห่งสำนักของตน ดังนั้นธงพระพุทธศาสนาที่ใช้ทั่วไปเป็นสากลนั้นจึงใช้ ธงฉัพพรรณรังสี เป็นธงพระพุทธศาสนาสากล ซึ่ง เริ่มปรากฏการใช้มาตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ หรือปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ธงนี้ออกแบบโดยพุทธสมาคมโคลอมโบ เมื่อพ.ศ. ๒๔๒๓ โดยพันเอกเฮนรี เอส.โอลคอตต์ เป็นผู้แก้ไขให้เป็นแบบที่ใช้ในปัจจุบัน เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ที่ประเทศศรีลังกา 


ต่อมาองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก(World Fellowship of Buddhists-WFB) นั้นได้ประกาศให้ธงฉัพพรรณรังสีนั้นเป็นธงพุทธศาสนาสากลเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ณ กรุงโคลอมโบประเทศศรีลังกา ธงฉัพพรรณรังสี นั้นกำหนดให้เป็นธงแถบสี โดยนำสีของแสงที่แผ่ออกจากพระวรกายของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมี ๖ สี คือ ๑.สีนีละ-สีเขียวเหมือนดอกอัญชัน คือสีน้ำเงินหมายถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่แผ่ไพศาลไปทั่วสากลจักรวาล ๒.สีปีตะ-สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง หมายถึงทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา ที่หลีกเลี่ยงความสุดโต่งทั้งปวง ๓.สีโรหิตะ-สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อนหมายถึงการอำนวยพรให้ประสบความสำเร็จสมบูรณ์พร้อมด้วยสติปัญญา คุณความดี ความเป็นผู้มีโชคและเกียรติยศทั้งปวง ๔.สีโอทาตะ-สีขาวเงินยวงหมายถึงความบริสุทธิ์แห่งพระธรรมอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งเป็นของที่ไม่จำกัดกาลคือ อกาลิโก และนำกลุ่มชนไปสู่ความหลุดพ้น ๕.สีมัญเชฏฐะ-สีแสดเหมือนหงอนไก่หมายถึงพระปัญญาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า๖.สีประภัสสร-สีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก อันเกิดจากการรวมของสีทั้ง ๕ สี หมายถึงความจริงทั้งมวลในพระธรรมคำสอนแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสงหรือสีที่ปรากฏนี้เรียกรวมว่า วรรณรังสี มี ๖ สี ถือว่า เป็นสีมงคลของพุทธศาสนิกชน ซึ่งนำมาใช้เป็นสีของ ธงฉัพพรรณรังสี ดังกล่าว คำว่า “ฉัพพรรณรังสี”ชื่อของธงนั้น แปลว่า รัศมี ๖ สี มาจากคำสมาสในภาษาบาลี“ฉ” (หก) + “วณฺณ” (สี) + “รํสี” (รังสี, รัศมี) ซึ่งมีที่มาจากสีของรัศมีว่าเป็นแสงที่แผ่ออกจากพระกายของพระพุทธเจ้า

ผู้ออกแบบธงนั้นได้นำสีทั้งหกมาดัดแปลงเป็นผืนธง มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งเป็นแถบเรียงเป็นแนวตั้งความกว้างเท่ากัน ๖ แถบ เรียงลำดับแถบสีจากด้านซ้าย ซึ่งเป็นด้านต้นของธง เรียงสีไปทางขวาดังนี้ แถบแรกสีน้ำเงิน แถบที่สอง สีเหลือง แถบที่สาม สีแดง แถบที่สี่ สีขาว แถบที่ห้า สีแสด ส่วนแถบสุดท้ายนั้นเป็นแถบสีประภัสสร ที่เกิดจากการนำแถบสีทั้งห้าสีแรกมาเรียงลำดับใหม่ในแนวนอน

ส่วนประเทศไทยนั้นมี ธงสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนาที่ใช้โดยทั่วไปคือ ธงธรรมจักรอันหมายถึง ธรรมะที่นำไปสอนในที่ต่างๆ แล้วยังความสันติสุขให้เกิดขึ้นในที่นั้นๆ ลักษณะธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีเหลืองแก่ ตรงกลางเป็นรูปพระธรรมจักรสีแดง  โดยนำธรรมจักรซึ่งมีซี่ล้อหรือกำ สิบสองซี่ หมายถึง ปัจจยาการ หรือปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ประการ โดยปกติแล้ว ธงธรรมจักรที่ประดับศาสนสถานนั้นนิยมทำแบบธรรมจักรมีกำ ๘ ซี่ เพื่อให้มีความหมายถึงองค์ของอริยมรรคแต่ละองค์ อันมีองค์แปด อยู่ในวงล้อซึ่งหมายถึง ทุกข์และสมุทัย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนเกิดมาแล้วจะต้องประสบ ส่วนดุมที่เป็นศูนย์กลางและสงบนิ่งไม่หมุน นั้นหมายถึง จุดหมายสูงสุด คือ นิโรธหรือนิพพานนั่นเอง ธงธรรมจักรนี้คณะสงฆ์ไทยได้ประกาศใช้ธงธรรมจักรอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๑ ทำให้ในวันสำคัญของพระพุทธศาสนามีการประดับธงธรรมจักรร่วมกับธงชาติไทยอยู่เสมอ ซึ่งต่อไปนี้จะมีธงฉัพพรรณรังสี เป็นธงพระพุทธศาสนาสากลเพิ่มมาอีกหนึ่งธง

ธงฉัพพรรณรังสี
ธงฉัพพรรณรังสี
ธรรมจักรศิลปทวารวดี
ธรรมจักรศิลปทวารวดี
ธรรมจักรกับกวางหมอบ
ธรรมจักรกับกวางหมอบ
ธรรมจักร
ธรรมจักร
ธรรมจักร กงสิบสองซี่
ธรรมจักร กงสิบสองซี่
ธงศาสนาพุทธสากล
ธงศาสนาพุทธสากล
ธงพุทธศาสนาของญี่ปุ่น
ธงพุทธศาสนาของญี่ปุ่น
ธงพุทธศาสนาของไทย
ธงพุทธศาสนาของไทย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

True CJ ยืนหนึ่งแห่งปี! กวาดรางวัลใหญ่ ด้วยผลงานซีรีส์คุณภาพ 'Good Doctor หมอใจพิเศษ'

'เบนซ์ พรชิตา'Victoria’s Secret เมืองไทย 'มิค'เสิร์ฟแฟชั่นคู่รักปีกแดงไฟลุก

‘หมอเปรม’ยื่น‘มงคล’ขอชะลอการเลือกกรรมการองค์กรอิสระ

‘สมศักดิ์’วีโต้แล้ว! มติ‘แพทยสภา’ลงโทษหมอคดีชั้น 14

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved