ปวิณ ภิรมย์ภักดี กก.ผจญ. บมจ.บางกอกกล๊าส ประธานในการเปิดงาน พร้อมด้วย ศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร กก.ผจก.บีจีซี, สรวิช ภิรมย์ภักดี ผอ.สนง.การพิพิธภัณฑ์และสื่อสิ่งพิมพ์ บจ.บุญรอดบริวเวอรี่, อ.จักรพันธ์ วิลาสินีกุล, สเตฟานี่ เทร็นเชิร์ท, เจอร์มี โปเปลก้า, ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ และ ศรัยฉัตร กุญชรฯ พิธีกร ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึก
“บีจีซี” ผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แก้วครบวงจร ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ร่วมกับ “สิงห์” ผู้ดำเนินธุรกิจเครื่องดื่มรายใหญ่ระดับโลก เปิดนิทรรศการ “Thailand Glass Art Festival 2018”(ไทยแลนด์ กล๊าส อาร์ต เฟสติวัล 2018) งานแสดงศิลปะจากการเป่าแก้วครั้งแรกของประเทศไทย เชิญศิลปินระดับโลกบินนำผลงานมาร่วมจัดแสดง พร้อมชวนตื่นตากว่า 40 ผลงาน
มาสเตอร์พีซศิลปะแก้ว สร้างสรรค์โดยศิลปินดังทั้งนานาชาติ ศิลปินแห่งชาติ และศิลปินแถวหน้าของไทย ณ แฟชั่นฮอลล์ ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามพารากอน
ภายในพิธีเปิดนิทรรศการ มี ปวิณ ภิรมย์ภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (มหาชน) เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย สรวิช ภิรมย์ภักดีผู้อำนวยการ สำนักงานการพิพิธภัณฑ์และสื่อสิ่งพิมพ์ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยาน โดยภายในงานมีการเสวนาพิเศษในหัวข้อ “ศิลปะแก้ว สื่อผสมของความสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ” โดย ศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน) หรือบีจีซี ร่วมด้วยศิลปินรับเชิญ อ.จักรพันธ์ วิลาสินีกุลอาจารย์ประจำภาควิชาประติมากรรมมหาวิทยาลัยศิลปากร, เจอร์มี โปเปลก้า,สเตฟานี่ เทร็นเชิร์ท ศิลปินระดับโลก จากประเทศสหรัฐอเมริกา และ แอฟ-ทักษอรภักดิ์สุขเจริญ นักแสดงชื่อดัง
เจอร์มี โปเปลก้า ศิลปินระดับโลก จากประเทศสหรัฐอเมริกากับผลงาน
งานนี้จัดโดย บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด และบริษัท พิพิธภัณฑ์สิงห์ จำกัด ภายใต้การนำของ ศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร กรรมการผู้จัดการ บีจีซี กล่าวในงานว่า “บีจีซี ในฐานะผู้นำบรรจุภัณฑ์แก้ว มุ่งหวังที่จะพัฒนางานศิลปะแก้วให้เติบโตขึ้นในประเทศไทย จึงตั้งหน่วยงาน BGC Glass Studio ขึ้นเมื่อปี 2560 เพื่อส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์ และพัฒนาการศึกษาด้านศิลปะจากแก้วอย่างจริงจัง มีการลงนามในเอกสารความร่วมมือ (MOU) กับ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อผลักดันแก้วให้พัฒนาไปสู่ผลงานสร้างสรรค์ และเป็นศูนย์การเรียนรู้ศิลปะแก้วในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียนที่ผ่านมา บริษัทได้เชิญศิลปินผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคนิคการปฏิบัติงานแก้วให้แก่ บุคลากรของบริษัท ศิลปินชาวไทย อาจารย์ และนักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไป จึงเกิดเป็นกลุ่มศิลปินสร้างสรรค์งานศิลปะจากแก้วขึ้นในประเทศไทย ถือเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาไปสู่การจัดกิจกรรมและการเผยแพร่งานศิลปะจากแก้วในอนาคต จากเหตุผลดังกล่าว และเพื่อตอกย้ำสโลแกนขององค์กรที่ว่า “INVENT TO INSPIRE” พลังสร้างสรรค์ ไม่มีวันหมด เราจึงได้ร่วมมือกับสิงห์ ริเริ่มจัดงาน Thailand Glass Art Festival 2018 เพื่อสร้างจุดหมายใหม่ของวงการศิลปะแก้วให้เกิดขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย รวมถึงผลักดันให้เป็นที่รู้จักในภูมิภาคอาเซียน และส่งเสริมให้ผลงานศิลปะแก้วของไทยก้าวไกลสู่สากล พร้อมนำเสนอศิลปะแก้วรูปแบบใหม่ๆ ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ตลอดจนสนับสนุนพลังสร้างสรรค์ของศิลปินรุ่นใหม่ เพราะเราเชื่อมั่นว่าศักยภาพศิลปินไทย ไม่แพ้ชาติใดในโลก และผมเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า นิทรรศการครั้งนี้ จะสร้างแรงบันดาลใจ และสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่มาชมนิทรรศการอย่างแน่นอน”
ปวิณ ภิรมย์ภักดี กก.ผจญ.บมจ.บางกอกกล๊าส และ สรวิช ภิรมย์ภักดี ผอ.สนง.การพิพิธภัณฑ์และสื่อสิ่งพิมพ์ บจ.บุญรอดบริวเวอรี่
อ.จักรพันธ์ วิลาสินีกุล เล่าว่า “แก้วเป็นวัสดุที่อยู่ในทุกที่ที่มีมนุษย์อาศัย มีทั้งที่บ้านในร้านอาหาร ในรถยนต์ หรือที่อื่นๆ เรามักจะพบสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งทำจากแก้ว เมื่อผมทำงานกับแก้ว ความคุ้นเคยกับสิ่งของทำจากแก้ว ทำให้รู้ว่ามันเป็นวัสดุที่ได้จากธรรมชาติ แต่เมื่อต้องทำงานกับแก้วร้อนเหลวๆ ที่กลายเป็นของแข็งใสได้ ผมเริ่มสัมผัสความเป็นแร่ธาตุในตัวมัน ราวกับเป็นโลหะชนิดหนึ่ง แต่แก้วเป็นอโลหะ อย่างไรก็ตามแก้วหลอมขึ้นจากสารเคมีหลายชนิด ผสมรวมกันและมีองค์ประกอบของโลหะอยู่ด้วย ยิ่งทำงานกับแก้วมากขึ้น และเมื่อทดลองเคลือบแก้วให้กลายเป็นกระจกเงา ผมยิ่งตระหนักว่า กระบวนการทำงานศิลปะจากแก้วไม่ต่างไปจากการเล่นแร่แปรธาตุเลย”
สเตฟานี่ เทร็นเชิร์ท และศิลปินระดับโลกจากประเทศสหรัฐอเมริกา
เจอร์มี โปเปลก้า (Jeremy Popelka) เผยว่า “ส่วนใหญ่ในชีวิตการทำงานผมจะเน้นแก้วหลอมเหลวเป็นวัสดุหลัก การที่ผมสนใจศิลปะการเป่าแก้ว ทำให้ผมมุ่งฝึกฝนเทคนิคต่างๆ ในการทำแก้วของอิตาลี อย่างเทคนิคเมอร์รินี่ (murrine) ซึ่งเป็นวิธีใส่ลวดลายหลากสีสันลงไปในเนื้อแก้ว ผมชอบทำงานประติมากรรมแก้วโดยใช้วิธีหล่อแก้วด้วยแม่พิมพ์ทราย (sand cast glass) เพราะวิธีนี้ จะทำให้เกิดผิวสัมผัสประทับลงไปบนเนื้อแก้วที่โปร่งแสง ผลงานของผมมักได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ และปรารถนาที่จะถ่ายทอดแง่มุมต่างๆ ของวัสดุ เช่น รูปทรงเรขาคณิต เส้นสายจากแรงดึง และแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อตัวชิ้นงานในขณะหลอม ซึ่งแง่มุมเหล่านี้ ช่วยนิยามและสื่อความหมายในผลงานของผมครับ”
สเตฟานี่ เทร็นเชิร์ท (Stephanie Trenchard) เล่าว่า “งานของฉันบอกเล่าเรื่องราวของผู้หญิงจากฝั่งตะวันตกของประเทศ ที่สร้างสรรค์ศิลปะ หรือข้องเกี่ยวกับศิลปินในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในหนังสือประวัติศาสตร์ มักไม่ยอมรับว่างานศิลปะของผู้หญิง เป็นศิลปะสำคัญของโลก ผลงานของฉันได้บอกเล่าเรื่องเล็กๆ ด้วยรายละเอียดเฉพาะเจาะจง ที่สะท้อนให้เห็นความหมายและความมีพลัง ในฐานะศิลปินหญิงคนหนึ่ง ผลงานของฉันที่นำมาแสดงครั้งนี้ เป็นเรื่องราวของสภาวะบีบคั้นที่มนุษย์มักนำมากำกับตัวเอง และชุมชน เทคนิคของฉัน คือ สร้างสรรค์รูปทรงลงสี จากนั้น จะหุ้มด้วยแก้วที่หล่อขึ้นโดยใช้แบบหล่อทราย”
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี